การพัฒนาผลิตภัณฑ์กล้วยหอมคาเวนดิชผงชงดื่มผสมธัญญาหาร โดยใช้เครื่องทำแห้งแบบลูกกลิ้งคู่
คำสำคัญ:
กล้วยหอมคาเวนดิช, เครื่องทำแห้งแบบลูกกลิ้ง, ธัญญาหารบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตกล้วยหอมคาเวนดิชผงชงดื่มโดยใช้เครื่องทำแห้งแบบลูกกลิ้ง โดย 1) ศึกษาผลของอุณหภูมิผิวลูกกลิ้ง (120, 130 และ 140 องศาเซลเซียส) และปริมาณมอลโตเดกซ์ตริน (ร้อยละ 100, 150 และ 200 น้ำหนักแห้งของกล้วยสด) ต่อคุณภาพของกล้วยหอมคาเวนดิชผงด้วยวิธีแฟคทอเรียล 32 ในแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (32 Factorial in Completely Randomized Design; CRD) จากนั้นนำกล้วยหอมคาเวนดิชผงมาตรวจสอบคุณสมบัติทางเคมี กายภาพ และประสาทสัมผัส 2) ศึกษาปริมาณกล้วยหอมคาเวนดิชผงที่เหมาะสมในการผลิตการพัฒนาผลิตภัณฑ์กล้วยหอมคาเวนดิชผงชงดื่มผสมธัญญาหาร จากการศึกษา พบว่า เมื่ออุณหภูมิผิวลูกกลิ้งสูงขึ้น ส่งผลให้ค่าปริมาณน้ำอิสระ ค่าความชื้น ค่าสี a* ค่าดัชนีการดูดซับน้ำมีแนวโน้มลดลง ในขณะที่ค่าสี L*, b* ค่าดัชนีการละลายน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และเมื่อปริมาณมอลโตเดกตรินซ์มีค่าเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าความชื้น ค่าสี a*, b* และค่าดัชนีการดูดซับน้ำ มีแนวโน้มลดลง ในขณะที่ค่าสี L*มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งสภาวะที่เหมาะสมที่ใช้ในการผลิตกล้วยหอมคาเวนดิชผง ได้แก่ อุณหภูมิผิวลูกกลิ้งที่ 140 องศาเซลเซียส และความเข้มข้นของมอลโตเดกซ์ตรินร้อยละ 150 น้ำหนักแห้งของกล้วยสด และศึกษาปริมาณกล้วยหอมคาเวนดิชผงที่เหมาะสมในการผลิตผลิตภัณฑ์กล้วยหอมคาเวนดิชผงชงดื่มผสมธัญญาหาร พบว่า ปริมาณกล้วยหอมคาเวนดิชผง 50 ส่วนต่อน้ำหนักของส่วนผสมอื่นๆ 100 ส่วน ผู้บริโภคให้การยอมรับสูงสุด โดยมีส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ประกอบด้วย ข้าวโอ๊ต จมูกข้าวสาลี งาดำ ถั่วเหลือง นมผง เวย์โปรตีน อินูลิน และน้ำตาลทรายแดง 10, 16, 5, 7, 20, 18, 13 และ 11 ส่วน ตามลำดับ ซึ่งเป็นการนํากล้วยหอมคาเวนดิชมาแปรรูปเป็นกล้วยหอมคาเวนดิชผงชงดื่มเพื่อเพิ่มมูลค่าในอุตสาหกรรมอาหาร ช่วยยืดอายุการเก็บรักษา พกพาสะดวก และตอบสนองความต้องการในเรื่องการดูแลสุขภาพ
References
กฤติยา เขื่อนเพชร, เปี่ยมสุข สุวรรณ, รวิพร พลพืช, และรวิภา จารุอารยนันท์. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มกล้วยหอมทองผงเพื่อสุขภาพ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 27(6), 1030-1031.
ดารารัตน์ นาคละออ, อาภัสรา แสงนาคม, และกุลยา ลิ้มรุ่งเรืองรัตน์. (2554). การปรับปรุงคุณภาพของแป้งเมล็ดขนุนโดยวิธีการพรีเจลาทิไนซ์. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 16(1), 13-18.
