ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะของตนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกาย แบบก้าวตามตารางของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา เชาว์ไวย อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • วิราพร สืบสุนทร อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • กิติพงษ์ เรือนเพ็ชร อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวิสเทิร์น บุรีรัมย์
  • นงพิมล นิมิตรอานันท์ รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน, การรับรู้สมรรถนะของตน, การออกกำลังกายแบบก้าวตามตาราง

บทคัดย่อ

         การวิจัยกึ่งทดลองแบบเปรียบเทียบ 2 กลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริม การรับรู้สมรรถนะของตนด้านการออกกำลังกายแบบก้าวตามตารางต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน คัดเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงได้ กลุ่มทดลอง 22 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 24 คน เครื่องมือประกอบด้วย 1) โปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะของตนด้านการออกกำลังกายแบบก้าวตามตาราง ประกอบด้วยกิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้จากบุคคลต้นแบบและสัญลักษณ์ตัวแบบ การสร้างแรงจูงใจและการให้กำลังใจด้วยวาจา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการสะท้อนกลับด้วยผลลัพธ์ โปรแกรมมีระยะเวลา 8 สัปดาห์ เก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลองด้วยแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะของตน และพฤติกรรมการออกกำลังกาย ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา มีค่า CVI เท่ากับ 0.70 และ 1.00 ตามลำดับ ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.78 และ 0.94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบวิลคอกซันและแมนท์วิทนีย์

         ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีการรับรู้สมรรถนะของตน พฤติกรรมการออกกำลังกายแบบก้าวตามตาราง และค่าระดับน้ำตาลในเลือดดีกว่าก่อนการทดลองและดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พยาบาลวิชาชีพและบุคลากรทีมสุขภาพพึงตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดอุบัติการณ์ผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2566). อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน. สืบค้นจาก https://hdcservice.moph.go.th

กิตติยา ชูโชติ และ นิลวรรณ อยู่ภักดี. (2561). ค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานตามหลักการจัดกลุ่มโรค ผู้ป่วยนอกเพื่อการจ่ายเงินที่โรงพยาบาลบางบัวทอง. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 12(4), 645-656.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2558). ตาราง 9 ช่องกับการพัฒนาสมอง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ฉัตรลดา ดีพร้อม และ พัชราวรรณ จันทร์เพชร. (2563). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยนวัตกรรมพื้นบ้าน V-exercise ต่อสมรรถภาพทางกาย ระดับน้ำตาลในเลือด และภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 43(1), 43-53.

ชลลดา ติยะวิสุทธิ์ศรี, พรพิมล ชัยสา, อัศนี วันชัย และ ชลธิมา ปิ่นสกุล. (2561). การออกกำลังกายเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในประเทศไทย: การสังเคราะห์งานวิจัยอย่างเป็นระบบ. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 9(1), 39-48.

ณัฐกฤตา ศิริโสภณ และ ธีรพล ผังดี. (2563). การพัฒนาสมรรถนะแห่งตนต่อความตั้งใจใฝ่พฤติกรรมในการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลทหารบก, 21(1), 167-175.

ธีรพล ผังดี, ณัฐกฤตา ศิริโสภณ, ประเสริฐศักดิ์ กายนาคา, อลิสา นิติธรรม และ สายสมร เฉลยกิตติ. (2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกาย ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(ฉบับพิเศษ), 291-298.

นงพิมล นิมิตอานันท์, สุพัตรา เชาว์ไวย และ วิราพร สืบสุนทร. (2564). การออกกำลังกายแบบก้าวตามตารางเพื่อป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน: การวิเคราะห์วรรณกรรม. วารสารแพทย์นาวี, 48(1),23-36.

นิยม บุระคร. (2561). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถแห่งตนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. ใน กีรติ บุญเจือและคณะ (บ.ก.). การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2 “Graduate school conference 2018” (น.429-441). กรุงเทพฯ, ประเทศไทย. สืบค้นจาก http://www.journalgrad.ssru.ac.th/index.php/miniconference/article/view/173

พัชราวรรณ จันทร์เพชร, เพชรัตน์ สิริสุวรรณ และ ฉัตรลดา ดีพร้อม. (2563). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในเขตพื้นที่ตำบลเมืองไพร อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 27(1), 52-62.

เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย, ศิริพร ขัมภลิขิต และ ทัศนีย์ นะแส. (2566). วิจัยทางการพยาบาล: หลักการและกระบวนการ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). สมุทรสาคร: ไอซ์เน็ต .

รดา สุทธาวาศ, นงพิมล นิมิตรอานันท์ และ ศศิธร รุจนเวช. (2565). ประสิทธิผลของโปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเองด้านกิจกรรมทางกาย และการออกกำลังกายแบบก้าวตามตารางในสตรีสูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อม. วารสารพยาบาลตำรวจ, 14(1), 127-139.

วิราพร สืบสุนทร,นงพิมล นิมิตรอานันท์ และกรรณิการ์ ฉัตรดอกไม้ไพร. (2562). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะของตน ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มและสมรรถนะทางกายของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี, 44(2), 120-128.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2558). คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เล่ม 4 การบริหารงบบริการควบคุม ป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง (บริการควบคุมป้องกันและรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง). กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพลส จำกัด .

อมรรัตน์ รักฉิม สงวน ลือเกียรติบัณฑิต และวรนุช แสงเจริญ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน อภิชาต อธิไภรินและกรวิทย์ อยู่สกุล (บ.ก.). ประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 10. นครศรีธรรมราช (น. 1-6). นครศรีธรรมราช, ประเทศไทย. สืบค้นจาก https://wjst.wu.ac.th/index.php/wuresearch/issue/view/104

American College of Sports Medicine. (2018). ACSM’s Guidelines for exercise testing and prescription. (11th ed). Philadelphia: Wolters Kluwer.

ElSayed, N.A., Aleppo, G., Aroda, V.R., Bannuru, R.R., Brown, F.M., Bruemmer, D., & Collins B.S. et al. (2023). Prevention or delay of Type 2 diabetesand associated comorbidities: Standards of care in Diabetes 2023. Diabetes Care, 46 (Suppl.1), s41-s48.

Glanz, K., Rimer, B. K., & Viswanath, K. (Editors). (2008). Health behavior and health education: Theory, research, and practice. (4th). CA: Jossey-Bass.

International Diabetes Federation. (2021). Diabetes atlas. (10th ed.). Retrieved from https://diabetesatlas.org/idfawp/resource-files/2021/07/IDF_Atlas_10th_Edition_2021.pdf.

Pereira, J., Gobbi, S., Teixeira, C., Nascimento, C., Corazza, D., Vital, T., & Hernandez, S.S.S. et al. (2014). Effects of square-stepping exercise on balance and depressive symptoms in older adults. Motriz, Rio Claro, 20(4), 454-460.

Poretsky, L. (editor), (2017). Principles of diabetes mellitus. (3rd ed). Switzerland: Springe Cham.

Ravichandran, H., Janakiraman, B., Yitayeh, A., Sundaram, S. & Fisseha, B. (2019). Effects of square-stepping exercise among subjects with Parkinson’s disease: A pilot randomized con-trolled trial. Journal of Geriatric Mental Health, 4(1), 54-57.

Riley, C.R. (2016). The effect of square-stepping exercise intervention on heart rate variability in older individuals with type 2 diabetes and subjective cognitive complaints. Retrieved from https://ir.lib.uwo.ca/etd/4117

Shellington, E.M., Reichert, S.M., Health, M., Gill, D.P., Shigematsu, R. & Petrella, R.J. (2018). Results from a feasibility study of square-stepping exercise in older adults with type 2 diabetes and self-reported cognitive complaints to improve global cognitive functioning. Canadian Journal of Diabetes, 42(6), 603-612.

Siregar, R., Tongpat, S. & Wattanakul, B. (2018). Increasing self-efficacy to regulate exercise in adult patients with type 2 diabetes mellitus. Belitung Nursing Journal, 4(6), 596-601.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-16