ระบบสารสนเทศทางการบัญชีและคุณภาพรายงานการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์
คำสำคัญ:
ระบบสารสนเทศทางการบัญชี, ความโปร่งใสของระบบสารสนเทศ, คุณภาพรายงานการเงิน, สหกรณ์ออมทรัพย์บทคัดย่อ
สหกรณ์ไทยมีความสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ในการรวมตัวกันของคณะบุคคลด้วยความสมัครใจช่วยเหลือกันทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของระบบสารสนเทศทางการบัญชีและความโปร่งใสของระบบสารสนเทศ ที่มีผลต่อคุณภาพรายงานการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากหัวหน้าบัญชีหรือเทียบเท่า จำนวน 220 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม LISREL 10.20 ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของระบบสารสนเทศทางการบัญชี และความโปร่งใสของระบบสารสนเทศ ที่มีต่อคุณภาพรายงานการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่า (2/df=1.321, GFI=0.976, AGFI=0.929, CFI= 0.997, RMSEA=0.038, SRMR=0.029) ระบบสารสนเทศทางการบัญชีส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อความโปร่งใสของระบบสารสนเทศ และคุณภาพรายงานการเงิน นอกจากนี้ยังส่งผลทางอ้อมเชิงบวกต่อคุณภาพรายงานการเงิน โดยมีความโปร่งใสของระบบสารสนเทศเป็นตัวแปรส่งผ่าน สามารถร่วมกันทำนายคุณภาพรายงานการเงินได้ร้อยละ 82.70 (R2=0.827) ดังนั้นคณะกรรมการสหกรณ์ควรให้ความสำคัญกับระบบสารสนเทศทางการบัญชี เพื่อเสริมสร้างนวัตกรรมธุรกิจ ซึ่งนำไปสู่คุณภาพรายงานทางการเงินและส่งเสริมความยั่งยืนของสหกรณ์ และสังคมจะได้ประโยชน์จากคุณภาพรายงานการเงินเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการควรคุมการดำเนินงานของธุรกิจให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
References
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2566). มาตรการการควบคุมภายในที่ดีด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร. https://www.cad.go.th/download/info_law/guideline/guideline_cad_25660628_v40.pdf
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2567). รายงานผลการดำเนินงานและฐานะการเงินสหกรณ์นอกภาคเกษตรประจำปี 2566. https://www.cad.go.th/download/statistic1/out_2_66.pdf
กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2565). การจัดการความรู้เรื่องการสร้างเสถียรภาพระบบสหกรณ์ออมทรัพย์. https://km.cpd.go.th/pdf-bin/pdf_6515606961.pdf
กิติมา จึงสุวดี, ประนอม คำผม, นลินี ทองประเสริฐ, ปิยกนิฏฐ์ โชติวนิช, อัยรดา พรเจริญ, และ อโณทัย หาระสาร. (2565). การพัฒนาตัวชี้วัดด้านความโปร่งใสและการเปิดเผยข้อมูลของสหกรณ์ออมทรัพย์ขนาดใหญ่ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(1), 491-508.
คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ. (2567). แผนพัฒนาการสหกรณ์ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566-2570). https://www.cai.ku.ac.th/download/plandevelop_coop5.pdf
ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ว่าด้วยการบัญชีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร พ.ศ. 2563. (2563, 9 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 238 ง. 11-37.
ธัญกานต์ คชฤทธิ์ และ กุสุมา ดำพิทักษ์. (2563). การยอมรับระบบคลาวด์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ระบบสารสนเทศการบัญชีภาคธุรกิจสำหรับผู้ทำบัญชี. วารสารศิลปการจัดการ, 4(1), 13-22.
พิมพาภรณ์ พึ่งบุญพานิชย์ และ นภา นาคแย้ม. (2564). ผลกระทบของการบัญชีดิจิทัลที่มีต่อคุณภาพรายงานการเงิน. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 16(1), 26-43.
สาวิตรี พรหมรักษา และ ดารณี เอื้อชนะจิต. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพของสารสนเทศทางการบัญชีและประสิทธิภาพในการดำเนินงานขององค์กร. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 14(2), 35-49.
สุปภาดา ภูรีพงศ์. (2565). ความสัมพันธ์ของการปฏิบัติงานบัญชีกับคุณภาพรายงานการเงินนักบัญชียุค Digital Disruption ธุรกิจโรงแรม จังหวัดพิษณุโลก. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 7(2), 126-137.
สุทธิชัย ขันทอง และ ขจิต ณ กาฬสินธุ์. (2564). ผลกระทบของวิสัยทัศน์องค์กร สมรรถนะทางการบัญชี เทคโนโลยีทางการบัญชี และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานที่มีต่อการประยุกต์ใช้การบัญชีดิจิทัลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 14(1), 43-54.
สภาวิชาชีพบัญชี. (2564). คู่มืออธิบายกรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน (ฉบับปรับปรุงใหม่). บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด.
Agus, M., Hanifah Salsabila, M., & Harahap, N. S. A. (2023). Penerapan sistem informasi akuntansi. Jurnal EMT KITA, 7(2), 317-324. https://doi.org/10.35870/emt.v7i2.891
Chang, W. (2020). The impact of accounting information systems on information transparency: Evidence from emerging markets. Journal of Accounting and Public Policy, 39(4), 213-234.
Cortina, J. M. (1993). What is coefficient alpha: An examination of theory and applications?. Journal of Applied Psychology, 78(1), 98-104.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). Prentice Hall.
Ramos, L. N., Gutierrez, I., Vasques, A. V., Calderon, L. Correa, K. R. & Beleno, C. G. (2024). Family business: Transparency in financial information from corporate governance practices. Procedia Computer Science, 231, 484-489. https://doi.org/10.1016/j.procs.2023.12.238
Rossi, A., & Lenzini, G. (2020). Transparency by design in data-Informed research: A collection of information design patterns. Computer Law & Security Review, 37, 1-22. https://doi.org/10.1016/j.clsr.2020.105402
Sangkaew, P., Suphachin, R. , & Chalomklang, C. (2024, 18 July). Using of cooperative law for auditing of cooperative: Perspective of the cooperative auditor [Paper presentation]. The 4th National and International Conference on Cooperatives and Social Enterprises: “Advancing Sustainable Development: Empowering Cooperatives and Social Enterprises for Global Impact”. Kasetsart University, Bangkok.
Serazzi, M. M., Benito, O. G. & Partal, M. M. (2023). A new perspective of BDA and information quality from final users of information: A multiple study approach. International Journal of Information Management, 73, 1-17. https://doi.org/10.1016/j.ijinfomgt.2023.102683
Wijayanti, P., Mohamend, I. S. & Daud, D. (2024). Computerized accounting information system: An application of task technology fit model for microfinance. International Journal of Information Management Data Insights,4(1), 1-15. https://doi.org/10.1016/j.jjimei.2024.100224
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยคริสเตียน

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.