ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมของประชาชนในเขตเทศบาล ตำบลกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
การเข้าร่วมกิจกรรม, การมีส่วนร่วมของประชาชน, เขตเทศบาลตำบลกำแพงแสนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการเข้าร่วมกิจกรรมของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลกำแพงแสน 2) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลกำแพงแสน และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม จำนวน 366 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลกำแพงแสน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ระดับการเข้าร่วมกิจกรรมของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลกำแพงแสน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลกำแพงแสน มีจำนวน 3 ปัจจัย ได้แก่ สภาพแวดล้อม ทัศนคติที่มีต่อท้องถิ่น และความน่าเชื่อถือของผู้นำ โดยร่วมกันอธิบายการเข้าร่วมกิจกรรมของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลกำแพงแสน ได้ร้อยละ 46.90 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .001 และสามารถสร้างเป็นสมการพยากรณ์การเข้าร่วมกิจกรรมของประชาชนในรูปคะแนนดิบ Y = 2.588 -0.031X5+0.195X2 +0.197X6 สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน Zy = -0.042X5 + 0.323X9 + 0.309X6 ดังนั้น เทศบาลควรมีการจัดการด้านสภาพแวดล้อมที่ดี ส่งเสริมให้ประชาชนมีทัศนคติที่พร้อมจะเอื้อเฟื้อและช่วยเหลือผู้อื่น และพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำ เพื่อทำให้ได้รับความเชื่อถือและการดำเนินการของเทศบาลตำบลกำแพงแสนก็มีความชอบธรรมตามไปด้วย
References
กรศิริ บุญประอบ. (2557). ประเด็นจริยธรรม. เอกสารประกอบการบรรยายคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย. สาขาสังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.
ขนิจฐา ชัยบิล. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ในเขตอำเภอนาทม จังหวัดนครพนม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร]. Google. https://e-thesis.snru.ac.th/file_thesis/2022042861426423141_fulltext.pdf
จุติพร มาเพิ่มผล. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่ง ควายกิน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา]. Google. https://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/62930026.pdf
ชนาทิป อ่อนหวาน. (2553). ความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่มีผลต่อแนวโน้มพฤติกรรมการซื้อสินค้าที่มีฉลากคาร์บอนของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชิต นิลพานิช และกุลธน ธนาพงศธร. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชนบท. เอกสารการสอนชุดวิชาความรู้ทั่วไปสำหรับการพัฒนาระดับตำบลหมู่บ้าน, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ทรงวุฒิ เรืองวาทศิลป์. (2550). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาในพื้นที่บริการของโรงเรียนล้อมแรดวิทยา อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เนตรภัทร อ่วมเครือ และวัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2562). ทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนในตำบลบ้านกุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, 6(1), 135-151.
ฐานิตา เฉลิมช่วง และอัมรินทร์ นาคณัฐเศรษฐ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับเทศบาล จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารชุมชนวิจัย, 10(1), 82-90
ฐิวดี ป่านแก้ว. (2562). การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในเครือข่ายข่าวภาคประชาชน กองทัพอากาศ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต]. Google. https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/428
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2558). สุขภาพและการจัดการ. http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/0701501/Unit01/un01_07.htm
ประเวศ วะสี. (2558). แนวคิดเกี่ยวกับประชาคม. http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/0701501/Unit01/un01_07.htm
เพ็ญพักตร์ พลายคง. (2560). ความรู้และทัศนคติของประชาชนท้องถิ่นที่มีต่อเขตเศรษฐกิจพิเศษในอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี]. Google. https://etheses.rbru.ac.th/pdf-uploads/allfile-261-file01-2018-08-16-14-13-42.pdf
วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. (2551). การพัฒนาชนบทไทย. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิชชากร ตรึกตรอง. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลห้างสูง อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา]. BUUIR. https://buuir.buu.ac.th/handle/1234567890/8853
โวลเป้ ไมเคิล. (2554). ความเป็นประชาชน พลเมือง และการมีส่วนร่วมของพลเมือง. ใน เอกสารการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 13 ประจำปี 2554 เรื่องความเป็นพลเมืองกับ อนาคตประชาธิปไตยไทย (น. 79 – 96). บริษัท ส เจริญการพิมพ์ จำกัด.
ศตพล พนิชศักดิ์พัฒนา. (2556). ทัศนคติของประชาชนชาวจังหวัดสกลนครที่มีต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกริก
ศุภมาส แหวนวิเศษ และเจริญชัย เอกมาไพศาล. (2559). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชนต้นแบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาตำบลน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด. วารสารธรรมศาสตร์, 36(1), 66-95
สราวุธ อึ้งอัมพรวิไล. (2563). ทัศนคติของประชาชนตําบลบางกะดีต่อการบริหารงานของเทศบาลตําบลบางกะดี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. Google. https://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2020/TU_2020_6203011488_13341_14098.pdf
สำนักงานเทศบาลตำบลกำแพงแสน. (2566). ข้อมูลทะเบียนราษฎร์. นครปฐม.
สำนักงานเทศบาลตำบลกำแพงแสน. (2565). บรรยายสรุปการผลดำเนินงานประจำปี. นครปฐม.
สมคิด ศรีสิงห์. (2558). ปัจจัยที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนากิจกรรมของประชาชนในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก. Journal Of Nakhonratchasima College, 9(2), 58-62.
สมจิตนา คุ้มภัย. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของชาวชุมชนในองค์การบริหารส่วนตำบลต้นแบบที่บูรณาการแผนชุมชนสู่แผนพัฒนาท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช. Vericsan E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(2), 733-748.
อนุรักษ์ นิยมเวช. (2554). บทความเกี่ยวกับการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน. สํานักการพิมพ์สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
Yamane T. (1973). Statistice : An introductory analysis. Harper & Row Publication.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยคริสเตียน

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.