แนวทางการดำเนินธุรกิจร้านอาหารริมทางจากผลกระทบสถานการณ์ ระบาดของโรคโควิด-19 ในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การดำเนินธุรกิจ, ร้านอาหารริมทาง, โรคโควิด-19บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหาแนวทางการดำเนินธุรกิจร้านอาหารริมทางจากผลกระทบสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 ในกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณเพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดธุรกิจบริการที่มีอิทธิพลกับการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารริมทางในสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 ในกรุงเทพมหานคร และการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินธุรกิจร้านอาหารริมทางจากผลกระทบสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 ในกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ปัจจัยทุกด้านในส่วนประสมทางการตลาดธุรกิจบริการ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารริมทางในสถานการณ์ระบาดของโรค โควิด-19 ในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value < 0.05) โดยมีลำดับอิทธิพลจากมากไปน้อยคือ ผลิตภัณฑ์ ราคา บุคคลหรือพนักงาน ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด การนำเสนอทางกายภาพ และกระบวนการ ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ควรให้ความสำคัญในด้านการดูแลสุขภาพและสุขอนามัย สร้างเมนูอาหารเพื่อสุขภาพที่มีความแปลกใหม่ มีรสชาติอร่อย สะอาด ถูกสุขลักษณะและมีคุณค่าทางโภชนาการ มีบริการส่งอาหารแบบจัดส่งถึงที่ และนำเทคโนโลยี Mobile self order เข้ามาช่วยในการปฏิบัติการของร้านอาหาร ประชาสัมพันธ์ร้านผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และใช้การรีวิวจาก Blogger หรือ Influencer เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้มากขึ้น
References
จันทร์จิรา ฉัตราวานิช และ ประสพชัย พสุนนท์. (2563). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้ออาหารริมบาทวิถีของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 7(2), 93-108.
เจริญชัย เอกมาไพศาล และ ณัฐสการณ์ ดีกาสโตร. (2561). การวิเคราะห์องค์ประกอบของทัศนคติการบริโภคอาหารริมทางของผู้บริโภคชาวไทย กรณีศึกษาร้านอาหารริมทางย่านเกาะโดยรอบวงเวียนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 13(45), 56-67.
เจริญชัย เอกมาไพศาล, สิริพร เขตเจนการ, และ สุพัฒนา เตโชชลาลัย. (2563). การศึกษาการบริโภคอาหารริมทางในกรุงเทพมหานครและผลกระทบต่อทัศนคติและความตั้งใจแสดงพฤติกรรมของผู้บริโภค. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 42(1), 21-42.
ชนิภา ช่วยระดม. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการสั่งซื้ออาหารผ่าน Food panda applications ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 1(2), 43-55.
ชัยนันต์ ไชยเสน. (2563). อาหารริมทางภูเก็ต: รูปแบบอาหารริมทางและวิถีสร้างสรรค์เสน่ห์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงอาหารของจังหวัดภูเก็ต. WMS Journal of Management, 9(2), 120-127.
ณัฐศาสตร์ ปัญญานะ และ วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการอาหารตามสั่งแบบจัดส่ง. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 11(1), 53-66.
ธนพร มหัธธัญญวาณิชย์, เจษฎา วงศ์แสนสุขเจริญ, และ สมบูรณ์ สาระพัด. (2561). ส่วนประสมการตลาดบริการ และการรับรู้คุณค่าที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการร้านอาหารเพื่อสุขภาพ จังหวัดชลบุรี. วารสารการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 8(1), 69-82.
นพรัตน์ บุญเพียรผล. (2560). อาหารริมทาง: เสน่ห์เมืองไทย เปิดประสบการณ์ใหม่ในเอเชีย. Veridian E-Journal, 10(1), 47-60.
นภวรรณ คนานุรักษ์. (2563). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรีนแอปเปิ้ล กราฟฟิค พริ้นติ้ง.
นฤวร ว่องวิทย์เดชา และ ชมพูนุช จิตติถาวร. (2560). การศึกษาอิทธิพลของส่วนผสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคในช่วงเจเนอเรชั่นเอ็กซ์และวาย: การศึกษาการเปรียบเทียบระหว่างร้านอาหารคาเฟ่และร้านอาหารทั่วไปในย่านทองหล่อ. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(3), 96-109.
พงษ์พัฒน์ รุนลา และ ผกามาศ ชัยรัตน์. (2563). ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารริมทางที่ตลาดนัดรถไฟรัชดา. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(3), 355-368.
พิชชานันท์ ช่องรักษ์ และ เจริญชัย เอกมาไพศาล, (2561). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของภาพลักษณ์อาหารริมทางทัศนคติต่อจุดหมายปลายทาง การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงและความตั้งใจกลับมาจุดหมายปลายทางซ้ำของนักท่องเที่ยว กรณีศึกษาย่านเยาวราช. วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ, 9(17), 1-20.
พนิตสุภา ธรรมประมวล. (2563). การตลาดบริการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด.
วัลลภา โพธาสินธ์, เสาวนีย์ ลาดน้อย, สราวุธ เนียนวิฑูรย์, และ อบเชย วงศ์ทอง. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารริมบาทวิถีของคนกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 38(5), 34-44.
สถาบันอาหาร ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร. (2563, 21 ตุลาคม). อาหารริมทาง (Street food) ในประเทศไทย. http://fic.nfi.or.th
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). COVID-19 กับผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทย. Tourism Economic Review, 1(4), 6-29.
เหมือนจิต จิตสุนทรชัยกุล. (2561). พฤติกรรมผู้บริโภคกับธุรกิจค้าปลีก. ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Amofah, O., Gyamfi, I., & Tutu, C. O. (2016). The influence of service marketing mix on customer choice of repeat purchase of restaurant in Kumasi, Ghana. European Journal of Business and Management, 8(11), 102-112.
Khan, E. A. (2017). An investigation of marketing capabilities of informal microenterprises: A study of street food vending in Thailand. International Journal of Sociology and Social Policy, 37(3/4), 186–202.
Mohd Shariff, F., Ahmad Sapawi, D., & Wee, H. (2016). Malaysian local functional food attributes and customer satisfaction. Journal of Tourism, Hospitality & Culinary Arts (JTHCA), 8(2), 45-54.
Sudari, S.A., Tarofder, A.K., Khatibi, A., & Tham, J. (2019). Measuring the critical effect of marketing mix on customer loyalty through customer satisfaction in food and beverage products. Management Science Letters, 9, 1385–1396.
World Health Organization Thailand. (2020, October 21). What is Covid-19. https://www.who.int
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.