ความก้าวหน้าและโอกาสในงานวิจัยการบัญชีบริหารในประเทศไทย
คำสำคัญ:
การบัญชีบริหาร, แนวโน้มของการวิจัย, ลักษณะของการวิจัยบัญชีบริหาร, โอกาสในการวิจัยบทคัดย่อ
การบัญชีบริหารเป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจและสร้างความยั่งยืนให้แก่องค์กร โดยเฉพาะกับสภาพแวดล้อมที่มีความไม่แน่นอนของประเทศไทย บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อชี้ให้เห็นถึงวารสารที่ตีพิมพ์ผลการวิจัยและแนวโน้มของการศึกษาวิจัยการบัญชีบริหารในประเทศไทย ลักษณะและรูปแบบของการศึกษาวิจัยการบัญชีบริหารในประเทศไทยในปัจจุบัน และช่องว่างและโอกาสสำหรับงานวิจัยการบัญชีบริหารในประเทศไทยในอนาคต คณะผู้วิจัยได้คัดเลือกบทความที่มีความน่าเชื่อถือจากวารสารที่อยู่ใน TCI tier 1 จากระบบฐานข้อมูล ThaiJO ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 - 2567 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 209 บทความ และดำเนินการรวบรวมข้อมูลจากบทคัดย่อและเนื้อหาที่ตีพิมพ์เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหาอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย พบว่า การบัญชีบริหารส่วนใหญ่ตีพิมพ์ในวารสารการบัญชีและการจัดการ วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียนและจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์ และมีแนวโน้มของการศึกษาเพิ่มขึ้นมากจากในอดีตตามสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ลักษณะของการวิจัยการบัญชีบริหารในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับแนวคิดและเครื่องมือการบริหารต้นทุน (Cost management) ที่จะส่งผลต่อผลการดำเนินงาน โดยการวิจัยส่วนใหญ่เป็นการวิจัยเชิงประจักษ์และเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลยังคงเป็นแบบสอบถามกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหาร ซึ่งทำให้เกิดช่องว่างของการวิจัยในอนาคตสำหรับการวิจัยบัญชีบริหารโดยการนำแนวคิดของการบริหารแบบใหม่มาประยุกต์ใช้ การอ้างอิงถึงทฤษฎีอย่างชัดเจน และการปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการวิจัยที่จะเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับผลลัพธ์ของการวิจัยด้วยการวิจัยแบบผสมหรือการใช้ข้อมูลทุติยภูมิ ผู้วิจัยและผู้ที่สนใจได้เห็นถึงช่องทางการเข้าถึงงานวิจัยการบัญชีบริหารและนำมาปรับใช้เพื่อแก้ไขปัญหาและศึกษาวิจัยในอนาคต สามารถนำแนวคิดของการบัญชีบริหารมาประยุกต์ใช้กับบริบทที่สอดคล้องกับผลการวิจัย และพัฒนาการศึกษาวิจัยในแนวทางที่แตกต่างจากการศึกษาวิจัยในอดีต
References
เฉลิมเกียรติ ร่างเล็ก, ณัฐวงศ์ พูนพล, และ ศรีรุ่งรัตน์ สุดสมบูรณ์. (2566). อิทธิพลของผู้บริหารระดับสูงแบบตีสองหน้า นวัตกรรมทางเทคโนโลยี และแรงกดดันจากการแข่งขันในตลาดที่มีต่อระบบข้อมูลการประเมินความเสี่ยงของผู้ประกอบการส่งออกในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(7), 133-143.
ณัฐนันท์ ฐิติยาปราโมทย์. (2565). ผลกระทบของคุณภาพการตัดสินใจทางการบัญชีบริหารที่มีต่อความอยู่รอดของกิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ, 14(2), 104-124.
ณัฐวงศ์ พูนพล, นาถนภา นิลนิยม, และ อิงอร นาชัยฤทธิ์. (2566). ผลกระทบของการรายงานความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 17(2), 463-479.
ไตรรงค์ สวัสดิกุล และ นภาภรณ์ พลนิกรกิจ. (2563). การบัญชีแบบลีนในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม: การศึกษาเปรียบเทียบและผลกระทบต่อ ผลการดำเนินงานของกิจการ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 40(1), 77-92.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2564). รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย ปี 2563. https://www.bot.or.th/content/dam/bot/documents/th/thai-economy/state-of-thai-economy/annual-report/annual-econ-report-th-2563.pdf
ธีรชัย อรุณเรืองศิริเลิศ. (2563). หลักการของการบัญชีบริหาร (Management Accounting Principles). สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. https://www.tfac.or.th/Article/Detail/126276
ธีระ เทิดพุทธธรรม. (2562). ตัวกำหนดการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่มีต่อผลการดำเนินงานการบริหารด้านการเงินของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 25(2), 27-36.
