พฤติกรรมการใช้กัญชาและผลกระทบจากการใช้กัญชาในเขตบริการสุขภาพ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
กัญชา, ผลกระทบของกัญชา, พฤติกรรมการใช้กัญชาบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้กัญชาและผลกระทบจากการใช้กัญชาในเขตบริการสุขภาพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใช้กัญชาที่มีรายชื่อในระบบข้อมูลการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของประเทศ (บสต.) ในเขตบริการสุขภาพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีพ.ศ. 2564 จำนวน 380 คน โดยใช้การสุ่มอย่างเป็นระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ วิเคราะห์ความแตกต่างของปีสุขภาวะที่สูญเสียไปโดยใช้การทดสอบของครัสคาล-วัลลิส
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างใช้กัญชาครั้งแรกมีอายุช่วง 15-17 ปี สาเหตุอยากลอง ใช้การสูบแบบมวน จำนวน 11-20 มวน/วัน สลับกับใช้บ้อง 3-4 ครั้ง/วัน ระยะเวลานานเฉลี่ย 8.63 ปี ส่วนใหญ่เป็นผู้ติด และยังคงใช้ร้อยละ 84.74 ผลกระทบด้านสุขภาพมีปีสุขภาวะที่สูญเสียไป (DALYs) เฉลี่ย 8.06 ปี/คน ไม่พบความแตกต่างทางนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของการสูญเสียปีสุขภาวะกับคุณลักษณะส่วนบุคคล ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการบำบัดรักษา การบังคับใช้กฎหมายและการฟ้องร้องคดีความ และอุบัติเหตุ เฉลี่ย 13,455.95 บาท/คน/ปี ผลกระทบด้านสังคมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 1.74, S.D.=0.58) โดยเกิดผลกระทบต่อชุมชน ต่อตนเอง และต่อครอบครัวมากที่สุดตามลำดับ ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันการใช้กัญชาในทางที่ผิดเพื่อลดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม
References
กรมการแพทย์. (2562). กรมการแพทย์ เผยผู้เสพกัญชามีโอกาสเกิดโรคจิตเวช. สืบค้นจาก https://kku.world/s1dhl
ณรงค์ ศิลปสคราญ และนันทา ชัยพิชิตพันธ์. (2563). ความชุกของโรคทางจิตเวชในผู้ป่วยเสพติดกัญชาที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน ในสถาบันบำบัดรักษา และฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี. วารสารกรมการแพทย์, 45(1), 12–20.
ธนพล ลี่ใจยะสม. (2566). ปัญหาผลกระทบจากการเปิดเสรีกัญชาของประเทศไทยเปรียบเทียบกับ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา. วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น, 10(2), 16–26.
บัณฑิต ศรไพศาล, วรานิษฐ์ ลำใย, เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล, ชัยสิริ อังกุระวรานนท์, นิศาชล เดชเกรียงไกรกุล และ Jürgen Rehm. (2565).ประเด็นเชิงนโยบาย การวิจัยที่สำคัญเร่งด่วนและข้อเสนอแนะเบื้องต้นเกี่ยวกับนโยบายกัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 16(1), 34-53.
ประกาศิต วรรณภาสชัยยง, สิทธิพล บุุญมั่น และ อรรัตน์ เชากุลจรัสศิริ. (2566). กัญชาและผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กและวัยรุ่น. เวชบันทึกศิริราช, 16(2), 181–187. doi: 10.33192/smb.v16i3.260132.
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562. (2562, 18 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 19 ก, หน้า 1–16.
ศิวัช นุกูลกิจ. (2563). ปัญหากฎหมายการเปิดเสรีกัญชาของประเทศไทยเปรียบเทียบญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา. ปัญญาปณิธาน, 5(2), 151–160.
ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2564). ระบบข้อมูลการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด. สืบค้นจาก https://kku.world/xuliv
สุจิตตา ฤทธิ์มนตรี. (2562). การศึกษาเปรียบเทียบผลกระทบด้านเศรษฐกิจสังคมและสุขภาพของกัญชา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น
สุจิตตา ฤทธิ์มนตรี และ มานพ คณะโต. (2560). การเสพติดกัญชาและผลกระทบ. วารสารกรมการแพทย์, 42(4), 83–88.
Beverly, H. K., Castro, Y., & Opara, I. (2019). Age of first marijuana use and its impact on education attainment and employment status. Journal of Drug Issues, 49(2), 228-237.
Brook, J. S., Lee, J. Y., Finch, S. J., Seltzer, N., & Brook, D. W. (2013). Adult work commitment, financial stability, and social environment as related to trajectories of marijuana use beginning in adolescence. Substance Abuse, 34(3), 298–305. doi: 10.1080/08897077. 2013.775092.
Compton, W. M., Grant, B. F., Colliver, J. D., Glantz, M. D., & Stinson, F. S. (2004). Prevalence of marijuana use disorders in the United States: 1991-1992 and 2001-2002. JAMA, 291(17), 2114–2121. doi: 10.1001/jama.291.17.2114.
Degenhardt, L., Ferrari, A. J., Calabria, B., Hall, W. D., Norman, R. E., McGrath, J., Flaxman, A. D., Engell, R. E., Freedman, G. D., Whiteford, H. A., & Vos, T. (2013). The global epidemiology and contribution of cannabis use and dependence to the global burden of disease: Results from the GBD 2010 study. PloS One, 8(10), e76635. doi: 10.1371/journal.pone.0076635.
Ellickson, P., Bui, K., Bell, R., & McGuigan, K. A. (1998). Does early drug use increase the risk of dropping out of high school?. Journal of Drug Issues, 28(2), 357–380. https:// doi.org/10.1177/002204269802800205.
Fergusson, D. M., & Boden, J. M. (2008). Cannabis use and later life outcomes. Addiction (Abingdon, England), 103(6), 969–976; discussion 977-978. doi: 10.1111/j.1360-0443. 2008.02221.x.
Fergusson, D. M., Boden, J. M., & Horwood, L. J. (2006). Cannabis use and other illicit drug use: Testing the cannabis gateway hypothesis. Addiction, 101(4), 556–569. doi: 10.1111/j.1360-0443.2005.01322.x.
Lee, G., Akers, R. L., & Borg, M. J. (2004). Social learning and structural factors in adolescent substance use. Western Criminology Review, 5(1), 17-34.
Lev-Ran, S., Roerecke, M., Le Foll, B., George, T. P., McKenzie, K., & Rehm, J. (2014). The association between cannabis use and depression: A systematic review and meta-analysis of longitudinal studies. Psychological Medicine, 44(4), 797–810. doi: 10.1017/ S0033291713001438.
Madras, B. K. (2015). Update of cannabis and its medical use. Retrieved from https://kku.world/csmee
Ritmontree S, Kanato M & Leyatikul P. (2019). The health, economic, and social effects of cannabis use in Thailand. Retrieved from https://doi.org/10.12688/f1000research.17391.1.
Royal College of Psychiatrists. (2018). Cannabis and mental health. Retrieved from https://kku.world/8mnww
Semple, D. M., McIntosh, A. M., & Lawrie, S. M. (2005). Cannabis as a risk factor for psychosis: Systematic review. Journal of Psychopharmacology, 19(2), 187–194. doi: 10.1177/ 0269881105049040.
Steve S, Susan L. (2001). The social psychology of drug abuse. Buckingham Philadelphia: Open University Press.
United Nations Office on Drugs and Crime. (2018). World drug report 2018: Methodology report. Vienna: UNODC.
World Health Organization. (2000). The World Health Report 2000, Health system: Improving performance. Geneva: World Health Organization.
World Health Organization. (2016). The health and social effects of nonmedical cannabis use. Geneva: World Health Organization.
Wayne, W. D. (1995). Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences. (6th ed.). New York: John Wiley & Sons.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.