ความเครียดและพฤติกรรมเผชิญความเครียดของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น
คำสำคัญ:
ความเครียด, พฤติกรรมเผชิญความเครียด, สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเครียด และพฤติกรรมเผชิญความเครียดของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น และหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความเครียดของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น และพฤติกรรมเผชิญความเครียดของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ลำดับที่การตั้งครรภ์ อายุครรภ์ สถานภาพสมรส และสัมพันธภาพกับสามี กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มารับบริการของแผนกฝากครรภ์ในโรงพยาบาล จำนวน 210 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถามความเครียดและพฤติกรรมเผชิญความเครียด มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.88 และ 1.00 ตามลำดับ และค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของครอนบาคเท่ากับ 0.89 และ 0.94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเครียดอยู่ในระดับต่ำ และมีพฤติกรรมเผชิญความเครียดอยู่ในระดับต่ำ โดยมีพฤติกรรมเผชิญความเครียดแบบเผชิญหน้ากับปัญหามากที่สุด ปัจจัยส่วนบุคคลสัมพันธภาพกับสามี มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับความเครียด และมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับพฤติกรรมเผชิญความเครียดแบบจัดการกับอารมณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ ควรประเมินความเครียดและพฤติกรรมเผชิญความเครียด และส่งเสริมให้สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นมีพฤติกรรมเผชิญความเครียดแบบผสมผสานทั้งสามแบบคือ แบบเผชิญหน้ากับปัญหา แบบจัดการกับอารมณ์ และแบบบรรเทาความรู้สึกเครียด
References
กรมสุขภาพจิต. (2563). แบบวัดความเครียด กรมสุขภาพจิต (SPST-20). สืบค้นจาก http://www. kkhos.com/kkhos/data_office/SPST20.pdf
กรมอนามัย. (2562).คู่มือภาคีแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้นจาก https://multimedia.anamai.moph.go.th/associates/ guidelinesforla2/
กรมอนามัย. (2563). รายงานเฝ้าระวังการตั้งครรภ์แม่วัยรุ่น พ.ศ. 2563. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
กรมอนามัย. (2563). มาตรฐานบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน (Youth Friendly Health Services -YFHS). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
กรมอนามัย. (2564). สถิติการคลอดของแม่วัยรุ่นประเทศไทย ปี พ.ศ. 2564. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
กาญจนา ศรีสวัสดิ์ และชุติมา ปัญญาพินิจนุกูร. (2559). ความเครียดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารพยาบาลกองทัพบก, 17(2), 7-11.
ขันทอง สุขผ่อง และพัชรินทร์ พูลทวี. (2563). การปรับเปลี่ยนบทบาทชีวิตแม่วัยเรียนของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, 31(2), 88-103.
ขวัญตา บุญวาศ, ศศิธร คำพันธ์ และชุติกาญจน์ แซ่ตั้น. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความเครียดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี กรุงเทพ, 32(3), 1-10.
ฉัตรจงกล ตุลยนิษกะ, จิรัชยา เจียวก๊ก และวิชุนา สัตยารักษ์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลของการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของสตรีวัยรุ่นในจังหวัดพัทลุง. ใน วิทวัส ดิษยะศริน สัตยารักษ์. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. (น. 740-754). สงขลา, ประเทศไทย.
ปณิตา ปรีชากรกนกกุล, สมพร วัฒนนุกูลเกียรติ และวิลาวรรณ พันธุ์พฤกษ์. (2555). ความเครียดและการเผชิญความเครียดของสตรีตั้งครรภ์ที่ทำงาน ในโรงงานอุตสาหกรรมเขตอุตสาหกรรมสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 35(2), 53-61.
พัณณ์ชิตา ศรีธรรมสิทธิ์. (2552). ความเครียดของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น กรณีศึกษาโรงพยาบาล ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.
สาวิตรี วงค์ประดิษฐ, โสเพ็ญ ชูนวล และสุนันทา ยังวนิชเศรษฐ. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 9(1), 29-41.
สุวัฒน์ มหันตนิรันดร์กุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย และพิมพ์มาศ ตาปัญญา. (2545). แบบวัดความเครียดสวนปรุง (Suanprung Stress-20: SPST–20). นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.
