ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดของผู้ต้องขังหญิง วัยหมดประจำเดือนในเรือนจำและทัณฑสถานหญิงภาคใต้

ผู้แต่ง

  • พรลัดดา โชติศิริ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • อุมาพร ปุญญโสพรรณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • เรวดี เพชรศิราสัณห์

คำสำคัญ:

วัยหมดประจำเดือน, ผู้ต้องขังหญิง, พฤติกรรมการป้องกันโรค, โรคหัวใจและหลอดเลือด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนาย (Predictive correlational research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดของผู้ต้องขังหญิงวัยหมดประจำเดือนในเรือนจำและทัณฑสถานหญิงภาคใต้ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดของผู้ต้องขังหญิงวัยหมดประจำเดือนในเรือนจำและทัณฑสถานหญิงภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ต้องขังหญิงวัยหมดประจำเดือนในเรือนจำและทัณฑสถานภาคใต้ 4 แห่ง จำนวน 161 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 2 ส่วนคือ 1) เครื่องมือคัดกรอง Cardiovascular disease (CVD) risk คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Thai CVD risk 2) เครื่องมือรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 8 ส่วน ได้แก่ (1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป (2) แบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด (3) แบบประเมินความเครียด 5 Stress test ของกรมสุขภาพจิต (4) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด (5) แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของโรคหัวใจและหลอดเลือด (6) แบบสอบถามการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (7) แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด และ (8) แบบสอบถามการรับรู้ความคาดหวังในประสิทธิผลเมื่อปฏิบัติพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติอ้างอิง และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับพฤติกรรมการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.61, S.D.=.016) โดยมีคะแนนเฉลี่ยด้านการรับประทานอาหารอยู่ในระดับปานกลาง ( = 24.51, S.D. = 2.68) คะแนนเฉลี่ยด้านการจัดการความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง ( = 21.14, S.D. = 2.14) คะแนนเฉลี่ยด้านการออกกำลังกาย อยู่ในระดับปานกลาง ( = 19.89, S.D. = 2.51) ปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ คือ ความเครียด (  = 0.675, p < .01) โดยอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 51.20 (Adjusted R2 = .512, p < .01) ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการนำความเครียดมาสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตบริบทของผู้ต้องขังที่ถูกควบคุมภายในเรือนจำและทัณฑสถานหญิงภาคใต้ต่อไป

References

กฤตยา อาชวนิจกุล และ กุลภา วจนสาระ. (2560). การขับเคลื่อนคุกไทยสู่เรือนจำสุขภาวะ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2560). คู่มือคลายเครียด. นนทบุรี: โรงพิมพ์กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

กองบริการทางการแพทย์ กรมราชทัณฑ์. (2565). สถิติจำนวนผู้ต้องขัง. สืบค้นจาก http://www.correct.go.th/rt103pdf/report_index.php

เกวลี เครือจักร, กิตติ ศศิวิมลลักษณ์ และวิโรจน์ มงคลเทพ. (2564). ความเครียดและพฤติกรรมการปรับตัวของประชากรวัยทอง ตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(1), 1-10.

ฉัตรกมล ประจวบลาภ และ ดวงกมล วัตราดุลย์. (2563). ปัจจัยทํานายพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองในหญิงวัยหมดประจําเดือน. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 31(1), 21-45.

ฉัตรทอง จารุพิสิฐไพบูลย์, ณัฏฐินีภรณ์ จันทรโณทัย, วรรณา ธนานุภาพไพศาล และจงกลนี ตุ้ยเจริญ. (2555). พฤติกรรมสุขภาพของสตรีวัยทองในเขต อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการพยาบาลสาธารณสุข, 22(3), 39-50.

ณรงค์กร ชัยวงศ์ และ ปัณณทัต บนบุนทด. (2562). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคในบุคคลที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(2), 6-15.

นัสรา เกตจินดา, สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ และสมสมัย รัตนกรีฑากุล. (2561). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคเรื้อรังของคนวัยกลางคน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 4(26), 30-39.

