นวัตกรรมการบัญชีเพื่อการจัดการเชิงกลยุทธ์ : การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

ผู้แต่ง

  • พิมพาภรณ์ พึ่งบุญพานิชย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • นภา นาคแย้ม อาจารย์ประจำ คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

นวัตกรรมการบัญชี, การบัญชีเพื่อการจัดการเชิงกลยุทธ์, การบัญชีต้นทุนเชิงกลยุทธ์

บทคัดย่อ

        การบัญชีมีบทบาทสำคัญในการดำเนินธุรกิจและการจัดการองค์กรในยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงและความท้าทาย การพัฒนานวัตกรรมในด้านการบัญชีมีบทบาทสำคัญเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและการจัดการเชิงกลยุทธ์ในองค์กร บทความวิจัยนี้ได้ทำการทบทวนวรรณกรรมเพื่อค้นหากรอบแนวคิดเกี่ยวกับ Strategic costing, Activity-based costing, Target costing, Life cycle costing, Quality costing, Strategic management accounting, Strategic accounting information system เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาใช้เป็นแนวปฏิบัติ Businesses Practice Guideline ซึ่งจะได้นวัตกรรมจากการบัญชีเพื่อการจัดการเชิงกลยุทธ์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสังเคราะห์วรรณกรรมเกี่ยวกับนวัตกรรมการบัญชีเพื่อการจัดการเชิงกลยุทธ์โดยนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติ (Businesses practice guideline) วิธีดำเนินการวิจัยใช้กระบวนการศึกษาและวิเคราะห์วรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic review) ตามรูปแบบของการวิเคราะห์เอกสาร (Holly, Salmond & Saimbert, 2021) โดยใช้การกำหนดกรอบในการสืบค้น (PICO Framework) ตลอดจนเกณฑ์การคัดเลือกเอกสารมาใช้ในการวิจัยใช้เกณฑ์ของ Scott (1990) ประกอบด้วย 1) ความจริง (Authenticity) 2) ความถูกต้องน่าเชื่อถือ (Credibility) 3) การเป็นตัวแทน (Representativeness) และ 4) ความหมาย (Meaning)

        ผลการวิเคราะห์บทความวิจัยทั้งหมดมี 24 ชื่อเรื่อง แสดงให้เห็นว่าเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจากหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence based) ระหว่างปี 2555-2565 จากฐานข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือจึงเป็นวิธีการหนึ่งของการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ สรุปผลการวิจัยหลังจากสังเคราะห์แล้วได้ผลสรุปว่า การบัญชีเพื่อการจัดการเชิงกลยุทธ์ (SMA) ส่งผลต่อผลการดำเนินงานทั้งที่เป็นตัวเงินและที่ไม่เป็นตัวเงิน ความสำเร็จของธุรกิจและการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ นอกจากนี้ประเภทของกลยุทธ์ยังส่งผลต่อการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ การบัญชีเพื่อการจัดการเชิงกลยุทธ์ และการประยุกต์ใช้กลยุทธ์ ทั้งหมดเป็นองค์ความรู้ใหม่สามารถนำไปพัฒนาใช้ต่อยอดในการทำวิจัยครั้งต่อไป และเป็นแนวปฏิบัติทางธุรกิจที่สำคัญสำหรับองค์กรธุรกิจ

References

ขวัญชนก ห่านนิมิตกุลชัย. (2564). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของแนวปฏิบัติทางบัญชีบริหารเชิงกลยุทธ์ การพัฒนาทุนทางปัญญาและความสำเร็จของกิจการ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 41(2) , 148-169.

จินตนา สิงจานุสงค์. (2559). ผลกระทบของระบบสารสนเทศทางการบัญชีเชิงกลยุทธ์ที่มีต่อความสำเร็จขององค์กรของธุรกิจเครื่องดื่มในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม). สืบค้นจาก http://tdc.thailis.or.th/tdc

ณัชชารีย์ กุลพิชัยจิราวุฒิ, สุภัทรษร ทวีจันทร์, สหัสา พลนิล และปิยฉัตร ทองแพง. (2561). การประยุกต์ใช้ข้อมูลสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสังกัดสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎ. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์, 2(2), 60-70.

ณัฐนันท์ ฐิติยาปราโมทย์. (2561). นวัตกรรมการบัญชีบริหารและความสำเร็จของธุรกิจ ISO 9001 ในประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 11(2), 161-170.

ไตรรงค์ สวัสดิกุล และ นภาภรณ์ พลนิกรกิจ. (2562). ผลกระทบของเทคนิคการบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์ต่อผลการดำเนินงานของกิจการ. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 13(19), 43-58.

