ผลของโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะทางใจต่อความสามารถการรู้คิด สุขภาพจิตและปัญหาพฤติกรรมและอาการทางจิตผู้สูงอายุที่สงสัยภาวะสมองเสื่อม
คำสำคัญ:
ความสามารถการรู้คิด, สุขภาพจิต, ปัญหาพฤติกรรมและอาการทางจิต, ภาวะสมองเสื่อม, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อน-หลัง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะทางใจต่อความสามารถการรู้คิด สุขภาพจิตและปัญหาพฤติกรรมและอาการทางจิตผู้สูงอายุที่สงสัยภาวะสมองเสื่อม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนในเขตความรับผิดชอบของโรงพยาบาลนครชัยศรี ที่ได้รับการคัดกรองด้วยแบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย TMSE น้อยกว่า 24 คะแนน กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 คน กลุ่มตัวอย่างได้เข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะทางใจทั้งหมด 6 ครั้งติดต่อกัน 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย (TMSE) สำหรับใช้ประเมินการรู้คิด แบบประเมินสุขภาพจิตผู้สูงอายุฉบับสั้น (T-GMHA-15) เพื่อใช้ประเมินสุขภาพจิต และแบบประเมินอาการทางระบบประสาทและอาการทางจิตของภาวะสมองเสื่อมฉบับภาษาไทย (NPI-Q) เพื่อใช้ประเมินอาการทางระบบประสาทและอาการทางจิตของภาวะสมองเสื่อม วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และใช้สถิติทีแบบไม่เป็นอิสระ (Paired t-test)
ผลการวิจัย พบว่าคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านการรู้คิด (= 26.53, S.D.=2.79) และสุขภาพจิต (= 46.50, S.D.=4.78) ของผู้สูงอายุที่สงสัยภาวะสมองเสื่อมหลังได้รับโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะทางใจ สูงขึ้นกว่าก่อนทดลอง (= 23.73, S.D.=5.69; (=44.07, S.D.=5.38) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) นอกจากนั้น คะแนนเฉลี่ยอาการทางระบบประสาทและอาการทางจิตของภาวะสมองเสื่อม ( =0.07, S.D.=0.25) ของผู้สูงอายุหลังได้รับโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะทางใจลดลงกว่าก่อนทดลอง (= 0.40, S.D.=0.81) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) ดังนั้น พยาบาลจึงควรนำโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะทางใจไปใช้เพื่อเพิ่มความสามารถด้านการรู้คิด เสริมสร้างสุขภาพจิต และลดอาการทางระบบประสาทและอาการทางจิตของภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
References
จิตติมา ดวงแก้ว, วาสนา หลวงพิทักษ์, ทิวา มหาพรหม, ชุติกาญจน์ ฉัตรรุ่ง และ สุภาวดี นพรุจจินดา. (2561). การกระตุ้นการรู้คิดสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย : บทความฟื้นฟูวิชาการ. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, 15(1), 62-83.
ชัชญาภา สมศรี และ พิกุลทอง โมคมูล. (2561). ผลของกิจกรรมสร้างสุข 5 มิติ ต่อความสุขของผู้สูงอายุในคลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลนครพนม. วารสารโรงพยาบาลนครพนม, 3(2) 3-14.
ชัชวาล วงค์สาลี และ ศุภลักษณ์ พื้นทอง. (2561). ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ : การพยาบาลและการดูแล ญาติผู้ดูแล. วารสารมฉก. วิชาการ, 22, 166-179.
ดุษฎี อุดมอิทธิพงศ์, พิชญา ชาญนคร, ธิติมา ณรงค์ศักดิ์ และ นภาพิศ ฉิมนาคบุญ. (2564). การกระตุ้นการรู้คิดสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย : บทความฟื้นฟูวิชาการ. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, 15, 62 -83.
ต่อศักดิ์ กาญจนทรัพย์สิน. (2561). รูปแบบกิจกรรมความสุข 5 มิติของกรมสุขภาพจิตที่มีผลต่อสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตำบลโพธิ์ชัย อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม (รายงานผลการวิจัย). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ประวีณา ศรีบุตรดี. (2566). การพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมการทำกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุสมองเสื่อมด้วยโปรแกรม Reducing Disability in Alzheimer (RDAD): กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อม, 8(2), 330-338.
