สถานการณ์และปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยง ในบริบทชุมชนกึ่งเมือง

ผู้แต่ง

  • ไพรินทร์ พัสดุ อาจารย์ประจำ สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
  • อารยา ทิพย์วงศ์ อาจารย์ประจำ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมอง, กลุ่มเสี่ยง, ชุมชนกึ่งเมือง

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การศึกษาเอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การเกิดโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยงในบริบทของชุมชนกึ่งเมืองในเขตพื้นที่ อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ข้อมูลด้านเอกสารแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุข อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2563-2565 เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบตรวจสอบเอกสาร ทดสอบความเที่ยงตรงของข้อมูลด้วยการวิเคราะห์สามเส้า และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) สถานการณ์การเกิดโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยงในบริบทชุมชนกึ่งเมือง ได้แก่ การจัดการปัญหาสุขภาพของพื้นที่ พฤติกรรมการบริโภคส่วนบุคคล และปัจจัยด้านสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจต่อพฤติกรรมสุขภาพ และ 2) ปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยงในบริบทชุมชนกึ่งเมือง ได้แก่ สภาพทั่วไป ค่านิยมการบริโภค สื่อ การเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ และข้อจำกัดการบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพ ผลการวิจัยนี้สะท้อนถึงความสัมพันธ์ของมิติด้านสังคมวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับภาวะสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดโรคเรื้อรังที่เกิดจากปัจจัยภายนอก และช่วยวางแผนปฏิบัติการด้านสุขภาพ ระบบการจัดบริการสุขภาพสำหรับประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองให้มีความเหมาะสมกับบริบท ลักษณะของคน เป็นการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทสังคม และวัฒนธรรมของชุมชน บุคลากรสุขภาพที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลการศึกษาไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อให้บริการ และร่วมกันดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

References

กรมการแพทย์. (2561). สถิติสาเหตุการเสียชีวิตของประชากร. กรุงเทพฯ: กรมการแพทย์.

กรมควบคุมโรค. (2564). สถานการณ์โรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค.

คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล. (2558). สถานการณ์โรคไม่ติดต่อในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ญนัท วอลเตอร์, โรชินี อุปรา และประกายแก้ว ธนสุวรรณ. (2559). การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้โรคหลอดเลือดสมองสำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชนท้องถิ่นภาคเหนือ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(2), 55-66.

ไพรินทร์ พัสดุ และดารุณี จงอุดมการณ์. (2563). การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มเสี่ยง. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 13(1), 179-195.

สมพงษ์ จันทร์โอวาท, สุภาพร สุโพธิ์ และนวรัตน์ บุญนาน. (2557). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง: กรณีศึกษาเครือข่ายบริการสุขภาพแกดำ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 23(3), 394-402.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอท่าเรือ. (2563). รายงานสถิติโรคหลอดเลือดสมองประจำปี 2563. พระนครศรีอยุธยา: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอท่าเรือ.

DeWitt R. (2010). Worldviews: An introduction to the history and philosophy of science. (2nd ed). Chichester, West Sussex, U.K., Malden, MA: Wiley-Blackwell.

Moule P & Goodman M. (2014). Nursing research: An introduction. (2nd ed). London: Sage Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-16