ปัจจัยทำนายที่มีผลต่อท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดในหอผู้ป่วยหนัก

ผู้แต่ง

  • ทิพวัลย์ ธีรสิริโรจน์ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์
  • ศิริพร แก้วกุลพัฒน์ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์
  • วจี กิจวรายุทธ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

คำสำคัญ:

ปัจจัยทำนาย, ท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด, หอผู้ป่วยหนัก

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยภาคตัดขวางชนิดเก็บข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective cross-sectional study) จากแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วยเพื่อศึกษาความชุกของอัตราท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด และปัจจัยทำนายที่มีผลต่อท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดในหอผู้ป่วยหนัก กลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ท่อทางเดินหายใจที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ในระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2564 - 31 พฤษภาคม 2565 เลือกแบบสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์จัดกลุ่มตัวแปรโดยใช้ Chi-square test เพื่อคัดข้อมูลที่ Significantly เข้าสู่สมการหลังจากการวิเคราะห์ตัวแปรด้วย Bivariate analysis

จากการศึกษาครั้งนี้พบว่ามีอุบัติการณ์ท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด คิดเป็น 3.88 ครั้งต่อ 1,000 วัน ใส่ท่อช่วยหายใจ ปัจจัยที่มีผลต่อท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดในหอผู้ป่วยหนัก ประกอบด้วย เพศชายมากกว่าเพศหญิง ส่วนใหญ่มีอายุ 61 ปีขึ้นไป และมีสถานภาพสมรสมากที่สุด สาเหตุของท่อทางเดินหายใจเลื่อนหลุดพบทั้งผู้ป่วยดึงท่อช่วยหายใจเองและท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดเอง ซึ่งได้รับการวินิจฉัยโรคหลักที่พบบ่อย ได้แก่ โรคปอดอักเสบ ร้อยละ 15.38 โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ร้อยละ 7.69 ภาวะเลือดออกในสมอง ร้อยละ 3.85 และโรคตับวายเฉียบพลัน ร้อยละ 1.92 นอกจากนี้ยังพบว่าส่วนใหญ่ผู้ป่วยมีโรคร่วม ได้แก่ โรคหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ร้อยละ 26.92 ภาวะโพแทสเซียมต่ำ ร้อยละ 21.15 ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ ร้อยละ 7.69 ภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ร้อยละ 7.69  ภาวะสมองบวม ร้อยละ 7.69 และโรคหลอดเลือดแดงหัวใจแข็ง ร้อยละ 7.69 และพบว่ามีปัจจัย 3 ด้านที่มีผลต่อท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดในหอผู้ป่วยหนัก 1) ด้านผู้ป่วย คือ ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว 2) ด้านแผนการรักษา คือ ผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจที่ยังไม่มีคำสั่งฝึกหย่าเครื่องช่วยหายใจมีผลต่อท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด 3) ด้านการพยาบาล คือ การติดพลาสเตอร์เหนียวยึดท่อทางเดินหายใจเป็นรูปตัว K ดังนั้นพยาบาลจึงควรตระหนักและให้ความสำคัญปฏิบัติการพยาบาล รวมทั้งสร้างแนวปฏิบัติและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมการป้องกันเพื่อการจัดการปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ป้องกันเกิดอุบัติการณ์ท่อทางเดินหายใจผู้ป่วยเลื่อนหลุดที่เหมาะสมต่อไป

References

กุสุมาลย์ รามศิริ, นิติภา เพชรสิงห์ และจีรพรรณ วันหากิจ. (2562). ประสิทธิภาพผลการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยต่ออุบัติการณ์การถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน หอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม โรงพยาบาลเลย. ชัยภูมิเวชสาร, 39 (1) , 16-25. สืบค้นจาก https://thaidj.org/index.php/CMJ/article/view/10484/9258

นงลักษณ์ ณ นคร. (2563). ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดในหอผู้ป่วยไอซียูอายุรกรรมโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 3(2), 30-44. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jhri/article/view/246614/168827

บังอร นาคฤทธิ์, อำภาพร นามวงศ์พรหม และน้ำอ้อย ภักดีวงศ์. (2558). การเลื่อนหลุดของท่อช่วยหายใจและระยะเวลาการใส่เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤตที่ได้รับการดูแลโดยใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลที่สร้างจากหลักฐานเชิงประจักษ์. วารสารเกื้อการุณย์, 22(1), 129-143. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kcn/article/view/46863/38840

ปิ่นสุรางค์ กระเสาร์. (2563). ผลของการใช้แนวปฏิบัติในการป้องกันท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดในหอผู้ป่วยสามัญอายุรกรรม โรงพยาบาลแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่, 28(1), 27-41.