ปทิดา ลิ้มชัยเจริญ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้การบัญชีการจัดการเชิงกลยุทธ์สำหรับความสำเร็จขององค์กร การตรวจสอบเชิงประจักษ์บริษัทผลิตอาหารและเครื่องดื่มในประเทศไทย. วารสาร RMUTT Global Business and Economics Review, 12(1), 61-74.

ปภาพิต ศรีสว่างวงศ์, สุธนา บุญเหลือ และศรัญญา รักสงฆ์. (2561). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพข้อมูลทางการบัญชีเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(1), 170-184.

ปาลวี พิกูลสาคร, ณัฐวงศ์ พูนพล และ สุวรรณ หวังเจริญเดช. (2565). การใช้ข้อมูลบัญชีบริหารเพื่อความยั่งยืนขององค์กร: การวิจัยเชิงประจักษ์ของธุรกิจไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(1), 73-88.

ปิยนุช ปรากฏดี, สุธนา บุญลัว และ เกศินี เมืองไธสงค์. (2561). การมุ่งเน้นกระบวนการปฏิบัติงานทางบัญชีและความสำเร็จทางการบัญชี: งานวิจัยเชิงประจักษ์ของอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(2), 89-103.

พัณณ์ภรณ์ พลพิทักษ์ และ สมบูรณ์ สารพัด. (2566). ผลกระทบของการบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์ และการมีส่วนร่วมที่มีผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 5(2), 177-190.

ศิริเพชร สุนทรวิภาต. (2562). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อการบัญชีการจัดการเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารด้านบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในการขับเคลื่อนผลการดำเนินงาน. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 5(1), 83-106.

สุทธิดา เรียบร้อย, กุลชญา แว่นแก้ว, ศฐา วรุณกูล และ ดลยา ไชยวงศ์. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะทางการบัญชีบริหารที่มีผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของกลุ่มอุตสาหกรรม New S-Curve โดยมีการบัญชีบริหารเชิงกลยุทธ์เป็นตัวแปรส่งผ่าน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 12(3), 104-124.

สุวรรณ หวังเจริญเดช. (2558). หลักการบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์ที่เหนือกว่าย่อมส่งผลสำเร็จต่อองค์กรธุรกิจชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 9(20), 9-23.

อนุชา ถาพะยอม. (2564). ผลกระทบของแนวปฏิบัติทางการบัญชีบริหารสมัยใหม่ต่อความสำเร็จของธุรกิจ: หลักฐานจากนิคมอุตสาหกรรมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 19(2), 82-104.

อภิชาต ลิ้มเมธี และ สรียา วิจิตรเสถียร. (2564). การปรับตัวเชิงกลยุทธ์และการปรับใช้บัญชีเพื่อการจัดการเชิงกลยุทธ์ในสถานการณ์โควิด-19 กรณีศึกษา ธุรกิจท่องเที่ยวประเภทที่พัก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(12), 61-72.

Alsoboa, S., Al-Ghazzawi & Joudeh A. (2015). The impact of strategic costing techniques on the performance of jordanian listed manufacturing companies. Research Journal of Finance and Accounting, 6(10), 116-127.

Azeez, K.A., Kadhim, H.K., & Kadhim, A. A. H. (2020). The role of integration between enterprise resource planning and attribute-based costing for supporting economic cost management in tourism companies. African Journal of Hospitality, Tourism and Leisure, 9(2), 1-10.

Baharudin, N., & Jusoh, R. (2019). Implementation of target cost management in a non-Japanese environment. Qualitative Research in Accounting and Management, 16(1), 35-59.

Holly, C., Salmond, S., & Saimbert, M. (2021). Comprehensive systematic review for advanced practice nursing. New York: Springer Publishing Company.

Knauer, T., & Moslang, K. (2018). The adoption and benefits of life cycle costing. Journal of Accounting and Organizational Change, 14(2), 188-215.

Mashayekhi, B., & Ara, M. (2017). Activity-based costing in the hospitality industry: A case study in a hotel. Engineering and Technology International Journal of Social and Business Sciences, 11(9), 2254-2258.

Oyewo, B. (2021). Do innovation attributes really drive the diffusion of management accounting innovations: Examination of factors determining usage intensity of strategic management accounting. Journal of Applied Accounting Research, 22(3), 507-538.

Paksoy, O. M., & Yilmaz, B. (2021). Implementation of activity-based costing method in accommodation companies: A case study in a 5-star hotel. Journal of Social Sciences, 18(3), 2090-2113.

Phan, T. N., Baird, K., & Blair, B. (2014). The use and success of activity-based management practices at different organizational life cycle stages. International Journal of Production Research, 52(3), 787-803.

Rankin, R. (2020). The predictive impact of contextual factors on activity-based costing adoption. Journal of Accounting and Finance, 20(1), 66-81.

Scott, J. (1990). A matter of record: Documentary sources in social research. Cambridge: Polity Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-04