ปัจจัยสุขอนามัย ปัจจัยจูงใจ และวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากรโรงพยาบาลบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

Authors

  • นิลาวรรณ งามขำ faculty of public health at Huachiew Chalermprakiet University
  • นางสาวสุธาดา สุทันฐรัตน์ มลฤดี สีนระครุฑ
  • นางสาวปัทมวรรณ เรืองศรี
  • นางสาวปัทมวรรณ เรืองศรี
  • นางสาวปิยธิดา ลาคำ
  • นางสาวยัสมี สะนิ
  • นางสาว พรทิพา ฤทธิ์ศรี
  • นางสาว มุมีนะห์ สาและ
  • นางสาวปรมาภรณ์ สุขดำ

Keywords:

ความผูกพันของบุคลากร, ปัจจัยสุขอนามัย, ปัจจัยจูงใจ, วัฒนธรรมองค์กร

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความผูกพัน และอำนาจการทำนายของปัจจัยสุขอนามัย ปัจจัยจูงใจ และวัฒนธรรมองค์กรของบุคลากรโรงพยาบาลบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาชนิดหาความสัมพันธ์ โดยปัจจัยสุขอนามัยและปัจจัยจูงใจใช้ทฤษฎีของเฮิร์ซเบริก (Herzberg) และวัฒนธรรมองค์กรใช้ทฤษฎีของคุกและแล็ฟเฟอร์ตี (Cooke and Lafferty) กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรประจำทั้งหมดในโรงพยาบาลบางพลีที่ถูกสุ่มเลือกแบบแบ่งชั้นภูมิ ตามประเภทการจ้างงาน จำนวน 206 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 202 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.934 เก็บข้อมูลเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ได้รับแบบสอบถามคืนร้อยละ 98.06 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถดถอยอย่างง่าย

            จากการศึกษา พบว่า บุคลากรโรงพยาบาลบางพลี มีความผูกพันโดยรวมอยู่ในระดับสูง (gif.latex?\bar{x}= 4.05, SD = 0.39) และพบว่า ปัจจัยสุขอนามัยส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (b = 0.635, p<0.05, R2=0.162) ปัจจัยจูงใจส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (b = 0.600, p<0.05, R2 = 0.148) และวัฒนธรรมองค์กรส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (b = 0.387, p<0.05, R2= 0.110) ผู้บริหารโรงพยาบาลบางพลีสามารถนำข้อค้นพบจากการศึกษาไปกำหนดนโยบายและจัดกิจกรรมการเพิ่มความผูกพันของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับปัจจัยสุขอนามัย ปัจจัยจูงใจ และวัฒนธรรมองค์กร เนื่องจากส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากรในโรงพยาบาล

