พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่มีผลต่อสภาวะการมีคู่สบฟันหลังของผู้สูงอายุ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, พฤติกรรมการทำความสะอาดฟัน, คู่สบฟันหลังบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive study) ในลักษณะของการศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล (Causal relationship) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่มีสภาวะการมีคู่สบฟันหลัง และศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะการมีคู่สบฟันหลังของผู้สูงอายุที่มี อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี การศึกษาครั้งนี้เลือกกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีลักษณะติดสังคม จำนวน 316 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามที่ประกอบด้วยข้อมูล 3 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก และแบบบันทึกสภาวะการมีคู่สบฟันหลัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติคือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 55.8 อายุอยู่ในช่วง 60 - 69 ปี ร้อยละ 58.8 สถานภาพสมรส ร้อยละ 67.5 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 77.2 ภาวการณ์มีโรคประจำตัวพบมากที่สุด คือ โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 70.4 ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการทำความสะอาดฟันทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับปานกลางถึงมากที่สุด ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 2.64 – 4.63 คะแนน ความสม่ำเสมอในการแปรงฟันอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.27 – 4.79 คะแนน ระยะเวลาในการแปรงฟันอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.08 – 4.56 คะแนน การใช้อุปกรณ์เสริมมีระดับน้อยถึงระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 2.21 – 3.07 คะแนน และพฤติกรรมการทำความสะอาดลิ้นอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 2.31 – 2.77 คะแนน ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีจำนวนคู่สบฟันหลังอยู่ในระดับมากกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศไทย มีค่าเฉลี่ย 4.12 – 4.96 คู่ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากประกอบด้วยพฤติกรรมการทำความสะอาดฟัน และพฤติกรรมการทำความสะอาดลิ้นมีความสัมพันธ์กับสภาวะการมีจำนวนคู่สบฟันหลังในเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ให้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.75
จากการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากมีผลต่อสภาวะการมีคู่สบฟันหลังของผู้สูงอายุ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากทั้งพฤติกรรมการทำความสะอาดฟัน เป็นไปในทางที่ดีขึ้น แต่ยังพบว่าผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์เสริมในการทำความสะอาดฟัน และการแปรงลิ้นระดับปานกลาง ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริม และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปากในกลุ่มผู้สูงอายุ จึงควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังด้านพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีตั้งแต่ในวัยรุ่น และวัยทำงาน ซึ่งในอนาคตจะก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ
References
กนกอร โพธิ์ศรี. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียฟันของผู้สูงอายุอายุ 60 - 74 ปีทั้งใน และนอกเมืองขอนแก่นอำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล, 26(2).
กาญจนา อาษาสร้อย. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะสุขภาพช่องปาก และภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุ ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านคำบิด ตำบลคำบ่อ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
กองทันตสาธารณสขุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2560). เรื่องน่ารู้ สุขภาพช่องปากผู้สูงวัย. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์.
ธราธร ดวงแก้ว. (2560). พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ต.โพรงมะเดื่อ อ.เมือง จ.นครปฐม : มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครปฐม.
ธนิดา ผาติเสนะ และคณะ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, 17(26).
วราฤทธิ์ สฤษฎ์วานิช. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียฟันของผู้สูงอายุในอำเภอเมืองจังหวัดตรัง. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 13(1).
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2560). การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เล่มที่ 3 การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ : สามเจริญพาณิชย์.
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวง สาธารณสุข. (2560). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
Bureau of Dental Health. (2018). The 8th National oral health survey, Thailand 2017. Nonthaburi : Samcharoen Panich. (In Thai)
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities.Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.
Musacchio, E., et al. (2017). Tooth loss in the elderly and its association with nutritional status, socio-economic and lifestyle factors. Acta Odontol Scand 65 (2) : 76-56.
Quirynen, M., et al. (2020). Impact of tongue cleansers on microbial load and taste. Journal of Clinical Periodontology, 31(7), 506-10.
Suphanburi Public Health Office. (2017). Information to respond to the oral health serviceplan. Retreived January 11, 2017 from https://spd.hdc.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php. (In Thai)
WHO. (2016). The elderly dental health report, Geneva, World Health Organization.
Wongrattana, C. (2007). Statistics for research techniques (10th ed.). Bangkok : Thai Neramitkit Introgressive. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม