แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดโฆสิตาราม อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวเชิงพุทธ, วัดโฆสิตาราม, การพัฒนาการท่องเที่ยวบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดโฆสิตาราม 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดโฆสิตาราม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสมผสาน โดยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามกับนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยววัดโฆสิตาราม จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์และจัดเวทีสนทนากลุ่มกับผู้เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดโฆสิตาราม จำนวน 13 คน โดยเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดโฆสิตารามอยู่ในระดับมาก 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดโฆสิตารามอยู่ในระดับปานกลาง 3) แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดโฆสิตาราม 4 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านสิ่งดึงดูดใจ ควรจัดสถานที่ให้ถ่ายรูป และปรับปรุงภูมิทัศน์ให้นักท่องเที่ยวมานั่งพักผ่อนได้ (2) ด้านการคมนาคมขนส่ง วัดควรร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำป้ายบอกทางและป้ายเตือนในจุดเสี่ยงตามเส้นทางที่เดินทางมายังวัด (3) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ควรปรับปรุงสถานที่ให้ปลอดภัยและอำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุและผู้พิการ (4) ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงพุทธ ควรจัดกิจกรรมในวัดทุกวันสำคัญทางพุทธศาสนา และประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวรับทราบ ข้อเสนอแนะในการพัฒนา ได้แก่ ผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารงานของวัดควรร่วมกันพัฒนาวัดให้มีสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น และหน่วยงานภาครัฐ เอกชนควรขับเคลื่อนบูรณาการร่วมกันในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพุทธให้มีประสิทธิภาพต่อไป
References
กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการศาสนากระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ. 2557. (2557, 30 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 131 ตอนที่ 89 ก. หน้า 31-35.
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2557). แนวทางการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเส้นทางแสวงบุญในมิติทางศาสนา ปี 2557. กรมการศาสนา.
กฤษณา รักษาโฉม, แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม, นัชชา ทากุดเรือ, และปริวุฒิ ภิญโญสินวัฒน. (2560). รูปแบบและกระบวนการสร้างจิตสาธารณะเพื่อการจัดการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาอย่างยั่งยืน. วารสารวิชาการ มรภ.บุรีรัมย์, 9(2), 83-97.
จุฑาภรณ์ หินซุย และ สถาพร มงคลศรีสวัสดิ์. (2557). แนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธ กรณีศึกษาวัดประชาคมวนาราม อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 10(1), 50-58.
นะภาพร ทาระอาธร. (2563). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาในจังหวัดร้อยเอ็ด สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พระมหาณรงค์ วิจิตฺตธมฺโม. (2560). วิเคราะห์การจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมพระธาตุ ๙ จอม ในจังหวัดเชียงราย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น) และ พระมหาเสรีชน นริสฺสโร. (2556). การพัฒนารูปแบบ และกระบวนการจัดการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
พระมหาสุริยา มะสันเทียะ. (2562). ประสิทธิผลของกลยุทธ์การตลาดที่มีผลต่อการส่งเสริมคุณค่าการท่องเที่ยว เชิงพุทธศาสนาพระอารามหลวงในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 10(1), 31-43.
พระมุนินทร์ มุนินฺทโร (กองจันทร์ดี). (2561). การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อารีย์ นัยพินิจ, ฐิรชญา มณีเนตร, ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร, และภัทรพงษ์ เกริกสกุล. (2556). การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของวัดในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(1), 31-32.
Cochran, W.G. (1977). Sampling techniques. John Wiley & Sons.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.