พัชรี ถุงแก้ว. (2561). ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยรูปแบบความสุขเชิงจิตวิทยา 5 มิติเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและความสุขของผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 13(39), 41-54.
ไพจิตร พุทธรอด และ กนกวรรณ ศิลปกรรมพิเศษ. (2564). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้า. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 15(1), 70-82.
ภรัญวิทย์ อนันต์ดิลกกฤต. (2564). ภาวะสมองเสื่อม. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 15(37), 392-398.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลและมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สืบค้นจาก https://thaitgri.org/?p=40101
วิไล คุปต์นิรัติศัยกุล. (2561). ความสำคัญของการฟื้นฟูสภาพ. ใน วิไล คุปต์นิรัติศัยกุล (บ.ก.). การฟื้นฟูผู้สูงอายุในปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย (น. 349-371). กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2564). ประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2564. สืบค้นจาก https://ipsr.mahidol.ac.th/
สาวิตรี จีระยา, ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์, ดวงใจ วัฒนสินธุ์ และ เวทิส ประทุมศรี. (2561). ผลของโปรแกรม กระตุ้นการรู้คิดต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้านความจำในผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 26(2), 30-39.
สุนทรี โอรัตนสถาพร, ฉัตรวรุณ จำปาวัน, สุพัตรา เคนไชยวงค์ และ รัชฎาภรณ์ อึ้งเจริญ. (2564). ผลของ โปรแกรมการสร้างเสริมการรู้คิดในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย. วารสารชุมชนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 29(3),189-200.
สุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค และ อาทิตยา สุวรรณ์. (2559). ผลของโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิดต่อความสามารถในการรู้คิดและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันในผู้สูงอายุที่เสี่ยงหรือมีภาวะสมองเสื่อม. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 9(2), 145-158.
สำนักส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. (2560). คู่มือวิทยากรจัดกิจกรรมสร้างสุข 5 มิติสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2565). รายงานประจำปี พ.ศ.2565. สืบค้นจาก https://eh.anamai.moph.go.th/th/
อาทิตยา สุวรรณ์ และ สุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค. (2563). โครงการวิจัยผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรู้คิดโดยใช้ดนตรีบำบัดต่อความสามารถด้านการรู้คิดปัญหาพฤติกรรม อารมณ์ และจิตใจของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยรังสิต.
ไอรดา สายปัญญา. (2565). ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมและภาวะความสามารถของสมองบกพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุตำบลนามะเฟือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 30(3),376-386.
Cusack, S. A., & Thompson, W. J. (1995). Mental fitness a critical component of healthy aging (Research Report). Retrieved from https://summit.sfu.ca/_flysystemfedora/sfu_migrate/533/GRC_058.pdf
Hessler J. B., Schaufele M., Hendlmeier I., Junge M.N., Leonhardt S., Weber J., & Bickel H. (2018). Behavioral and psychological symptoms in general hospital patients with dementia, distress for nursing staff and complications in care: Results of the general hospital study. Epidemiology and Psychiatric Sciences, 27(3), 278-287.
Polit D.F., & Beck T.B. (2004). Nursing research: Principles and methods. (7th ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.
Sherman DS, Mauser J, Nuno M, & Sherzai D. (2017). The efficacy of cognitive intervention in mild cognitive impairment (MCI): A meta-analysis of outcomes on neuropsychological. Neuropsychol Rev, 27(4), 440-484. doi: 10.1007/s11065-017-9363-3.
Veragiat, S., Pensuksan, W. C., Suvanchot, K. S., Yooyen, C., Chetkhunthod, P., & Sarsanas, P. (2017). Prevalence of dementia and neuropsychiatric symptoms among elderly patients attending outpatient departments of psychiatric hospital in southern Thailand. Walailak Journal Science and Technology, 14(1), 43-49.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.