การเปิดเผยรายงานความยั่งยืนของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ปริษา จินดาหลวง นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • ชัยยศ สัมฤทธิ์สกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • อรุณี ยศบุตร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • ทัดพงศ์ อวิโรธนานนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

รายงานความยั่งยืน, บริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, Global reporting initiative version 4.0

บทคัดย่อ

        งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการเปิดเผยข้อมูลรายงานความยั่งยืนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 517 บริษัท วิธีการศึกษาใช้ข้อมูลทุติยภูมิเก็บรวบรวมข้อมูลจากการเปิดเผยข้อมูลรายงานความยั่งยืนและมีข้อมูลผลการดำเนินงานในปี พ.ศ. 2565 โดยดัชนีการเปิดเผยข้อมูลใช้กระดาษทำการแบบประเมินผลแบบตัวเลือกตามกรอบรายงาน Global Reporting Initiative Version 4.0 (GRI G4) และใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์เชิงสำรวจ เมื่อวิเคราะห์ตามมิติความยั่งยืน 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม พบว่าบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีการเปิดเผยข้อมูลรายงานความยั่งยืนคะแนนเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับน้อยที่ 41.10 คะแนน จาก 88 คะแนน (46.70%) โดยบริษัทในอุตสาหกรรมการผลิตมีคะแนนรวมเฉลี่ย 44.21 คะแนน ซึ่งมีอุตสาหกรรมเทคโนโลยีมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดที่ 53.10 และอุตสาหกรรมทรัพยากรมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดที่ 39.10 และสำหรับบริษัทในอุตสาหกรรมที่มิใช่การผลิตคิดเป็นคะแนนรวมเฉลี่ย 41.98 คะแนน โดยอุตสาหกรรมทรัพยากรมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดที่ 46.00 และอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดที่ 34.10 ซึ่งแตกต่างจากอุตสาหกรรมการผลิต จะเห็นได้ชัดว่าอุตสาหกรรมการผลิตมีแนวโน้มการเปิดเผยข้อมูลรายงานความยั่งยืนมากกว่าอุตสาหกรรมที่มิใช่การผลิต

References

าดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2565). ตลาดหลักทรัพย์กับความยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

Buallay, A. (2020). Sustainability reporting and firm’s performance: Comparative study between manufacturing and banking sectors. International Journal of Productivity and Performance Management, 69(3), 431-445.

Freeman, R. E. & Reed, D. L. (2010). Stockholders and stakeholders: A new perspective on corporate governance. California Management Review, 25(23), 88-106.

Galbreath, J. (2006). Corporate social responsibility strategy: Strategic options, global considerations. Corporate Governance: The International Journal of Business in Society, 6(2), 175-187.

Garza-Reyes, J. A. (2015). Lean and green–a systematic review of the state-of-the-art literature. Journal of Cleaner Production, 102, 18-29.

Luo, L., & Tang, Q. (2023). The real effects of ESG reporting and GRI standards on carbon mitigation: International evidence. Business Strategy and the Environment, 32, 2985-3000.

Yigitcanlar, T., & Lee, S. H. (2014). Korean ubiquitous-eco-city: A smart-sustainable urban form or a branding hoax?. Technological Forecasting and Social Change, 89, 100-114.

Yiu, D. W., Lau, C., & Bruton, G. D. (2007). International venturing by emerging economy firms: The effects of firm capabilities, home country networks, and corporate entrepreneurship. Journal of International Business Studies, 38, 519-540.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-04