พิมพ์ปวีณ์ มะณีวงค์. (2563). การตัดสินใจยอมรับระบบบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพกับการยกระดับศักยภาพของเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 26(4), 69-79.
ภัทรพงศ์ เจริญกิจจารุกร. (2556). Sarbanes-Oxley Act และการกำกับดูแลกิจการในต่างประเทศสู่ธรรมาภิบาลในประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 35(4), 92-119.
เมชยา ท่าพิมาย. (2566). ปัจจัยของระบบบัญชีการเงินการคลังภาครัฐที่มีต่อความสำเร็จ ในการบริหารงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 13(2), 114-132.
วรกร ภูมิวิเศษ และ มัทนชัย สุทธิพันธุ์. (2566). บทบาทตัวแปรคั่นกลางของการบัญชีบริหารเชิงกลยุทธ์ต่อความสัมพันธ์ ระหว่างองค์ประกอบคณะกรรมการและผลการดำเนินงานทางการเงินของสถานประกอบการอุตสาหกรรมสีเขียวในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ, 15(2), 112-129.
วิริยา จงรักษ์สัตย์. (2562). การจัดสรรต้นทุนสิ่งแวดล้อมไปยังต้นทุนผลิตภัณฑ์. วารสารมหาวิทยาลัย คริสเตียน, 25(2), 130-142.
สุวรรณ หวังเจริญเดช. (2557). กลยุทธ์การบริหารต้นทุนในยุคโลกาภิวัตน์. วารสารนักบริหาร, 34(1), 60-68.
สุวรรณ หวังเจริญเดช. (2558). หลักการบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์ที่เหนือกว่าย่อมส่งผลสำเร็จต่อองค์กรธุรกิจชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 9(20), 9-23.
อนุธิดา ประเสริฐศักดิ์. (2558). การใช้สารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการบริหารงานองค์กร. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 21(3), 355-366.
อาภากร พูลทรัพย์, ฐิติวรดา แสงสว่าง, และ พรรณนภา เชื้อบาง. (2566). การจัดการบัญชีทรัพยากรมนุษย์และนโยบายผู้บริหารที่มีต่อความพึงพอใจของพนักงาน: กรณีศึกษาบริษัท ศักดิ์สยาม ลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน). วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 29(3), 80-93.
American Institute of Certified Public Accountants & Chartered Institute of Management Accountants. (2022). Management accounting practice areas. https://www.aicpa-cima.com/resources/article/management-accounting-practice-areas
Chen, C. X., Gao, Y., Wang, Y., & Xue, S. (2020). Tailoring the weights on objective versus subjective performance measures between top management and middle managers: Evidence from performance-based equity incentive plans. Journal of Management Accounting Research, 32(3), 49-70.
Dechow, P. M., Sloan, R. G., & Zeng, J. J. (2020). Is it a home run? measuring relative citation rates in accounting research. Accounting Horizons, 34(1), 67-91.
Kapiyangoda, K., & Gooneratne, T. (2021). Management accounting research in family businesses: A review of the status quo and future agenda. Journal of Accounting & Organizational Change, 17(3), 352-372.
Klaprabchone, K., Phadoongsitthi, M., Saraphat, S., Sincharoonsak, T., Sophaphan, P., Chuaychoo, M., & Chammuangpakand, W. (2018). Environmental management accounting practice contributing to organization sustainability among ISO 14001 certified listed companies of SET. Asian Administration & Management Review, 1(1), 76-83.
McAdam, R., Miller, K., & McSorley, C. (2019). Towards a contingency theory perspective of quality management in enabling strategic alignment. International Journal of Production Economics, 207, 195-209.
Pedroso, E., & Gomes, C. F. (2024). The current role of management accounting: Paradigm shift and future challenges. Journal of Accounting & Organizational Change, 20(1), 307-333.
Pereira, V., & Bamel, U. (2021). Extending the resource and knowledge based view: A critical analysis into its theoretical evolution and future research directions. Journal of Business Research, 132, 557-570.
Plečnik, J. M., & Wang, S. (2021). Top management team intrapersonal functional diversity and tax avoidance. Journal of Management Accounting Research, 33(1), 103-128.
Stormi, K. T., Laine, T., & Korhonen, T. (2019). Agile performance measurement system development: An answer to the need for adaptability?. Journal of Accounting & Organizational Change, 15(2), 231-256.
Vitolla, F., Raimo, N., & Rubino, M. (2020). Board characteristics and integrated reporting quality: An agency theory perspective. Corporate Social Responsibility and Environmental Management, 27(2), 1152-1163.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยคริสเตียน

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.