ความต้องการในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน: กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • วสุนธรา รตโนภาส ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • นพวรรณ บุญบำรุง อาจารย์ สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย

คำสำคัญ:

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, การดูแลสุขภาพ, ผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความต้องการในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุติดเตียงกับระดับความต้องการในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้ตอบแบบสอบถาม คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 355 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยการทดสอบไคสแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ในภาพรวมอาสาสมัครมีระดับความต้องการในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=3.57, S.D.=0.88) โดยอาสาสมัครมีระดับความต้องการด้านสภาพแวดล้อม และการจัดการภายในบ้านมากกว่าในทุกด้าน (gif.latex?\bar{x}=3.70, S.D.=0.99) และ 2) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ การมีโรคประจำตัว และความพอเพียงของรายได้มีความสัมพันธ์กับระดับความต้องการของอาสาสมัครในภาพรวม เพศมีความสัมพันธ์กับระดับความต้องการของอาสาสมัครด้านข่าวสารข้อมูล และประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุติดเตียงมีความสัมพันธ์กับระดับความต้องการของอาสาสมัครด้านค่าตอบแทน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยครั้งนี้ใช้เป็นข้อมูลสำหรับพัฒนาศักยภาพด้านการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ (ฉบับปรับปรุง). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563. สืบค้นจาก https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1610815306-335_0.pdf

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. (2565). รายงานจำนวน อสม.จำแนกตามระดับการศึกษา ตามรายจังหวัด/อำเภอ/ตำบล. สืบค้นจาก http://www.thaiphc.net/phc/phcadmin/administrator/Report/OSMRP00014.php

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. (2566). รายงานตารางรายชื่อและที่อยู่ อสม. และสมาชิกครอบครัวทั้งหมด. สืบค้นจาก https://www.thaiphc.net/phc/phcadmin/administrator/Report/OSMRP00002.php

กันตวิชญ์ จูเปรมปรี และวัชรา ตาบุตรวงศ์. (2565). ประสบการณ์ของผู้ดูแลหลักในการดูแลผู้สูงอายุติดเตียงที่บ้าน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 14(1), 191-205.

กาญจนา ปัญญาธร, เพชรา ทองเผ้า, มณีรัตน์ ปัจจะวงษ์, สุกัลยาณี สิงห์สัตย์ และจิราวรรณ บรรณบดี. (2565). สถานการณ์ ปัญหาและความต้องการในการดูแลผู้สูงอายุป่วยเรื้อรังติดเตียงในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ของชุมชนจังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 40(1), 16-25.

คณะกรรมการพัฒนาเครื่องมือคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ กระทรวงสาธารณสุข. (ม.ป.ป.). คู่มือการคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ พ.ศ. 2564. สืบค้นจาก http://www.tako.moph.go.th/takmoph2016/file_download/file_20210129131952.pdf

จิรนันท์ ปุริมาตย์, สุธรรม นันทมงคลชัย, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์, ศุภชัย ปิติกุลตัง และกรวรรณ ยอดไม้. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(4), 610-619.

นูไรฮัน ฮะ. (2562). ความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตอำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต (รายงานผลการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ประไพวรรณ ด่านประดิษฐ์, บุญศรี กิตติโชติพาณิชย์ และรวีวรรณ ศรีเพ็ญ. (2562). ปัญหาและความ ต้องการการดูแลผู้สูงอายุเบื้องต้นของอาสาสมัครประจำหมู่บ้านจังหวัดนครปฐม. วารสารวชิรสารการพยาบาล, 21(2), 23-33.

พิพัฒน์พล พินิจดี. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) เขตสุขภาพที่ 7. วารสารสาธารณสุขมูลฐาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), 37(1), 56-65.

พวงเพ็ญ เผือกสวัสดิ์, นิสาชล นาคกุล และวิชญา โรจนรักษ์. (2559). สถานการณ์ ปัญหา และความต้องการการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง ในชุมชนเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 26(2), 54-64.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2565). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2563). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2562. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศิราณี ศรีหาภาค, วัชรี อมรโรจน์วรวุฒิ, ณรงค์ คำอ่อน, พัฒนี ศรีโอษฐ์, พลอยลดา ศรีหานู และทิพวรรณ ทับซ้าย. (2564). สถานการณ์ ปัญหา และความต้องการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน ภายใต้กองทุนระบบการดูแลระยะยาว จังหวัดขอนแก่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 15(36), 44-62.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2562). ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ (รู้เรา รู้เขา). (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

สำนักงานสถิติจังหวัดกำแพงเพชร. (2561). วิเคราะห์และสรุปสถานการณ์ผู้สูงอายุ จังหวัดกำแพงเพชร. สืบค้นจาก http://kpphet.nso.go.th/images/info61/old60.pdf

อนันต์ อนันตกูล. (2560). สังคมสูงวัย...ความท้าทายประเทศไทย. สืบค้นจาก http://www.royin.go.th/wp-content/uploads/2017/12/สังคมสูงวัย3.pdf

Pagaiya, N., Noree, T., Hongthong, P., Gongkulawat, K., Padungson, P., & Setheetham, D. (2021). From village health volunteers to paid care givers: The optimal mix or a multidisciplinary home health care workforce in rural Thailand. Human Resources for Health, 19(2), 1-10. Retrived from http://doi.org/10.1186/s12960-020-00542-3.

Pitchalard, K., Moonpanane, K., Wimolphan, P., Singkhorn, O., & Wongsuraprakitb, S. (2022). Implementation and evaluation of the peer-training program for village health volunteers to improve chronic disease management among older adults in rural Thailand. International Journal of Nursing Sciences, 9(3), 328-333. Retrived from http://doi.org/10.1016/j.ijnss.2022.06.011.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-04