การประยุกต์โปรแกรมการจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไข้หวัดโคโรน่า (COVID-19) อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • นายสิทธิชัย สารพัฒน์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์
  • สุรศักดิ์ เหมาะทอง สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้, ไข้หวัดโคโรน่า, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์โปรแกรมการจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชน ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดโคโรน่าและการมีส่วนร่วม ในการจัดการการลงทะเบียนบันทึกข้อมูลในโปรแกรมSurin covidalert ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอเมืองสุรินทร์จังหวัดสุรินทร์โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) คือเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์จำนวน 24 แห่ง แห่งละ 2 คน รวมจำนวน 48 คน กลุ่มตัวอย่างได้รับกิจกรรมของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น ซึ่งประกอบด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการโดยใช้เทคนิคกระบวนการวางแผนอย่างมีส่วนร่วม A-I-C การพัฒนาศักยภาพการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการนิเทศติดตาม มีการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม - มิถุนายน 2563โดยใช้แบบสอบถามแบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test

          ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการพัฒนารูปแบบการจัดการคุณภาพการบันทึกข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Surin covidalert มีคะแนนเฉลี่ยความรู้เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p <0.05) และผลการบันทึกข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Surin covidalert มีความถูกต้องเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p <0.05) การพัฒนารูปแบบการจัดการคุณภาพข้อมูลผ่านกระบวนการวางแผนอย่างมีส่วนร่วม การพัฒนาศักยภาพ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการนิเทศติดตามส่งผลให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นดังนั้น จึงควรนำรูปแบบการจัดการคุณภาพดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป

References

กรมควบคุมโรค. (2563). รายงานสถานการณ์โรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ โดยศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ธวัชชัย วรพงศธร. (2543).หลักการวิจัยทางสาธารณสุขศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.

ปิติสุข พันสอน. (2555). การตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ระดับอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : กรณีศึกษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอเอช1 เอ็น1สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พันธนี พงศ์สัมพันธ์ (2561). แบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของโรคติดต่ออุบัติใหม่ระบบทางเดินหายใจคณะวิทยาศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

วรพจน์ พรหมสัตยพรต. (2543).การเก็บรวบรวมข้อมูลและเครื่องมือในการวิจัย.(เอกสารประกอบการสอนหลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ), คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria : Deakin University

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-27