อรทัย แซ่ตั้ง, จรรยา แก้วใจบุญ และฐิติพร เรือนกุล. (2564). ความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อความเครียดของหญิงตั้งครรภ์อายุมาก. วารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ, 22(3), 71-83.
Best, J. W. (1993). Research in education. Boston, M. A: Allyn and Bacon.
Cunningham, F. G., Leveno, K. J., Bloom, S. L., Dashe, J. S., Hoffman, B. L., Casey, B. M., & Spong, C. Y. (2018). Williams obstetrics. (25th ed.). New York: McGraw-Hill Education.
Diabelková. J., Rimárová, K., Dorko, E., Peter Urdzík, P., Houžviˇcková, A. and L’ubica Argalášová, L. (2023). Adolescent pregnancy outcomes and risk factor. International Journal of Environmental Research and Public Health, 20(5), 4113. https://doi.org/ 10.3390/ijerph20054113.
Dunkle S.C. & Tanner, L. (2012). Anxiety, depression and stress in pregnancy: Implications for mothers, children, research, and practice. Curr Opin Psychiatry, 25(2), 141-148.
Gubta, K.K., Attri, J.P., Singh, A., Karu, H., & Karu, G. (2016). Basic concepts for sample size calculation: Critical step for any clinical trials. Saudi J Anaesth, 10(3), 328-331.
Hinkle, D.E. (1998). Applied statistics for the behavioral sciences. Boston: Houghton Mifflin.
Jalowice, A. (1988). Confirmatory factor analysis of the jalowice coping scale. In C. F. Waltz & O. L. Strickland (Eds.), Measurement of Nursing Outcomes (pp. 287-307). New York: Springer.
Lazarus, R.S., & Folkman, S. (1984). Stress appraisal and coping. New York: Springer.
Lazarus, R.S., & Folkman, S. (1991). The concept of coping. In A. Monat & R. S. Lazarus (Eds.), Stress and coping: An anthology (pp. 189–206). Columbia University Press: Columbia.
Lazarus, R.S. & Launier, R. (1978). Stress-related transactions between person and environment. In: Pervin, L.A. and Lewis, M., Eds., Perspectives in interactional psychology, Plenum, New York, 287-327. http://dx.doi.org/10.1007/978-1-4613-3997-7_12.
Madhavanprabhakaran, G. K., D’Souza, M.S., & Nairy, K.S. (2015). Prevalence of pregnancy anxiety and associated factors. International of Africa Nursing Science, 3, 1-7.
Orem, D. E. (2001). Nursing concepts of practice. (6th ed.). ST.Loius: Mosby-year book.
Pais, M. & Pai, M.V. (2018). Stress among pregnant women: A systematic review. Journal of Clinical and Diagnostic Research, 12(5), 1–4.
Rallis, S., Skouteris, H., McCabe, M., & Milgrom, J. (2014). A prospective examination of depression, anxiety and stress throughout pregnancy. Women and Birth, 27(4), e36-e42. doi: 10.1016/j.wombi.2014.08.002.
Rubertsson, C., Hellstrom, J., Cross, M., & Sydsjo, G. (2014). Anxiety in early pregnancy: Prevalence and contributing factors. Archives of Womens Mental Health, 17(3), 221-228.
Socolov D. G., Iorga M., Carauleanu A., Ilea C., Blidaru I., Boiculese L., Socolov R.V. (2017). Pregnancy during adolescence and associated risks: An 8-year hospital-based cohort study (2007-2014) in Romania, the country with the highest rate of teenage pregnancy in Europe. Biomed Res Int, 9205016. doi: 10.1155/2017/9205016.
Tabachnick, B. G., & Fidell, L. S. (2014). Using multivariate statistics. (6th ed.). Harlow: Pearson.
Tebb, K.P. & Claire D.B, (2022). Understanding the psychological impacts of teenage pregnancy through a socio-ecological framework and life course approach. Semin Reprod Med, 40(1-02), 107-115. doi: 10.1055/s-0041-1741518.
Thongsomboon, W., Kaewkiattikun, K., Kerdcharoen, N. (2020). Perceived stress and associated factors among pregnant women attending antenatal care in urban Thailand. Psychology Research and Behavior Management, 13, 1115–1122.
World Health Organization. (2019). Adolescent pregnancy. Retrieved from https://www.who.int/ reproductivehealth
World Health Organization. (2017). Preterm birth health statistic. Retrieved from http://www. who.int/mediacentre/factsheets/fs363/en/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.