ผลลัพธ์ของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมทางกาย ในการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมทางกาย, ผู้สูงอายุ, การป้องกันการหกล้มบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมทางกายในการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปทั้งเพศชายและเพศหญิงในชุมชน จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม จำนวน 30 ราย และกลุ่มทดลอง จำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้ม แบบประเมินปัจจัยภายในบุคคล แบบบันทึกจำนวนครั้งในการหกล้มของผู้สูงอายุ และโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมทางกายในการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา และ Pair-t test
ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมทางกายเพื่อการป้องกันการหกล้มเพิ่มมากขึ้น และจำนวนครั้งของการหกล้มลดลง และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ค่าเฉลี่ยผลต่างของคะแนนกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลการวิจัยทำให้เข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ ข้อเสนอแนะการวิจัยครั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมและการเตรียมความพร้อมสำหรับสังคมผู้สูงอายุ โดยให้ความสำคัญกับการปฏิบัติพฤติกรรมที่ถูกต้องและเหมาะสมกับการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ และนำไปใช้เพื่อศึกษาพื้นฐานในการส่งเสริมทักษะด้านพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชนต่อไป
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือการคัดกรอง/ประเมินผู้สูงอายุ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กิจการโรงพิมพ์สงเคราะห์องค์การทหารผ่านศึก.
จิตติมา บุญเกิด. (2561). การหกล้มในผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ บริษัท สหมิตรพัฒนาการพิมพ์ (1992) จำกัด.
ธีรภัทร อัตวินิจตระการ และ ชานนท์ อิ่มอาบ. (2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมและป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารแพทย์เขต 4-5, 38(4), 288-298.
นิราศศิริ โรจนธรรมกุล. (2563). การพยาบาลผู้สูงอายุ: ด้านการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก. กรุงเทพฯ: บริษัท เอส เค เอส อินเตอร์พริ้น จำกัด.
ปราโมทย์ ประสาทกุล. (2565). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: บริษัท พริ้นเทอรี่ จำกัด.
ละออม สร้อยแสง, จริยาวัตร คมพยัคฆ์ และ กนกพร นทีธนสมบัติ. (2557). การศึกษาแนวทางการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุชุมชนมิตรภาพพัฒนา. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(1), 122-129.
อัจฉรา ปุราคม, มาสริน ศุกลปักษ์ และ นิตยา แสงชื่น. (2563). นโยบายกิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุ: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 14(2), 1-17.
Alison Wells & Sue Gray. (2013). Following NICE guidance to take positive steps to prevent Falls. Nursing and Residential Care, 15(11), 1.
Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York: WH. Freeman and Company.
Graham C. Bridget. (2012). Examining evidence-based interventions to prevent inpatient falls. Medsurg Nursing, 21(5), 267-270.
Meiner, C. A. (2012). Nursing for wellness in older adults. (6th ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.