พฤติกรรมการกินและออกกำลังกายของบุคลากรทางการศึกษา ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

ผู้แต่ง

  • นันทวัน เทียนแก้ว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • อำพร ศรียาภัย อาจารย์ประจำ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • กฤชพล อาษาภักดี อาจารย์ประจำ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการกินและออกกำลังกาย, เจตคติต่อการบริโภคอาหาร, การปฏิบัติกิจกรรมทางกาย

บทคัดย่อ

        การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการกินและออกกำลังกายของบุคลากรทางการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมของบุคลากรทางการศึกษากับตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ เพศ สถานภาพการทำงาน และดัชนีมวลกาย กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรทางการศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อายุ 21-64 ปี จำนวน 2,172 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามสะดวก โดยคำนึงถึงความสะดวกและยินดีในการตอบแบบสอบถามโดยไม่มีการบังคับแต่อย่างใด ในการวิจัยครั้งนี้ได้กลุ่มตัวอย่างในการตอบแบบสอบถามย้อนกลับ จำนวน 245 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ เป็นแบบสอบถามพฤติกรรมการกินและการออกกำลังกาย แบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 ความรู้ด้านอาหารและการออกกำลังกาย ส่วนที่ 3 เจตคติต่อการบริโภคอาหาร ส่วนที่ 4 พฤติกรรมการรับประทานอาหาร และส่วนที่ 5 การปฏิบัติกิจกรรมทางกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ สถานภาพการทำงาน และดัชนีมวลกายกับความรู้ เจตคติ พฤติกรรมการรับประทานอาหารและการปฏิบัติกิจกรรมทางกายโดยใช้สถิติ Independent Samples Test และ ANOVA

        ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาและเปรียบเทียบผลของเพศต่อความรู้เกี่ยวกับอาหาร พบว่า บุคลากรทางการศึกษาเพศชายและเพศหญิง ส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับอาหารอยู่ในระดับดี ความรู้เป็นปัจจัยสำคัญต่อการแสดงพฤติกรรมและความรู้จะมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม 2) มีความแตกต่างระหว่างสถานภาพการทำงานต่อความรู้เกี่ยวกับอาหารและเจตคติต่อการบริโภคอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงให้เห็นว่า สถานภาพการทำงานส่งผลต่อความแตกต่างของพฤติกรรมสุขภาพด้านความรู้และเจตคติต่อการบริโภคอาหาร 3) มีความแตกต่างของระดับค่าดัชนีมวลกายต่อความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย

References

กฤชพล อาษาภักดี และชัยรัตน์ ชูสกุล. (2565). การศึกษากิจกรรมทางกายของบุคลากรวัยทำงานระดับ อุดมศึกษาในจังหวัดมหาสารคาม : สถานการณ์ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา, 22(1),127-140.

กรมอนามัย. (2561). รายงานประจำปี 2560 กรมอนามัย. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กุลธิดา เหมาเพชร, คมกริช เชาว์พานิช, พรเพ็ญ ลาโพธิ์ และวาสิฏฐี เทียมเท่าเกิด. (2555). พฤติกรรมการออกกำลังกายของบุคลากร (รายงานวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

จเกศบุญชู เกษมพิพัฒน์พงศ์ และธานินทร์ สุธีประเสริฐ. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคของบุคลากรโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี.วารสารวิชาการสาธารณสุข, 24(1), 41–49.

ชัชรินทร์ กูเมาะ และรุ่งนภา จันทรา. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเตราะหัก จังหวัดปัตตานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 2(2), 85-99.

ณรงฤทธิ์ นิ่มมาก และฉัตรกมล สิงห์น้อย. (2558). แรงจูงใจในการออกกําลังกายของผู้ที่มาใช้บริการ ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาของสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตศรีสะเกษ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, 7(2), 1-14.

ธีรยุทธ มงคลมะไฟ, ศริศักดิ์ สุนทรไชย และวศินา จันทรศิริ. (2560). ปัจจัยความรู้ทางโภชนาการ ทัศนคติต่ออาหารและพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ส่งผลต่อภาวะโภชนาการ ของบุคลากรกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 27(2), 211–218.

นภัสพร ศรีโสภา. (2562). ผลการให้ความรู้ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่มีภาวะอ้วน. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน, 1(3), 1-8.

นันทิดา ชุ่มวิเศษ. (2554). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะไขมันผิดปกติในเลือดของข้าราชการครูที่มาตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลสันป่าตอง ปี 2552. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 7(1), 25-38.

