การเปรียบเทียบทักษะดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ณรงค์ฤทธิ์ สุคนธสิงห์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • นลินภัสร์ บำเพ็ญเพียร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

ทักษะดิจิทัล, นักศึกษาระดับปริญญาตรี, องค์ประกอบทักษะดิจิทัล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาระดับทักษะดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี และเพื่อเปรียบเทียบทักษะดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรีโดยรวมกับตัวแปรคุณลักษณะส่วนบุคคล (ตัวแปร เพศ กลุ่มสาขาวิชา ระดับชั้นปี ผลการเรียนเฉลี่ย และระยะเวลาที่ใช้อุปกรณ์ดิจิทัลต่อวัน) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีในประเทศไทย จำนวน 12 แห่ง จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา และเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระกัน ผลวิจัยพบว่าทักษะดิจิทัลโดยรวมของนักศึกษาอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทักษะการเข้าถึง อยู่ในระดับมาก (M=3.99) เป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาได้แก่ ทักษะการเข้าใจ (M=3.89) ทักษะการวิเคราะห์ (M=3.84) ทักษะการใช้ (M=3.79) และทักษะการสร้างสรรค์ (M=3.54) ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบทักษะดิจิทัลกับตัวแปรคุณลักษณะส่วนบุคคล พบว่า นักศึกษาที่มีเพศ ชั้นปี และกลุ่มสาขาวิชาที่แตกต่างกัน มีทักษะดิจิทัลไม่แตกต่างกัน แต่นักศึกษาที่มีผลการเรียนเฉลี่ย และระยะเวลาที่ใช้อุปกรณ์ดิจิทัลต่อวันแตกต่างกัน มีทักษะดิจิทัลที่แตกต่างกัน ผลการศึกษานี้สามารถนําไปใช้เป็นแนวทางพัฒนาทักษะดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถทางด้านทักษะดิจิทัลที่ใช้ในการเรียนและการทำงานได้

References

กาญจนา หฤหรรษพงศ์. (2562). การรู้ดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 5(2), 27-40.

กิตติพงศ์ สมชอบ, วัลลภา อารีรัตน์, ปาริชาต ทุมนันท์, และวรเทพ ฉิมทิม. (2563). การศึกษาองค์ประกอบของการเรียนรู้ดิจิทัลสำหรับบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21 (น.700-708). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ดนัย ฉลาดคิด. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความฉลาดรู้เรื่องดิจิทัลบนอุปกรณ์สมาร์ตโฟนของผู้สูงอายุ ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร.หริภุญชัยปริทรรศน์, 4(1), 91-101.

บงกช เอี่อมทอง. (2561). การพัฒนาตัวชี้วัดทักษะการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครู ในมหาวิทยาลัยแบบไม่จำกัดรับ. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 4(1), 291-302.

พิศุทธิภา เมธีกุล. (2561). โปรแกรมการพัฒนาการรู้เท่าทันดิจิทัลและพฤติกรรมการใช้ดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนของนักศึกษาวิชาชีพครูในศตวรรษที่ 21. [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. http://bsris.swu.ac.th/thesis/55199120021RB8992555f.pdf

สรัญญา จันทร์ชูสกุล, อัจศรา ประเสริฐสิน, และ พินดา วราสุนันท์. (2560). การพัฒนามาตรวัดการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 23(2), 183-198.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติเกี่ยวกับสมรรถนะดิจิทัลสำหรับคุณวุฒิปริญญาตรี. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2560). ทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ผลการสำรวจสถานภาพการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศของประเทศไทย ปี พ.ศ.2562. สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). หลักสูตรการเข้าใจดิจิทัลสำหรับพลเมืองไทย. สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2562, 19 เมษายน). การรู้ดิจิทัล (Digital literacy) คืออะไร. https://www.ops.go.th/th/content_page/item/854-zxfdgsdgs

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2567, 26 พฤษภาคม). นักศึกษารวม ปีการศึกษา 2565 ภาคเรียนที่ 1 ใน สถาบันอุดมศึกษาทั้งหมด. https://info.mhesi.go.th/stat_std_all.php?search_year=2565&download=7267&file_id=202309060900.xlsx

สิริกาญจน์ หัวใจฉ่ำ. (2563). การพัฒนาตัวชี้วัดการรู้ดิจิทัล สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. DSpace at Silpakorn University. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3280

อรัญ ซุยกระเดื่อง. (2561). การวิเคราะห์องค์ประกอบการรู้ดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในกลุ่ม จังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์. วารสารครุศาสตร์, 15(2), 79–90.

American Library Association. (2013, January 31). Digital literacy, Libraries, and Public policy. The American Library Association Institutional Repository. https://alair.ala.org/handle/11213/16261

Bawden, D. (2008). Origin and concepts of digital literacy. In C. Lankshear, & M. Knobel (Eds.), Digital literacies: Concepts, policies, and practices (pp. 1-321). Peter Lang.

Chuenchom, S., Jairak, K., & Kowan, U. (2021). Digital literacy skill development of Chiang Mai Rajabhat University students for improving learning quality. Journal of Information Science Research and Practice, 39(2), 16–33.

Crawley, M. J. (2012). The R book. Wiley.

Eshet, Y. (2004). Digital literacy: A conceptual framework for survival skills in the digital era. Journal of Educational Multimedia and Hypermedia, 13(1), 93–106.

Eshet, Y. (2012). Thinking in the digital era: A revised model for digital literacy. Issues in Informing Science and Information Technology, 9, 267–276.

Floriano Rodriguez, R., Horna, R., Placido, J., & Barbuda, J. (2024). Influence of digital skills on the academic performance of university students: A socioeconomic approach. Revista de Gestão Social e Ambiental, 18(2), 1-14.

Janyam, K. (2022). Essential skills for youth in the workforce of the 21st century: A case study of southern Thailand. Journal of Yala Rajabhat University, 17(3), 127–137.

Kelzang, U., & Lhendup, T. (2021). Relationship between facebook usage and academic performance of college students under the Royal University of Bhutan. Journal of Education Society and Behavioural Science, 34, 29–38.

May, H. A. (1997). How multinational and national firms compete: A case study of the hospitality industry. Advanced printing. The Free Press.

Martin, A., & Grudziecki, J. (2006). DigEuLit: Concepts and tools for digital literacy development. Innovation in Teaching and Learning in Information and Computer Sciences, 5(4), 249–267.

Ng, W. (2012). Can we teach digital natives digital literacy?. Computers & Education, 59(3), 1065–1078.

Phornprasert, W., & Suttipong, R. (2019). Digital citizenship of undergraduate students in higher education institutions. Journal of Education Thaksin University, 19(2), 104–117.

Techataweewan, W., & Prasertsin, U. (2017). Digital literacy assessment of the undergraduate students of the universities in Bangkok and its vicinity. Journal of Information Science Research and Practice, 34(4), 1–28.

Van Deursen, A. & van Dijk, J. (2009). Improving digital skills for the use of online public information and services. Government Information Quarterly, 26(2), 333–340.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-16