ผลของการนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบโกรว์ต่อการปฏิบัติการป้องกัน และควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลของพยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย ในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง
คำสำคัญ:
โมเดลการโค้ชแบบโกรว์, การติดเชื้อในโรงพยาบาล, การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ, การนิเทศทางการพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบโกรว์ต่อการปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลของพยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย จำนวน 48 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 24 คน และกลุ่มควบคุม 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการนิเทศ แผนการอบรมการนิเทศ และคู่มือการนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบโกรว์ และ 2) แบบสอบถามการปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.94 ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล เท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบไคสแควร์ สถิติทดสอบวิลคอกซัน และสถิติทดสอบแมน-วิทนีย์ ยู
ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนการปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลของกลุ่มทดลองในระยะหลังการนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบโกรว์ (=4.70, Mdn=4.77, S.D.=0.23) สูงกว่าก่อนมีการนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบโกรว์ (=3.88, Mdn=3.91, S.D.=0.33) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (Z= - 4.257, p < 0.05) และ 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนการปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลของกลุ่มทดลองหลังได้รับการนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบโกรว์ (=4.70, Mdn=4.77, S.D.=0.23) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (=3.85, Mdn=3.91, S.D.=0.28) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (U=5.000, p < 0.05)
ดังนั้น ผู้บริหารการพยาบาลสามารถนำการนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบโกรว์ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล เพื่อให้มีการปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลเป็นไปตามเป้าหมายขององค์กรพยาบาล
References
กิตติรัตน์ สวัสดิ์รักษ์, อะเคื้อ อุณหเลขกะ และวันชัย เลิศวัฒนวิลาศ. (2558). อุปสรรคและสิ่งสนับสนุนการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. พยาบาลสาร, 42(4), 25-35.
คณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล โรงพยาบาลตติยภูมิที่ศึกษา. (2565). ผลการดำเนินงานคณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์, กลุ่มงานการพยาบาลด้านการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อโรงพยาบาลตติยภูมิที่ศึกษา, ราชบุรี, ประเทศไทย
จุฬาพร ขำดี. (2561). ผลการส่งเสริมปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ งานผู้ป่วยในโรงพยาบาลศรีประจันต์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี, 1(2), 39-55.
ณัฐรดา เจริญสุข, สุรินทร์ ชุมแก้ว และเกษราภรณ์ สุตตาพงค์. (2559). กลยุทธ์การสอนงาน (Coaching) เพื่อสร้างสมรรถนะที่เป็นเลิศในการปฏิบัติงาน. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 4(2), 60-66.
เพชรดา พัฒทอง และนิรมล อู่เจริญ. (2561). การพัฒนาระบบเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลด้วยวิธีการพัฒนาคุณภาพโดยความร่วมมือของโรงพยาบาล จังหวัดระยอง. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 32(2), 1053-1065.
รุ่งอรุณ บุตรศรี, สมพันธ์ หิญชีระนันทน์ และปราณี มีหาญพงษ์. (2563). ผลของการนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบโกรว์ของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้นต่อความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 26(2), 84-96.
ศรีสุดา อัศวพลังกูล และมงคล สุริเมือง. (2563). ประสิทธิผลของการโค้ชต่อการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ และผลลัพธ์ทางคลินิก. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 26(2), 138-154.
สถาบันบำราศนราดูร. (2563). แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิค แอนด์ ดีไซน์.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. (2565). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 5. นนทบุรี: ก.การพิมพ์เทียนกวง จำกัด.
อรอนงค์ ธาราไพศาลสุข. (2561). ผลของการนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบโกรว์ของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นที่โรงพยาบาลเอกชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยคริสเตียน, นครปฐม.
Farotimi, A. A., Ajao, E. O., Ademuyiwa, I. Y. & Nwozichi, C. U. (2018). Effectiveness of training program on attitude and practice of infection control measures among nurses in two teaching hospitals in Ogun State, Nigeria. Journal of Education and Health Promotion, 7, 1-7.
Haley, R. W., Culver, D. V., White, J. W., Morgan, W. M., Emori, G. T., Munn, V. P., & Hootan, T. M. (1985). The efficacy of infection surveillance and control programs in preventing nosocomial infections in US hospital. American Journal of Epidemiology, 121, 182-205.
Whitmore, J. (2010). Coaching for performance: GROWing humance potential and purpose: The principles and practice of coaching and leadership. Boston MA: Nicholas Brealey.
World Health Organization. (2016). Guidelines on core components of infection prevention and control programs at the national and acute health care facility level. Retrieved from https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27977095/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.