คุณสมบัติทางเคมีและกายภาพของการใช้มันสำปะหลังทดแทนเนื้อไก่ในผลิตภัณฑ์นักเก็ต
คำสำคัญ:
คุณสมบัติทางเคมีและกายภาพ, นักเก็ตมันสำปะหลัง, ผลิตภัณฑ์นักเก็ตบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปริมาณที่เหมาะสมของมันสำปะหลังโดยวิธีการทดแทนเนื้อไก่ในผลิตภัณฑ์นักเก็ต 2) เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพ และเคมีของผลิตภัณฑ์นักเก็ตมันสำปะหลังทดแทนเนื้อไก่ 3) เพื่อศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์นักเก็ตมันสำปะหลังทดแทนเนื้อไก่ จากการทดลองพบว่า การศึกษาปริมาณมันสำปะหลังที่เหมาะสมในการเสริมในผลิตภัณฑ์นักเก็ต โดยทดสอบการยอมรับของผู้ทดสอบ 40 คน ด้วยวิธีให้คะแนนความชอบแบบ 9-point hedonic scale โดยใช้มันสำปะหลังทดแทนเนื้อไก่ในผลิตภัณฑ์ พบว่า นักเก็ตมันสำปะหลังทดแทนเนื้อไก่ ผู้ทดสอบให้การยอมรับที่ระดับร้อยละ 75 (p<0.05) ด้านคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์นักเก็ต พบว่า นักเก็ตมันสำปะหลังทดแทนเนื้อไก่ร้อยละ 75 มีค่าความชื้นร้อยละ 51.68 ค่าไขมันร้อยละ 6.47 ใยอาหารร้อยละ 1.63 เถ้าร้อยละ 2.10 และโปรตีนร้อยละ 17.98 อย่างไรก็ตาม การใช้มันสำปะหลังทดแทนเนื้อไก่ในผลิตภัณฑ์นักเก็ต สามารถทดแทนได้แต่ควรคำนึงถึงปริมาณโปรตีนที่ลดลงแต่เพิ่มปริมาณใยอาหารให้มากขึ้น และมีผลกระทบต่อคุณลักษณะทางกายภาพ เช่น กลิ่นรสและลักษณะเนื้อสัมผัส สีของผลิตภัณฑ์นักเก็ต ปริมาณมันสำปะหลังที่เพิ่มขึ้นมีแนวโน้มให้ความสว่าง (L*) ค่าสีแดง (a*) และ ค่าสีเหลือง (b*) เพิ่มขึ้น ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้มีผลกระทบต่อการยอมรับผลิตภัณฑ์ ผลการศึกษาการยอมรับของผู้บริโภค ที่มีต่อผลิตภัณฑ์นักเก็ตมันสำปะหลังทดแทนเนื้อไก่ จากผู้ตอบแบบประเมิน จำนวน 100 คน ทางด้านความรู้สึกที่มีต่อการยอมรับของผลิตภัณฑ์นักเก็ตมันสำปะหลังทดแทนเนื้อไก่ พบว่า ผู้บริโภคให้ความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์นักเก็ตมันสำปะหลังทดแทนเนื้อไก่ในระดับความชอบปานกลาง โดยให้ความรู้สึกต่อลักษณะผลิตภัณฑ์ ด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่นและรสชาติ อยู่ในระดับความชอบปานกลาง
References
คณะสำรวจภาวะการผลิตและการค้ามันสำปะหลัง ฤดูการผลิตปี 2566/67. (2566). เปรียบเทียบที่เก็บเกี่ยวผลผลิตต่อไร่ ผลผลิตรวม รายจังหวัด 2565/66 กับปี 2566/67. https://www.nettathai.org/index.php/2012-01-18-08-26-35.html
จิราภรณ์ ตันติพงศ์อาภา. (2544) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไส้กรอกมังสวิรัติเสริมปลายข้าวหอมมะลิ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เชาวลิต อุปฐาก. (2563). การทดลองอาหารและการประเมินทางประสาทสัมผัส [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
พรทิพย์ วิริยะวัฒนา และเดือนฉาย ตันนารัตน์. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เวจจี้นักเก็ตเพื่อสุขภาพจากถั่วขาว. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 27(4), 1-15.
มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย. (2543). แป้งมันสำปะหลัง. https://tapiocathai.org/E5.html
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน). (2559). ฐานข้อมูลงานวิจัยมันสำปะหลัง. https://tarr.arda.or.th/preview/item/CYhYIKQtenBrc8yuBU4Da
อังคณา ผองภักดี. (2546). การพัฒนาผลิตภัณฑ์นักเก็ตแช่เยือกแข็งจากปลาโอลาย (Euthynnus affinis) [วิทยานิพนธ์ปริญาญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
AOAC. (2016). Offcial Methods of Analysis of AOAC International. Gaithersburg, AOAC International.
Kamaljit Kaur, Preeti Ahluwalia & Hira Singh. (2016). Extraction of starch and utilization of flour in bakery products. International Journal of Food and Fermentation Technology, 6(2), 351-355.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.