ธัญญาภรณ์ ศิริเลิศ, ณัฏฐิกา ศิลาลาย, และธนากรณ์ เชื้อวงษ์ดี. (2561). กรรมวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในการละลายครีมเทียมผงจากแป้งข้าวด้วยวิธีการทำแห้งแบบลูกกลิ้ง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 28(1), 73-85.
นิธิยา รัตนาปนนท์. (2549). เคมีอาหาร (พิมพ์ครั้งที่ 2). โอเดียนโสตร์.
พรทิพย์ สุริยะจันทร์หอม และมาฤดี ผ่องพิพัฒน์พงศ์. (2560, 7-8 กันยายน). ผลของอุณหภูมิการทำแห้งมอลโตเด็กตรินและกัมอะราบิกต่อลักษณะทางเคมีกายภาพของฟักข้าวผงที่ผลิตโดยวิธีการทำแห้งด้วยเครื่องทำแห้งแบบลูกกลิ้งคู่ [Paper presentation]. การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห้งประเทศไทยระดับชาติ ครั้งที่ 18, กรุงเทพฯ, ประเทศไทย.
วิไล รังสาดทอง. (2547). เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
วรรณวิภา โคกครุฑ, อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์, และสุนัน ปานสาคร. (2559, 25 พฤศจิกายน). การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการทำแห้งผงหุงข้าวสวยเสาไห้สำเร็จรูปโดยใช้เคริ่องทำแห้งแบบลูกกลิ้ง [Poster presentation]. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราชครั้งที่ 6, นนทบุรี, ประเทศไทย.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2562). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนกล้วยผงชงดื่ม มผช 1525/2562. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน.
อภิชาต ศรีสะอาด, กอบลาภ อารีศรีสม, และพัชรี สำโรงเย็น. (2560). กล้วยหอมคาเวนดิช. นาคาอินเตอร์มีเดีย.
อัจฉริยะกูล พวงเพ็ชร, พรอริยา ฉิรินัง, และศิริวรรณ ณะวงษ์. (2567). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาเปลือกกล้วยหอมทอง. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 19(2), 107-121.
AOAC. (2000). Official Methods of Analysis of AOAC International (17th ed). Association of official Analytical Chemists.
Figuerola, F. M. L., Hurtado, A. M., Estevez, Chiffelle. I., & Asenjo, F. (2005). Fiber concentrates from apple pomace and citrus peel as potential fiber sources for food enrichment. Food Chem, 91(3), 389-582.
Gabas, A.L., Telis, V.R.N, Sobrai, P.J. A., & Romeo-Telis, J. (2007). Effect of maltodextrin and arabic gum in water vapor sorption thermodynamic properties of vacuum dried pineapple pulp powder. Journal of Food Engineering, 82, 246-252.
Hogekamp, S., & Schubert, H. (2003). Rehydration of food powder. Food Science Technology, 9(3), 223-235.
Oberoi, D. P. S., & Sogi, D. S. (2015). Effect of drying methods and maltodextrin concentration on pigment content of watermelon juice powder. Journal of Food Engineering, 165, 172-178.
Pua, C. K., Hamid, N. S. A., Tan, C. P., Mirhosseini, H., Rasman, R. B. A., & Rusul, G. (2010). Optimization of drum drying processing parameters for production of jackfruit (Artocarpus heterophyllus) powder using response surface methodology. LWT-Food Science and Technology, 43(2), 343-349.
Quek, A.Y., Chok, N.K., & Swedlund, P. (2007). The physicochemical properties of spray dried watermelon powders. Chemical Engineering and Processing, 46, 386–392.
Senka, S. V., Jelena, Z. V., Zuzana, G. V., Zoran, P. Z., & Ljiljana, M. P. (2014). Maltodextrin as a carrier of health benefit compounds in satureja montana dry powder extract obtained by spary drying technique. Powder Technology, 258, 209-215.
Yousf, N., Nazir, F., Salim, R., Ahsan, H., & Sirwal, A. (2017). Water solubility index and water absorption index of extruded product from rice and carrot blend. Journal of Pharmacognosy and Phytochemistry, 6(6), 2165-2168.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยคริสเตียน

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.