References

1. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2560 [30 ตุลาคม 2555]. สืบค้นจาก https://www.hsri.or.th/researcher/media/issue/detail/4643
2. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข 2558. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2558.
3. สมานฉันท์ พุทธจักร. ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง [อินเทอร์เน็ต]. เชียงใหม่: ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง; [29 มกราคม 2560]. สืบค้นจากhttp://www.tcijthai.com/news/2017/29/scoop/6707
4. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ; [สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2560]. สืบค้นจาก www.thaihealth.or.th/Content/22790-วิกฤติแพทย์-พยาบาลสมองไหล%20บาดแผลเรื้อรังที่ต้องเร่งรักษา.html
5. ชาญณรงค์ วงค์วิชัย. เจาะลึกระบบสุขภาพ. [อินเทอร์เน็ต]. อุดรธานี: มูลนิธิภิวัฒน์สาธารณสุขไทย; 2556 [สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2560]; สืบค้นจาก: https://www.hfocus.org/content/2016/04/12004
6. สุวัฒน์ นวลขาว. โลจิสติกส์แมค [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เฟรทแมกซ์แอ็ดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด; [21 มกราคม 2559]; สืบค้นจาก http://www.freightmaxad.com/magazine/?p=9701
7. จิรประภา อัครบวร, รัตนศักดิ์ เจริญทรัพย์, จารุวรรณ ยอดระฆัง, ขวัญ นวลสกุล. เครื่องมือการวินิจฉัยความอยู่ดีมีสุขและความผูกพันของบุคลากร. กรุงเทพมหานคร: บริษัทแฮฟไอเดีย จำกัด; 2557.
8. กำไลมาศ กฤชเพชรกลุ่ม. ประวัติองค์กร (Hospital profile). สมุทรปราการ: โรงพยาบาลบางพลี; 2560.
9. พงศ์ศรันย์ พลศรีเลิศ. ตัวแบบสมการโครงสร้างปัจจัยความพึงพอใจในงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร กรณีศึกษาของรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ [อินเทอร์เน็ต]. กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2559. [เข้าถึงเมื่อ 25 กันยายน 2560]; 2(1), 56-67. เข้าถึงได้จาก:http://e-journal.rpu.ac.th/index.php/ojs2-1/article/viewFile/37/37
10. นครียา อาลีดีมัน. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความทุ่มเทในงานของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดสงขลา [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลา; 2558
11. ปรีกมน จินตนานนท์. ปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน และวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อความผูกพันภายในองค์กรของข้าราชการสำนักงานสรรพากรพื้นที่นครปฐม. วารสารบริหารธุรกิจศรีนคริทรวิโรฒ [อินเทอร์เน็ต]. มกราคม – มิถุนายน 2557. [เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2560]; 5(1), 116-138. เข้าถึงได้จาก: http://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ/article/view/4644/4475
12. สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. ผูกใจพนักงานอย่างไรให้ได้ทั้งใจทั้งงาน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ; 2556.
13. รักษ์รัศมี วุฒิมานพ. ลักษณะบุคคลและลักษณะงานที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2555.
14. โรงพยาบาลบางพลี [อินเทอร์เน็ต]. สมุทรปราการ: โรงพยาบาลบางพลี; [สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2560]; สืบค้นจาก http://www.bphos.net/web/index.php?option=com_phocadownload&view=category&id=199:yearreport&Itemid=250
15. ดวงฤดี กิตติจารุดุลย์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติและความตระหนักด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงกรณีศึกษา: บริษัทนำเข้าส่งออกแห่งหนึ่ง [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. ลำปาง: มหาวิทยาลัยเนชั่น; 2557.
16. Rovinelli RJ, Hambleton RK. On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research 1977;2(2):49-60.
17. กริช แรงสูงเนิน. การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2554.
18. ธมนพัชร์ สิมากร. รูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี [อินเทอร์เน็ต]. กรกฎาคม – ธันวาคม 2559. [เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2560]; 3(2): 37-57. เข้าถึงได้จาก: http://www.journal.rmutt.ac.th:8080/index.php/mmrvol1/article/viewFile%20/682/532
19. สุรพล เพชรไกร. เทคนิคการจูงใจ. พิมพ์ครั้งที่ 1. พระนครศรีอยุธยา: เทียนวัฒนาพริ้นท์ติ้ง; 2554.
20. ธนาคาร ขันธพัด. ปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน และคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความจงรักภักดี ของผู้ปฏิบัติงานในองค์กร กรณีศึกษาการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2557.
21. Hew HY, Kong PS, Moy XM, Ng LY, Ng SS. The employee engagement in nursing industry: a study on hospital-based nurses [Research project: submitted for the Degree of Bachelor of Business Administration (HONS)]. Malaysia: Universiti Tunku Abdul Rahman; 2013.
22. Ferinia R, Yuniarsi T, Disman H. Relationship between selected factors of motivation, employee engagement and employee performance among nurses at adventist hospital. International Journal of Basic and Applied Sciences [internet]. 2016 [Cited 2017 Sep 5]; 5(3): 178-181. Available from: https://www.researchgate.net/publication/306244636_Relationship_between_selected_factors_of_motivation_employee_engagement_and_employee_performance_among_nurses_at_adventist_hospital
23. ศิริพร จันทศรี. การศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ที่มีระดับการรับรู้ความสามารถของตนแตกต่างกัน [ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2550.
24. รุ่งทิวา สมตน. ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานโรงพยาบาล [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2558.
25. ชนิดา จิตตรุทธะ. วัฒนธรรมองค์กร: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยและปัจจัยกำหนดความสำเร็จทางวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.

Downloads

Published

2018-12-20

How to Cite

1.
งามขำ น, มลฤดี สีนระครุฑ นส, เรืองศรี น, เรืองศรี น, ลาคำ น, สะนิ น, ฤทธิ์ศรี นพ, สาและ นม, สุขดำ น. ปัจจัยสุขอนามัย ปัจจัยจูงใจ และวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากรโรงพยาบาลบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. HCUJOURNAL [Internet]. 2018 Dec. 20 [cited 2024 Apr. 19];22(43-44):99-113. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/HCUJOURNAL/article/view/146504