ประสิทธิผลของการให้ทันตสุขศึกษาโดยการแสดงบทบาทสมมติต่อการควบคุมคราบจุลินทรีย์บนตัวฟันในนักเรียนชั้นประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • มารุต ภู่พะเนียด วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • กนกวรรณ แสงจันทร์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลองค์พระ
  • ณัชชา แพร่อำพา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเอราวัณ
  • สินีนุช เพ็ชรวงศ์ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี บ้านดอนไร่

คำสำคัญ:

ทันตสุขศึกษา, บทบาทสมมติ, คราบจุลินทรีย์

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการให้ทันตสุขศึกษาโดยการแสดงบทบาทสมมติต่อการควบคุมคราบจุลินทรีย์ บนตัวฟันในนักเรียนชั้นประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในตำบลมะขามล้ม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเป็นกลุ่มจากโรงเรียนที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน 2 โรงเรียน เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 41 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 45 คน กลุ่มทดลองได้รับ  การให้ทันตสุขศึกษาโดยการแสดงบทบาทสมมติ กลุ่มควบคุมได้รับการให้ทันตสุขศึกษาแบบปกติ การเก็บรวบรวมข้อมูล 2 ครั้ง ก่อนการทดลอง และหลังการทดลองโดยใช้แบบสอบถาม และแบบประเมินปริมาณคราบจุลินทรีย์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test และ Independent t-test ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังทดลองกลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลทันตสุขภาพดีกว่าก่อนทดลอง และมีปริมาณคราบจุลินทรีย์บนตัวฟันน้อยกว่าก่อนทดลอง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า ภายหลังทดลองกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลทันตสุขภาพ และปริมาณคราบจุลินทรีย์บนตัวฟันไม่แตกต่างกัน

References

กมลมาลย์ วิรัตน์เศรษฐสิน. (2560). สาธารณสุขและการดำเนินงานชุมชน: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา บันลือธรรม.

ชิงชัย บัวทอง, ยินดี พรหมศิริไพบูลย์ และอัจริยา วัชราวิวัฒน์. (2558). ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคฝันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบางเหียน อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(2), 293-306.

รัตนา จันทร. (2559). ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 33(4), 340-353.

สำนักงานสาธารณสุขสุพรรณบุรี. (2560). ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาสุขภาพช่องปาก. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2560. จาก https://spb.hdc.moph.go.th/hdc.

สำนักทันตสาธารณสุข. (2561). รายงานผลการสำรวจ สภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สามเจริญพานิชย์.

อรุณรัตน์ ชื่นปลัด , ยินดี พรหมศิริไพบูลย์ และวันเพ็ญ แก้วปาน. (2560). ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎี แรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคและแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุของอาสาสมัครสาธารณสุข. วารสารกรมการแพทย์, 42(1), 99-108.

อาภาพร เผ่าวัฒนา, สุรินธร กลัมพากร, สุนีย์ ละกำปั่น และทัศนีย์ รวิวรกุล. (2561). การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน: การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: เอ็ม เอ็น คอมพิวออฟเซท.

อุมาพร ชมโฉม, อารยา ปรานประวิตร และวันเพ็ญ แก้วปาน. (2560). ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(1), 234-252.

Bandura, A. (1997). Self-Efficacy: Toward a Unifying Theory of Behavioral Change. Psychological Review, 84, 195-198.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-11