ปกรณ์ มณีปกรณ์. (2553). อาชญาวิทยา. กรุงเทพฯ: หจก.เวิลด์เทรด ประเทศไทย.

ปิยะวดี ทองโปร่ง, กีรดา ไกรนุวัตร และดวงใจ รัตนธัญญา. (2559). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการออกกำลังกายของพนักงานโรงไฟฟ้าที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์. วารสารพยาบาลศาสตร์, 34(1), 77-87.

พานทิพย์ แสงประเสริฐ และจารุวรรณ วิโรจน์. (2558). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ในชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบทแห่งหนึ่งในเขตปริมณฑลกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 23(1), 113-126.

พิทยา ธรรมวงศา และวงศา เล้าหศิริวงศ์ .(2561). สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ, 34(3). 119-132.

มินตรา สาระรักษ์, ปัณฑิตา สุขุมาลย์ และ กาญจนา ชัยวรรณ. (2555). ทัศนคติและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของสตรีวัยหมดระดู: กรณีศึกษาหมู่บ้านก่อตำบลหนองไฮ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารมนุษย์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 3(2), 10-22.

เมธิกานต์ ทิมูลนีย์ และ สุนิดา ปรีชาวงษ์. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในพนักงานทำความสะอาดวัยก่อนหมดประจำเดือน. วารสารเกื้อการุณย์, 23(1), 118-132.

ไวริญจน์ เปรมสุข, รัตน์ศิริ ทาโต และ ระพิณ ผลสุข. (2562). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของชายวัยกลางคนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารเกื้อการุณย์, 26(1), 24-39.

วนัสสุดา ฟุ้งลัดดา. (2553). การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด และความตั้งใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคลากรในโรงพยาบาลเอกชนกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(1), 167-184.

สุพัตรา บัวที, จิระภา ศิริวัฒนเมธานนท์ และ ศิริอร สินธุ. (2555). พฤติกรรมการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดของสตรีวัยกลางคนที่อาศัยอยู่ที่บ้านลาดสระบัว อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารพยาบาลศาสตร์, 30(3), 259-269.

สำนักทัณฑวิทยา กรมราชทัณฑ์. (2565). สถิติผู้ต้องขัง. สืบค้นจาก https://bp.correct.go.th/document/systemthai.pdf

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2552). พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: บริษัทวิกิ จำกัด.

อัจฉริยา นคะจัด. (2554). ผลของโปรแกรมพัฒนา ความมั่นคงทางจิตใจของผู้ต้องขังเรือนจำกลางขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

อารีส พลอยทรัพย์, วันเพ็ญ แก้วปาน, ปาหนัน พิชญภิญโญ และ จุฑาธิป ศีลบุตร. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 12(2), 49-57.

Didarloo, A., Shojaeizadeh, D., ASL, R. G., Habibzadeh, H., Niknami, S., & Pourali, R. (2012). Prediction of self-management behavior among Iranian women with type 2 diabetes: Application of the theory of reasoned action along with self- efficacy (ETRA). Iranian Red Crescent Medical Journal, 14(2), 86-95.

Jackson Chang-Zai Li, Feng-Lan Yang & Xiao-Li Zhang. (2018). Effects of a nurse-led transitional care programme on readmission, self-efficacy to implement health-promoting behaviours, functional status and life quality among Chinese patients with coronar artery disease: A randomised controlled trial. Journal of Clinical Nursing, 27(5), 969-979.

Norman, P., Boer, H., & Seydel, E.R. (2005). Protection motivation theory. Retrieved from http://doc.untwente.nl/53445/

Peltzer Karl, & Pengpid Supa. (2018). Prevalence and determinants of traditional, Complementary and alternative medicine provider use among adults from 32 Countries. Chinese Journal of Integrative Medicine, 24(27), 584-590.

Pursley, M. B. (1991). Incremental-redundancy transmission for meteor-burst communications. IEEE Transactions on Communications, 39(5), 689-702.

Roger, W. (1983). Cognitive and physiological processes motivation social psychology. Boston : Cacioppo.

World Health Organization. (2021). Cardiovascular diseases (CVDs). Retrieved from http://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/cardiovascular-diseases-(cvds)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-03