ประดิษฐ์ นาทวิชัย. (2540). ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมการออกกำลังกายของครูในจังหวัดชัยนาท (รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์, เนติ สุขสมบูรณ์, ไพบูลย์ พิทยาเธียรอนันต์, จอมขวัญ โยธาสมุทร, วิชัย เอกพลากร และยศ ตีระวัฒนานนท์. (2554). การศึกษาผลกระทบในเชิงเศรษฐศาสตร์และคุณภาพชีวิตจากโรคอ้วนในประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

วราภรณ์ คำรศ, พรพิมล ภูมิฤทธิกุล, ชนิดา มัททวางกูร, เพ็ญรุ่ง นวลแจ่ม, กุลธิดา จันทร์เจริญ, เนตร หงษ์ไกรเลิศ, นารี รมย์นุกูล, ฐิติมา อุดมศรี และสมหญิง เหง้ามูล. (2556). พฤติกรรมและการเข้าถึงการออกกำลังกายของประชาชนในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) และศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยสยาม.

วรรณวิมล เมฆวิมล. (2553). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษา สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

วิไลวรรณ คงกิจ. (2548). พฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนของเด็กวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

วิชัย ตันไพจิตร, รัตนา พากเพียรกิจวัฒนา, ปรียา ลีฬหกุล และนิสากร ทองมั่ง. (2548). สรุปผลการวิจัยปัญหาและแนวทางในการควบคุมโรคอ้วน. ใน ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ และคณะ (บก.), รายงานสรุปผลโครงการแม่บทในชุดโครงการวิจัย เพื่อพัฒนาสุขภาพคนไทย (น. 143-156). กรุงเทพฯ, ประเทศไทย.

วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ และ วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. (2564). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุระเดช ไชยตอกเกี้ย. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยผู้ใหญ่ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 13(45), 68-78.

สมภพ ชุนรัตน, วาสนา ศรีเมฆ, สิริประภา สุขจันทร์, ศิริไพโรจน์ กรีพันธ์และคณะ. (2549). ทัศนคติและ พฤติกรรมการออกกําลังกายฟิตเนสของคนกรุงเทพมหานคร ศึกษาเฉพาะผู้เล่นฟิตเนสในเขต ลาดพร้าว-บางกะปิ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ. (2551). รายงานประจำปี 2551 สพก. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ.

อัญฐิริมา พิสัยพันธ์, จรรยา ภัทรอาชาชัย และกัณฑ์วีร์ วิวัฒน์พาณิชย์. (2556). ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มผู้ใหญ่. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 13(3), 352-360.

Bandura, A. (1986). Fearful expectations and avoidant actions as coeffects of perceived self-inefficacy. American Psychologist, 41(12), 1389–1391. https://doi.org/10.1037/0003-066X.41.12.1389.

Bull, F. C., Al-Ansari, S. S., Biddle, S., Borodulin, K., Buman, M. P., Cardon, G., ... & Willumsen, J. F. (2020). World Health Organization 2020 guidelines on physical activity and sedentary behaviour. British Journal of Sports Medicine, 54(24), 1451-1462. Retrieved from https://bjsm.bmj.com/content/54/24/1451

Sitticharoon, C., Boonpuan, V., Mitrpant, C., & Churintaraphan, M. (2013). Determination of KISS1, KISS1R and Kisspeptin in fat tissue of normal weight and obese humans and correlations between Serum Kisspeptin and leptin. Siriraj Medical Journal, 65(4), 112-116.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Riebe, D., Blissmer, B., Greene, G., Caldwell, M., Ruggiero, L., Stillwell, K. M., & Nigg, C. R. (2005). Long-term maintenance of exercise and healthy eating behaviors in overweight adults. Preventive Medicine, 40(6), 769-778.

Topothai, T., Tangcharoensathien, V., Suphanchaimat, R., Petrunoff, N. A., Chandrasiri, O., & Müller-Riemenschneider, F. (2023). Patterns of physical activity and sedentary behavior during the COVID-19 pandemic in the Thai 2021 National Health Survey. Journal of Physical Activity and Health, 20(5), 364-373.

World Health Organization. (2010). World health statistics 2010. Geneva: World Health Organization.

World Health Organization. (2016). World health statistics 2016 [OP]: Monitoring health for the sustainable development Goals (SDGs). Geneva: World Health Organization.

World Health Organization. (2019). Global action plan on physical activity 2018-2030: More active people for a healthier world. Geneva: World Health Organization.

World Health Organization. (2020). Overweight and obesity. Retrieved from https://www. who.int/news-room/fact-sheets/detail/obesity-and-overweight

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-04