ผลของโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กสำหรับผู้ปกครองต่อความรู้และทักษะการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยของผู้ปกครอง

ผู้แต่ง

  • มารุต ภู่พะเนียด อาจารย์ประจำ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดสุพรรณบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ศรีสุรางค์ เคหะนาค อาจารย์ประจำ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดสุพรรณบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • จันทภา จวนกระจ่าง อาจารย์ประจำ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดสุพรรณบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การประเมินพัฒนาการ, เด็กปฐมวัย, ความรู้

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดสองครั้งก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กสำหรับผู้ปกครองต่อความรู้และทักษะการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยของผู้ปกครอง ทำการศึกษาในผู้ปกครองที่ดูแลเด็กปฐมวัยในช่วงอายุ 1-3 ปี ในจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 56 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 28 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ 1) โปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กสำหรับผู้ปกครอง ประกอบด้วย 4 กิจกรรม สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ๆ ละ 3 ชั่วโมง ได้แก่ กิจกรรมเข้าใจเด็กน้อย กิจกรรมเด็กน้อยแข็งแรง กิจกรรมภาษาเด็กน้อย และกิจกรรมเด็กน้อยทำได้ เก็บข้อมูลก่อนและหลังทดลอง 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ปกครอง 3) แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย และ 4) แบบประเมินทักษะการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยของผู้ปกครอง ซึ่งมีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) เท่ากับ 0.60 – 0.80 ค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย เท่ากับ 0.87 และการปรับมาตรฐานการประเมินทักษะการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้วยการใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ค่าสัมประสิทธิ์แคปปาอยู่ระหว่าง 0.81 - 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน และสถิติทดสอบวิลค็อกซัน และสถิติทดสอบแมนวิทนีย์ยู

        ผลการวิจัยพบว่า หลังทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กปฐมวัยสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.047) หลังทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนทักษะการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้วยการใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) จึงเห็นว่าสามารถใช้โปรแกรมนี้ในการส่งเสริมความรู้และทักษะการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้กับผู้ปกครองเพื่อเป็นแนวทางในการเฝ้าระวังและส่งเสริมหรือให้การดูแลเด็กปฐมวัยให้มีคุณภาพต่อไป

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

เกษแก้ว เสียงเพราะ. (2564). ทฤษฎี เทคนิคการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพและการประยุกต์ใช้ในงานสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จรณิต แก้วกังวาล และประตาป สิงหศิวานนท์. (2556). ขนาดกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยทางคลินิก. ใน พรรณี ปิติสุทธิธรรม และชยันต์ พิเชียรสุนทร (บ.ก.), ตำราการวิจัยทางคลินิก (น. 107-143). นนทบุรี: สถาบันพัฒนาการคุ้มครองการวิจัยในมนุษย์กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์.

เจษฎา คุณโน. (2564). วิธีการวิจัยพื้นฐานสำหรับวิทยาศาสตร์สุขภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณิชชาภัทร ธนศิริรักษ์, วลัยนารี พรมลา, อารีย์ มหุวรรณ และอัปสร ชานวิทิตกุล. (2561). ผลของโปรแกรมในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 4(2), 76-84.

ถนอมรัตน์ ประสิทธิเมตต์. (2557). พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย เขตบริการสุขภาพที่ 4. สระบุรี: ศูนย์อนามัยที่ 2 สระบุรี.

บุษบา อรรถาวีร์ และบำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ. (2561). รูปแบบการใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(3), 229-241.

ประภาพร แซ่เตียว. (2562). แบบประเมินพัฒนาการในเด็กปฐมวัย: เครื่องมือในการพยาบาลเพื่อสร้างเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 25(3), 99-108.

พรชเนตต์ บุญคง และเปรมฤทัย เกตุเรน. (2565). ผลของการฝึกทักษะในการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการบุตรของมารดาหลังคลอดหรือผู้เลี้ยงดูหลักในประเทศไทย. วารสารการสร้างเสริมสุขภาพไทย, 1(3), 253-262.

มาลี เอื้ออำนวย, อภิรัช อินทรางกูล ณ อยุธยา, กมลทิพย์ ทิพย์สังวาลย์, พรรณนิภา บุญกล้า, ศศิธร คำมี และกรชนก หน้าขาว. (2564). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยต่อความรู้และพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กของบิดามารดาและผู้ดูแล อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท., 3(1), 48-63.

ยูนิเซฟ ประเทศไทย. (2560). การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2558-2559. กรุงเทพฯ: ยูนิเซฟ ประเทศไทย.

วิไลรักษ์ บุษบรรณ์, แก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ และพัชรินทร์ เสรี. (2564). ผลของโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการด้วยคู่มือประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กกลุ่มเสี่ยงร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่. วารสารกรมการแพทย์, 46(2), 96-102.

สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). สรุปผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมพัฒนาการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุรอบ 2 เมษายน 2558. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สิริพันธุ์ ปัญญายงค์, กุลชญา ลอยหา และสุภาพร ใจการุณ. (2563). ผลของโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยสำหรับพ่อแม่ และผู้ปกครอง ตำบลขามป้อม อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์, 4(3), 70-84.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. (2563). ผลการดำเนินการการคัดกรองพัฒนาการเด็กตามกลุ่มอายุ specialpp. สืบค้นจาก https://spb.hdc.moph.go.th/hdc

Constantinescu, M., Constantinescu, C., & Dumitru, C. (2017). Development of parenting skills by implementing strong families program. In Soare, E. & Langa, C. (Eds.), European Proceedings of Social and Behavioural Sciences (pp. 1346-1354). Pilesti, Romania. doi: 10.15405/epsbs.2017.05.02.165.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences.Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.

House, J. S. (1981). Work stress and social support. Boston: Addison-Wesley Educational.

Jeong, J., Franchett, E. E., Ramos de Oliveira, C. V., Rehmani, K., & Yousafzai, A. K. (2021). Parenting interventions to promote early child development in the first three years of life: A global systematic review and meta-analysis. PLoS Medicine, 18(5), e1003602. doi:10.1371/journal.pmed.1003602.

Smith, R.M. (1982). Learning how to learn: Applied theory for adult. Chicago: Follett Publishing.

Viet, T. H., Nanthamongkolchai, S., Munsawaengsub, C., & Pitikultang, S. (2022). Positive parenting program to promote child development among children 1 to 3 years old: A quasi-experimental research. Journal of Primary Care & Community Health, 13, 2150131 9221089763. doi: 10.1177/21501319221089763.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-04