พัชรวรรณ สลักคำ, สุเพียร โภคทิพย์, พิมลพันธ์ เจริญศรี, อรทัย วะสมบัติ, พัลยมนต์ พุ่มทอง และสุพจน์ สายทอง. (2562). สถานการณ์การดึงท่อช่วยหายใจ/ท่อช่วยหายใจหลุด (Unplanned Extubation : UE) ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. สรรพสิทธิเวชสาร, 40(1-3), 51-60. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/sanpasit_medjournal/article/view/249374/169495

พัชรี ชูทิพย์. (2563). ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเลื่อนหลุดของท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลพัทลุง. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 3(1), 37-45. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jhri/article/view/243300/165426

สุเพียร โภคทิพย์, พัชรวรรณ สลักคํา, ทิศากร สุทธิประภา, พิชญดา ดาทวี, ประภัสสร ควาญช้าง และ นาฎอนงค์ เสนาพรหม. (2562). ความชุก ปัจจัยเสี่ยงและการพยาบาลผู้ป่วยดึงท่อช่วยหายใจออกเองและท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดโดยไม่ได้วางแผน : การทบทวนวรรณกรรมแบบบูรณาการ. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์, 3(3), 53-67.

สำลี คิมนารักษ์, ราตรี สุขหงส์, ยุพา พิมพ์ดี และสมปอง ใจกล้า. (2562). ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน งานห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5, 38(3) , 210-225. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/217969/151038

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2558). สถิติในงานวิจัยเลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท ส. เอเชียเพรส (1989) จำกัด.

Alberto L., Stefano B., Alessandro G., Stefano E., Cristina N., Stefania V., Silvia T., Alessandra B., Mattia C., Roberto F., Giuseppe F. (2018). Unplanned extubations in general intensive care unit: A nine-year retrospective analysis. Acta Biomed for Health Professions, 89(7), 25-31. Retrieved from https://www.mattioli1885journals.com/index.php/actabiomedica/ article/view/7815/7605

Chao, C. M., Lai, C. C., Chan, K. S., Cheng, K. C., Ho, C. H., Chen, C. M., & Chou, W. (2017). Multidisciplinary interventions and continuous quality improvement to reduce unplanned extubation in adult intensive care units. Medicine, 96(27), e6877.

Cosentino, C., Fama, M., Foà, C., Bromuri, G., Giannini, S., Saraceno, M., Spagnoletta, A., Tenkue, M., Trevisi, E., & Sarli, L. (2017). Unplanned extubations in intensive care unit: Evidences for risk factors. A literature review. Acta Bio-Medica: Atenei Parmensis, 88(5S), 55–65. Retrieved from https://doi.org/10.23750/abm.v88i5-S.6869

Köhne KM. & Hardcastle T. (2018). Unplanned extubations in a level one trauma ICU. Southern African Journal of Anaesthesia and Analgesia, 24(4), 103–108. Retrieved from https://journals.co.za/doi/pdf/10.1080/22201181.2018.1480192

Lauren B. & Arthur K. (2020). Unplanned extubation a common and costly complication of airway management. Patient Safety, 4(1), 22-30.

Matteo D, Simona C. & Alvisa P. (2018). Unplanned extubations in an intensive care unit: Findings from a critical incident technique. Intensive and Critical Care Nursing, 47(1), 69-77. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.iccn.2018.04.012

Pasunon, P. (2013). Sample size determination from Krejcie and Morgan (1970): Approach in quantitative research. The Journal of Faculty of Applied Arts, 7(2), 112-120.

Pengbo Li, Zihong Sun & Jingyi Xu. (2022). Unplanned extubation among critically ill adults: A systematic review and meta-analysis. Intensive and Critical Care Nursing, 70(1), 103219. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.iccn.2022.103219

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-03