ความชุกภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยของผู้สูงอายุไทย: การวิเคราะห์งานวิจัย

ผู้แต่ง

  • เอมวดี เกียรติศิริ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • นงพิมล นิมิตรอานันท์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • ฐิติมา หมอทรัพย์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • พิมพ์นิภา ศรีนพคุณ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

ความชุก, ภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย, ผู้สูงอายุในชุมชน

บทคัดย่อ

ภาวะการรู้คิดบกพร่องเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญที่นำไปสู่ภาวะสมองเสื่อมอันมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อผู้สูงอายุ ญาติผู้ดูแลและระบบบริการสุขภาพ จึงจำเป็นต้องมีการทบทวนสถานการณ์ในผู้สูงอายุไทยอย่างจริงจัง และเร่งค้นหาผู้สูงอายุในชุมชนที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย เพื่อเร่งใช้มาตรการการส่งเสริมสุขภาพสมองให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) อธิบายนิยามเกณฑ์การวินิจฉัย และเครื่องมือประเมิน 2) ทบทวนสถานการณ์เชิงระบาดวิทยาในประเทศไทยจากงานวิจัยที่เลือกสรร 12 ชื่อเรื่อง ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และ 3) เสนอแนวทางการวิจัยต่อไป ผลการวิเคราะห์งานวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในภาคเหนือ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุช่วง 60-69 ปี เพศหญิง การศึกษาระดับประถมศึกษา ขนาดตัวอย่างอยู่ระหว่าง 40-1,375 คน  นิยมใช้แบบประเมิน MoCA-Thai เป็นเครื่องมือการสำรวจ และพบอัตราความชุกอยู่ในช่วง 3.40-92.70%

ผู้เขียนเสนอแนะให้มีการศึกษาแบบติดตามระยะยาวในตัวอย่างที่ขนาดใหญ่ขึ้น ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุป่วยโรคเรื้อรัง เพื่อยืนยันปัจจัยเสี่ยงของภาวะ MCI ที่มีนัยยะสำคัญ และนำไปสู่มาตรการการส่งเสริมสุขภาพสมองที่มีความสอดคล้องกับบริบทผู้สูงอายุในสังคมไทย

References

กนกวรรณ ศรีสุภรกรกุล, โอปอร์ วีรพันธุ์, กัญญ์วรา ท่าว่อง, เบญจพร สุภาอินทร์, อริยา พลเรียงโพน, อรอุมา บุณยารมย์, และ สมภิยา สมถวิล. (2565). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(1), 14-26.

จันทนี ห้องสวัสดิ์, พนิดา สุวิชานรากุล, เกษรา มานนท์, และ ประณต เค้าฉิม. (2565). ภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องระดับเล็กน้อยของผู้สูงอายุในชุมชนแห่งหนึ่งเขตพระนคร. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 15(1), 97-104.

จุฑารัตน์ เสาวพันธ์, พรรณวรดา สุวัน, เสาวลักษณ์ ทาแจ้ง, ปิยวรรณ พลชารี, และ จิรวดี โวหารเดช. (2562). ความชุกของภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยของผู้สูงอายุในชุมชนกึ่งเมือง จังหวัดอุดรธานี. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 4 “การวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” (น. 440-445). มหาวิทยาลัยราชธานี. Google. https://mis.ratchathani.ac.th/file_re/gZ6VHBHWed42851.pdf

ชวนนท์ อิ่มอาบ. (2562). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะบกพร่องทางปัญญาในผู้สูงอายุอำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(5), 782-791.

ดาราวรรณ รองเมือง, ชวนชม พืชพันธ์ไพศาล, ผกามาศ พิมพ์ธารา, และ ยศพล เหลืองโสมนภา. (2564). ความชุกของภาวะสมองเสื่อม และความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 16(1), 1-12.

ทัศนีย์ กาศทิพย์, สุปรีดา มั่นคง, และ พรทิพย์ มาลาธรรม. (2562). ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะรู้คิดบกพร่อง. วารสารสภาการพยาบาล, 34(1), 104-121.

ปณิตา ลิมปะวัฒนะ และ มัญชุมาส มัญจาวงษ์. (2563). ภาวะสูญเสียการรู้คิดเล็กน้อย. วารสารอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(1), 25-34.

ปัณณทัต ตันธนปัญญากร, เจียระไน ปฐมโรจน์สกุล, นิโรบล มาอุ่น, กุสุมา จ้อยจันทร์, และชุติมา มลัยหมื่น. (2562). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะการรู้คิดบกพร่องของผู้สูงอายุในอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 38(2), 67-79.

