ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติการเข้าร่วมระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ จังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • สุมลมาลย์ เมืองแก้ว พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
  • สุปราณี แตงวงษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • กีรติ กีรติพงศ์พันธุ์ นายแพทย์ชำนาญการ กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
  • จิตติมา จิระชีวี นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสมุทรสาคร

คำสำคัญ:

อาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์, ความรู้, เจตคติ, การปฏิบัติการเข้าร่วมระบบการแพทย์ฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ และเจตคติของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์กับการปฏิบัติการเข้าร่วมระบบการแพทย์ฉุกเฉิน และหาอำนาจทำนายระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ และเจตคติของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ต่อการปฏิบัติการเข้าร่วมระบบการแพทย์ฉุกเฉินของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ จังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์จำนวน 130 คน ที่ขึ้นทะเบียนและปฏิบัติงานในจังหวัดสมุทรสาคร โดยคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G* Power เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพหลัก ความเพียงพอของรายได้ ระยะเวลาการเข้าร่วมระบบการแพทย์ฉุกเฉิน แบบวัดความรู้ แบบวัดเจตคติต่อการปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ และแบบสอบถามการปฏิบัติการเข้าร่วมระบบการแพทย์ฉุกเฉินของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

        ผลการวิจัยพบว่าความรู้เกี่ยวกับระบบการแพทย์ฉุกเฉินของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ จังหวัดสมุทรสาครอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 76.50 มีคะแนนค่าเฉลี่ย 15.86 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน ส่วนเจตคติต่อการปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 86.20 มีคะแนนค่าเฉลี่ย 66.96 จากคะแนนเต็ม 75 คะแนน ด้านการปฏิบัติการเข้าร่วมระบบการแพทย์ฉุกเฉินอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 76.90 มีคะแนนค่าเฉลี่ย 109.95 จากคะแนนเต็ม 125 คะแนน เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส การประกอบอาชีพหลัก ความเพียงพอของรายได้ ระยะเวลาการเข้าร่วมระบบการแพทย์ฉุกเฉิน และความรู้ ไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการเข้าร่วมระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ส่วนเจตคติมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับการปฏิบัติการเข้าร่วมระบบการแพทย์ฉุกเฉิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  (r = .734) เมื่อวิเคราะห์หาอำนาจการทำนายของการปฏิบัติการเข้าร่วมระบบการแพทย์ฉุกเฉิน พบว่าเจตคติของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ สามารถร่วมทำนายการปฏิบัติการเข้าร่วมระบบการแพทย์ฉุกเฉินของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์จังหวัดสมุทรสาคร ได้ร้อยละ 53.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการวิจัยสามารถนำไปเป็นแนวทางในการจัดบริการด้านการแพทย์ฉุกเฉินให้มีประสิทธิภาพ เข้าถึงประชาชนอย่างครอบคลุม และช่วยลดอัตราการเสียชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาลจากภาวะฉุกเฉินได้

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2565). สถิติสาธารณสุข. สืบค้นจาก http://dmsic.moph.go.th

จักริน เชาวนิรนาท และอนงค์ หาญสกุล. (2554). ความรู้ของผู้ปฏิบัติงานต่อระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในอำเภอเก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารคณะพลศึกษา, 14(พิเศษ), 197-208.

นิลวรรณ ทรัพย์พรรณราย. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติการฉุกเฉินของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ จังหวัดราชบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5, 36(3), 118-128.

นันธินีย์ วังนันท์, วสันต์ชาย สุรมาตย์ และนัยนา สุแพง. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในชุมชนเมือง. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 9(2), 55-63.

ผดุงศิษฎ์ ชำนาญบริรักษ์ และศิวพล ศรีแก้ว. (2557). การพัฒนาความรู้และทักษะการบริการการแพทย์ฉุกเฉินของอาสาสมัครกู้ชีพ องค์การบริหารส่วนตำบลวังแส อำเภอแกคำ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 24(3), 132-142.

ลลิตา พรหมปั้น. (2564). การศึกษา ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติงานของนักกายภาพบําบัดไทยในงานสร้างเสริมสุขภาพ. เวชสารแพทย์ทหารบก, 74(3), 185-195.

วัชรินทร์ ปะนันโต, พรเพ็ญ ก๋ำนารายณ์ และพลวัฒน์ ติ่งเพ็ชร. (2564). ความรู้ เจตคติและพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ของนักศึกษากลุ่มสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 8(2), 173-186.

วาสนา ตรีเนตร. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการบริหาร จัดการภาครัฐ (PMQA) ของบุคลากรสาธารณสุขในเขตสุขภาพที่ 6. สืบค้นจาก http://do6.new.hss.moph.go.th:8080/fileupload_doc/2020-11-24-1-20-3920178.pdf

ศุภามน จันทร์สกุล. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อวิชาชีพการพยาบาล ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจกับความตั้งใจในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 19(37), 119-134.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2562). คู่มือแนวทางการบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินระดับจังหวัด. นนทบุรี: บริษัท ปัญญมิตร การพิมพ์.

อมรรัตน์ ศรีจันทร์ และฟาริดา คงจุน. (2557). พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อของผู้ปฏิบัติงานในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน อำเภอสุไหงปาตี จังหวัดนราธิวาส. สืบค้นจาก https://www.sph.go.th/images/cqi/3.pdf

อัจฉริยะ แพงมา. (2566). การอบรมหลักสูตรผู้บริหารการแพทย์ฉุกเฉินของหน่วยปฏิบัติการ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. สืบค้นจาก https://www.niems.go.th/1/News?group=5

Munro, B.H. (2001). Statistical method for health care research. (4th ed.). Philadelphia: Lippitcott.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-04