การศึกษาทางกายวิภาคศาสตร์ของหลอดเลือดบริเวณผนังหน้าท้อง เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดในหัตถการดูดไขมันที่บริเวณผนังหน้าท้องส่วนล่าง: เอกซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือด

ผู้แต่ง

  • เฉลิมขวัญ ณ พัทลุง อาจารย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
  • ศิริพร ธนามี อาจารย์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ สาขารังสีวิทยา โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า
  • สัตพร เจริญสุข อาจารย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
  • วิวัฒน์ จรกิจ อาจารย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
  • อมรรัตน์ ยืนยงวัฒนกุล อาจารย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
  • สุกัญญา อุรุวรรณ อาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • ธันวา ตันสถิตย์ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

คำสำคัญ:

การดูดไขมันหน้าท้อง, หลอดเลือดผนังหน้าท้อง, เอกซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือด

บทคัดย่อ

หัตถการดูดไขมันได้รับความนิยมอย่างมาก ถูกคิดค้นและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามภาวะเลือดออกจากการบาดเจ็บของหลอดเลือดระหว่างทำหัตถการอาจกลายเป็นปัญหาได้ เช่น ภาวะช็อคจากการสูญเสียสารน้ำหรือเลือด ซึ่งการศึกษาหลอดเลือดเพื่อการดูดไขมันหน้าท้องยังคงมีน้อย และตำแหน่งของหลอดเลือดที่หน้าท้องเหล่านี้อยู่ใกล้กับจุดทำหัตถการ ทำให้มีโอกาสที่หลอดเลือดเกิดการบาดเจ็บได้ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาข้อมูลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือดที่ครอบคลุมบริเวณหน้าท้องส่วนล่างและต้นขา จากการศึกษาทางกายวิภาคศาสตร์ของภาพข้อมูลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือดที่ไม่มีพยาธิสภาพของหลอดเลือดในผนังหน้าท้อง จำนวน 100 ข้าง พบว่าหลอดเลือดแดงชั้นตื้นที่หน้าท้องส่วนล่าง (Inferior epigastric) มีต้นกำเนิดใต้ต่อปุ่มกระดูกที่ปีกเชิงกรานหน้า (ASIS) 47.81±3.80 มิลลิเมตร และวางตัวสัมพันธ์กับแกนมาตรฐานที่ตำแหน่งหนึ่งในสามทางด้านในของหน้าท้องหนึ่งข้าง (Y1) ที่ระยะ -1.64 ถึง +4.14 มิลลิเมตร และหลอดเลือดแดงชั้นลึกนี้มีตำแหน่งที่แทงเข้าในเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อเรคตัส ห่างจากแกน Y1 ทางด้านใน 1.97±1.14  มิลลิเมตร และอยู่ต่ำกว่าปุ่มกระดูก ASIS 4.19±2.64 มิลลิเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 2.12±1.75 มิลลิเมตร ดังนั้นข้อมูลทางกายวิภาคศาสตร์นี้จึงเป็นประโยชน์ให้แพทย์สามารถหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดที่เกิดจากการดูดไขมันหน้าท้องได้

References

Bellini, E., Grieco, M. P., & Raposio, E. (2017). A journey through liposuction and liposculture: Review. Ann Med Surg (Lond), 24, 53-60.

Boucher, F., Brosset, S., Shipkov, H., Aimard, R., Rouviere, O., Braye, F., Mojallal, A. (2020). An anatomic study of deep inferior epigastric artery diameters at the origin from external iliac and at the lateral border of rectus abdominis muscle by computed tomographic angiography from autologous breast reconstruction patients. Ann Chir Plast Esthet, 65(1), 70-76.

Chae, M. P., Hunter-Smith, D. J., & Rozen, W. M. (2015). Comparative analysis of fluorescent angiography, computed tomographic angiography and magnetic resonance angiography for planning autologous breast reconstruction. Gland Surg, 4(2), 164-178.

Choi, H., & Shin, T. (2009). Rupture of a deep circumflex iliac artery after abdominal liposuction: treatment with selective arterial transcatheter embolization. Cardiovasc Intervent Radiol, 32(6), 1288-1290.

Franchi, A., Patane, L., Hummel, C. H., & Jung, F. (2024). Confusion regarding the anatomy of the superficial inferior epigastric artery and the superficial circumflex iliac artery superficial branch. Plast Reconstr Surg Glob Open, 12(4), e5714.

He, Y., Tian, Z., Ma, C., & Zhang, C. (2015). Superficial circumflex iliac artery perforator flap: Identification of the perforator by computed tomography angiography and reconstruction of a complex lower lip defect. Int J Oral Maxillofac Surg, 44(4), 419-423.

Kaoutzanis, C., Gupta, V., Winocour, J., Layliev, J., Ramirez, R., Grotting, J. C., & Higdon, K. (2017). Cosmetic liposuction: Preoperative risk factors, major complication rates, and safety of combined procedures. Aesthet Surg J, 37(6), 680-694.

Kita, Y., Fukunaga, Y., Arikawa, M., Kagaya, Y., & Miyamoto, S. (2020). Anatomy of the arterial and venous systems of the superficial inferior epigastric artery flap: A retrospective study based on computed tomographic angiography. J Plast Reconstr Aesthet Surg, 73(5), 870-875.

Lohasammakul, S., Tonaree, W., Suppasilp, C., Numwong, T., Ratanalekha, R., & Han, H. H. (2023). Superficial inferior epigastric artery flap: Vascular pattern and territory across the midline. J Reconstr Microsurg, 40(6), 435–442.

Pruksapong, C., Buarabporn, N., & Junkajorn, S. (2023). Efficacy of cold tumescent for prevention of intraoperative bleeding in patients undergoing liposuction: A double-blind randomized controlled trial-half-side comparison. Aesthet Surg J, 43(4), NP258-NP267.

Suh, H. S., Jeong, H. H., Choi, D. H., & Hong, J. P. (2017). Study of the medial superficial perforator of the superficial circumflex iliac artery perforator flap using computed tomographic angiography and surgical anatomy in 142 patients. Plast Reconstr Surg, 139(3), 738-748.

Tepelenis, K., Papathanakos, G., Kitsouli, A., Barbouti, A., Varvarousis, D. N., Kefalas, A., Kanavaros, P. (2023). Anatomical variations of the great saphenous vein at the saphenofemoral junction. A cadaveric study and narrative review of the literature. Vascular, 9, 17085381231174917. https://pubmed.Ncbi.Nlm.gov/37160721/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-20