ผลของการฝึกด้วยกลยุทธ์การใช้สะโพกและข้อเท้าบนพื้นที่สั่นต่อภาวะกลัวล้มและ สมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • กมลวรรณ ทองสัมฤทธิ์ นิสิตปริญญาโท สาขาแอทเลติกเทรนนิงและวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหว คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อำพร ศรียาภัย อาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุพิตร สมาหิโต รองศาสตราจารย์ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การใช้สะโพกและข้อเท้า, ผู้สูงอายุ, ภาวะกลัวล้ม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกด้วยกลยุทธ์การใช้สะโพกและข้อเท้าบนพื้นที่สั่นต่อภาวะกลัวล้มและสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะกลัวล้มระดับมาก จำนวน 48 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 16 คน ทำการฝึกตามโปรแกรมที่กำหนด เป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยกลุ่มที่ 1 ฝึกกลยุทธ์การใช้สะโพกและข้อเท้าบนพื้นที่ไม่สั่น กลุ่มที่ 2 ฝึกกลยุทธ์การใช้สะโพกและข้อเท้าบนพื้นที่สั่น และกลุ่มควบคุมฝึกด้วยโปรแกรมออกกำลังกายทั่วไป วิเคราะห์ความแตกต่างของภาวะกลัวล้มระหว่างกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) วิเคราะห์ข้อมูลภาวะกลัวล้ม และสมรรถภาพทางกาย ด้านความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ การทรงตัว และเวลาปฏิกิริยา ก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และ 8 ของทั้งสามกลุ่ม ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way Repeated Measure ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 มี ภาวะกลัวล้มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และพบว่า ภาวะกลัวล้ม ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ การทรงตัว และเวลาปฏิกิริยาของกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ทั้งสามช่วงเวลา การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าการฝึกควบคุมระดับสะโพกและข้อเท้าบนพื้นที่สั่น มีประสิทธิภาพในการลดภาวะกลัวล้มในผู้สูงอายุที่มีภาวะกลัวล้มระดับมากได้ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการฝึกเพื่อลดความเสี่ยงหกล้มในผู้สูงอายุ และเป็นทางเลือกในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้และวางแผนการดูแลสุขภาพร่างกายเพื่อป้องกันภาวะกลัวล้ม ไปจนถึงสนับสนุนการเข้าถึงความครอบคลุมของบริการสร้างเสริมสุขภาพ การคัดกรอง และป้องกันภาวะกลัวล้มในระยะเริ่มต้นของการเสี่ยงหกล้มในผู้สูงอายุที่โรงพยาบาลได้

References

กนิษฐา เสนาะเสียง. (2565). ผลทันทีของการฝึกการก้าวเท้าป้องกันล้มด้วยตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกึ่งเฉียบพลัน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. DSpace JSPUI. http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2128

ลัดดา เถียมวงศ์. (2554). การทดสอบคุณสมบัติของเครื่องมือประเมินอาการกลัวหกล้มในผู้สูงอายุไทย. สงขลานครินทร์เวชสาร, 29(6), 277-287.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2565, 4 เมษายน). คู่มือรูปแบบการออกกำลังและสร้างผู้นำด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ. https://dol.thaihealth.or.th/Media/Index/81d1ca01-01aa-ec11-80fa-00155db45613#

สุพิตร สมาหิโต, วัลลีย์ ภัทโรภาส, สิริพร ศศิมณฑลกุล, อำพร ศรียาภัย, นันทวัน เทียนแก้ว, อาริสร์ กาญจนศิลานนท์, ไพลิน เผือกประคอง, เพ็ญนิภา พูลสวัสดิ์, เจนจิรา ขำผิวพรรณ, และ สุริยัน สมพงษ์. (2562). แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกาย สำหรับผู้สูงอายุ อายุ 60-89 ปี. สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

American College of Sports Medicine. (2019). Fitness focus. ACSM’s Health & Fitness Journal, 23(2), 3-4. http://journals.lww.com/acsm-healthfitness

Blenkinsop, G. M., Pain, M. T. G., & Hiley, M. J. (2017). Balance control strategies during perturbed and unperturbed balance in standing and handstand. R Soc Open Sci, 4(7), 161018. https://doi.org/10.1098/rsos.161018

Chung, P., Liu, C., Wang, H., Liu, Y., Chuang, L., & Shiang, T. Y. (2017). Various performance-enhancing effects from the same intensity of whole-body vibration training. J Sport Health Sci, 6(3), 333-339. https://doi.org/10.1016/j.jshs.2016.06.001

Di Lorito, C., Long, A., Byrne, A., Harwood, R. H., Gladman, J. R. F., Schneider, S., Logan, P., Bosco, A., van der Wardt, V. (2021). Exercise interventions for older adults: A systematic review of meta-analyses. J Sport Health Sci, 10(1), 29-47. https://doi.org/10.1016/j.jshs.2020.06.003

Faes, Y., Rolli Salathe, C., Herlig, M. L., & Elfering, A. (2023). Beyond physiology: Acute effects of side-alternating whole-body vibration on well-being, flexibility, balance, and cognition using a light and portable platform A randomized controlled trial. Front Sports Act Living, 5, 1090119. https://doi.org/10.3389/fspor.2023.1090119

Ferlinc, A., Fabiani, E., Velnar, T., & Gradisnik, L. (2019). The importance and role of proprioception in the elderly: A short review. Mater Sociomed, 31(3), 219-221. https://doi.org/10.5455/msm.2019.31.219-221

Landers, M. R., Oscar, S., Sasaoka, J., & Vaughn, K. (2016). Balance confidence and fear of falling avoidance behavior are most predictive of falling in older adults: prospective analysis. Physical Therapy, 96(4), 433-442. https://doi.org/10.2522/ptj.20150184

Remer, F., Keilani, M., Kull, P., & Crevenna, R. (2023). Effects of whole-body vibration therapy on pain, functionality, postural stability, and proprioception in patients with subacute and chronic non-specific low back pain: A systematic review. Wien Med Wochenschr, 24, 1-21. https://doi.org/10.1007/s10354-023-01026-4

Barrett, C., Boyce, C., Clements, M., Davis, B., Drohan, R., Flicker, L., Gill, G., Hindmarsh, E., Malay, R., McCroary, K., McNair, R. (2019). Physiology of ageing (5th ed.) Royal Australian College of General Practitioners.

Sun, M., Min, L., Xu, N., Huang, L., & Li, X. (2021). The effect of exercise intervention on reducing the fall risk in older adults: A meta-analysis of randomized controlled trials. International Journal of Environmental Research and Public Health, 18(23), 1-14. https://doi.org/10.3390/ijerph182312562

Tomita, Y., Arima, K., Tsujimoto, R., Kawashiri, S. Y., Nishimura, T., Mizukami, S., Okabe, T., Tanaka, N., Honda, Y., Izutsu, K., Yamamoto, N., Ohmachi, I., Kanagae, M., Abe, Y., & Aoyagi K. (2018). Prevalence of fear of falling and associated factors among Japanese community-dwelling older adults. Medicine (Baltimore), 97(4), 1-4. https://doi.org/10.1097/MD.0000000000009721

Yang, F., King, G. A., Dillon, L., & Su, X. (2015). Controlled whole-body vibration training reduces risk of falls among community-dwelling older adults. J Biomech, 48(12), 3206-3212. https://doi.org/10.1016/j.jbiomech.2015.06.029

Zelei, A., & Zana, R. R. (2019). Introduction of a Complex Reaction Time Tester Instrument. Periodica Polytechnica Mechanical Engineering, 64(1), 20-30. https://doi.org/10.3311/PPme.13807

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-20