ปัณณทัต บนขุนทด และ กัลยา มั่นล้วน. (2565). ภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย: ก่อนป่วยด้วยสมองเสื่อม. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท, 4(1),1-15.

ปิยะภร ไพรสนธ์ และ พรสวรรค์ เชื้อเจ็ดตน. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุ จังหวัดเชียงราย. วารสารสภาการพยาบาล, 32(1), 64-74.

พัฒน์ศรี ศรีสุวรรณ. (2561). แผนการดูแลแบบองค์รวมสำหรับภาวะสมองเสื่อม. วารสารอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(3), 27-34.

ภรัญวิทย์ อนันต์ดิลกฤทธิ์. (2566). ภาวะปริชานบกพร่องเล็กน้อย. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 17(1), 381-393.

ระพีพัฒน์ โฆษิตานนท์. (2565). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมรรถภาพสมองบกพร่องระยะต้นในผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว, 5(3), 206-218.

วิทธวัช จอมคำ, วิไลพร กาเชียงราย, กนกนาถ พรหมวิชัย, เกหลั่น ประเสริฐธิติพงษ์, สุทธิดา พงษ์พันธ์งาม, และ วินัฐ ดวงแสนจันทร์. (2567). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะความจำบกพร่องระยะแรกในผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 18(3), 934-945.

วีรศักดิ์ เมืองไพศาล (บก.). (2559). การป้องกัน การประเมินและการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม (พิมพ์ครั้งที่ 4). ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

สุทิศา ปิติญาณ. (2562). คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยสมองเสื่อมที่มีปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์. ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.

สโรชา เชิดชูธรรม, ธาตรี โบสิทธิพิเชฎฐ์, กนกพร ก่อวัฒนมงคล, และ ธนกมณ ลีศรี. (2567). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยของผู้สูงอายุในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 18(3), 801-814.

องค์อร ประจันต์เขตต์. (2567). การจัดการพฤติกรรมต่อต้านการดูแลในผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม: แนวปฏิบัติตามหลักฐานวิจัย. บริษัทรักงานพิมพ์ 2017 จำกัด.

อรวรรณ คูหา (บก.). (2563). คู่มือการพัฒนาศักยภาพสมองในผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย สำหรับบุคลากรสุขภาพ. สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

อารดา โรจนอุดมศาสตร์, เจษฎา เขียวขจี, และ ทัศนีย์ ตันติฤทธิศักดิ์ (บก.). (2564). แนวทางเวชปฏิบัติภาวะสมองเสื่อม. บริษัทธนา เพรส จำกัด.

ไอรดา สายปัญญา. (2565). ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมและภาวะความสามารถของสมองบกพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุ ตำบลนามะเฟือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 30(3), 376-386.

Alzheimer’s Association. (2019). 2019 Alzheimer’s disease facts and figures. Alzheimer's & Dementia, 15(3), 321-387.

American Psychiatric Association. (2016). Diagnostic and statistical manual of mental disorders (5th ed.). American Psychiatric Publishing.

Anderson, N. D. (2019). State of the science on mild cognitive impairment (MCI). CNS Spectrums, 24, 78-87.

Assaf, G., & Tanielian, M. (2018). Mild cognitive impairment in primary care: A clinical review. Postgraduate Medical Journal, 94, 647-652.

Bai, W., Chen, P., Cai, H., Zhang, Q., Su, Z., Cheung, T., Jackson, T., Sha, S., & Xiang, Y.-T. (2023). Worldwide prevalence of mild cognitive impairment among community-dwellers aged 50 years and older: A meta-analysis and systematic review of epidemiology studies. Age and Ageing, 51, 1-14.

Cheng, Y. W., Chen, T. F., & Chiu, M. J. (2017). From mild cognitive impairment to subjective cognitive decline: Conceptual and methodological evolution. Neuropsychiatr Dis Treat, 13, 491-498.

Feldman, H. H., & Jacova, C. (2005). Mild cognitive impairment. American Journal of Geriatric Psychiatry, 13, 645-655.

Jongsiriyanyong, S., & Limpawattana, P. (2018). Mild cognitive impairment in clinical practice: A review article. American Journal of Alzheimer's Disease & Other Dementias, 33(8), 500-507.

Petersen, R. C., & Negash, S. (2008). Mild cognitive impairment: An overview. CNS Spectrums, 13(1), 45–53. https://doi.org/10.1017/s1092852900016151

Shaji, K. S., Sivakumar, P. T., Rao, G. P., & Paul, N. (2018). Clinical practice guideline for management of dementia. Indian Journal of Psychiatry, 60(Supp 3), S312-S328.

World Health Organization. (2020). Dementia. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/dementia

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-16