ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • วิเชียร มูลจิตร์

คำสำคัญ:

การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ, ปัจจัยจูงใจ, ปัจจัยค้ำจุน, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการรับรู้การปฏิบัติงาน ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุน กับการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างคืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 270 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วย Chi-square และPearson Product Moment Correlation Coefficient ผลการวิจัยพบว่าระดับการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี อยู่ในระดับสูง (Mean = 2.72, SD = 0.201) คิดเป็นร้อยละ 68.90 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของอาสาสมัครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ระดับการศึกษาของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (p<0.05) ส่วนปัจจัยด้านการรับรู้บทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง (r=0.644 และ P-value<0.001) ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงาน และปัจจัยค้ำจุน ในการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (r=0.499, p-value <0.001 และ r=0.414, p-value <0.001 ตามลำดับ)

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.(2557). คู่มือการคัดกรอง/ประเมินผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์สงเคราะห์องค์การทหารผ่านศึก.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2556). คู่มือ อสม. มืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2559). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. (2559). คู่มืออาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศ.

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2561). ยุทธศาสตร์กรมกิจการผู้สูงอายุ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.

คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์.

พรทวี สุวรรณพรม. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจาหมู่บ้าน จังหวัดอุบลราชธานี (วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต). สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ภิรญา จำปาศรี, สมสมัย รัตนกรีฑากุล, และ วรรณรัตน์ ลาวัง. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ, 25 (1), 76-88.

สาธารณสุข, กระทรวงสาธารณสุข (2560). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560 - 2564นนทบุรี : มปพ.

Daniel, W.W. (2010). Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences. New York : Wiley & Sons.

Herzberg, F., Mausner, B. & Synderman, B. B. (1993). The motivation to work. New York : John Wiley and Sons, 1959. Reprint, New Brunswick, New Jersey:

Transaction Publishers, pp. 44 – 49.

Schermerhorn, John R., Hunt, James G., (2000) Organizational behavior (7 th) John Wiley and Sons.

Walker S. N., Sechrist K. R., & Pender, N. J. (1997). The Health-Promoting Lifestyle Profile: Development and psychometric characteristics. Nursing Research. 36(2), 76-81.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-27