การวิเคราะห์ความต้องการของนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกลุ่ม Silver Age ในจังหวัดอุทัยธานี

ผู้แต่ง

  • อารยา ยอดฉิม นักศึกษาหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • กนกกานต์ แก้วนุช รองศาสตราจารย์ สาขาการจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, นักท่องเที่ยวกลุ่ม Silver age, จังหวัดอุทัยธานี

บทคัดย่อ

         การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความต้องการของนักท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับกลุ่มผู้สูงวัยฐานะค่อนข้างดีในจังหวัดอุทัยธานี ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ โดยดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป เคยเดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดอุทัยธานี ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็น ปรับใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยกระจายกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 8 อำเภอ อำเภอละ 50 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 400 คน

         ผลการศึกษาพบว่า ความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงวัยฐานะค่อนข้างดีโดยรวม ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (4.08) โดยด้านสถานที่ท่องเที่ยวมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (4.43) รองลงมา คือด้านความปลอดภัย (4.25) และด้านสินค้าและของที่ระลึกมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (3.84) และศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานีโดยรวมอยู่ในระดับมาก (4.12) โดยด้านแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (4.54) รองลงมาคือ ด้านการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว (4.15) และด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (3.88) จากการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยด้านความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่ม Silver age จำนวน 7 ตัวแปร ส่งผลเชิงบวกต่อศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ได้แก่ ความปลอดภัย วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิต ความสะดวกในการเดินทาง สถานที่ท่องเที่ยว การนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ และสิ่งอำนวยความสะดวก โดยความปลอดภัยมีอิทธิพลสูงสุด ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อหน่วยงานภาครัฐ นักวิชาการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นฐานข้อมูลแก่นักวิจัย กำหนดนโยบาย แผนงาน และโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่อุทัยธานีให้ประสบความสำเร็จได้

References

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. (2562). ทิศทางท่องเที่ยวไทยในปี 2562. สืบค้นจาก https://www.ditp.go.th/ditp_web61/

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี 2563. สืบค้นจาก https://mots.go.th/more_news_new.php?cid=594

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2563). แผนวิสาหกิจการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2560 – 2564 (ฉบับทบทวน พ.ศ. 2563 - 2564). กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

กาญจนาวดี พวงชื่น และแสงสรรค์ ภูมิสถาน. (2563). พฤติกรรมการท่องเที่ยวและความต้องการของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุต่อการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 15(2), 29 – 42.

กรุงเทพธุรกิจ. (2564). อัพเดท! 'เที่ยวไทยวัยเก๋า' ททท. หนุน 'แจกเงินเที่ยว' 5,000 บาท. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/924611

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2560). เเผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ชลัมพ์ ศุภวาที. (2560). โครงการบูรณาการข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว. สืบค้นจาก https://www.theeleader.com

ชิตาวีร์ สุขคร. (2562). การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในประเทศไทย. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 1(1), 1-7.

โชติมา ดีพลพันธ์ และแสงแข บุญศิริ. (2565). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านไผ่หูช้างอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 28(3), 130-145.

ณัฐชนก เพชรพรหม. (2554). วิเคราะห์พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์สะพานข้ามแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี (รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทัศนาวลัย ตันติเอกรัตน์ และชฎาวรรณ ศิริจารุกุล. (2564). การวิเคราะห์องค์ประกอบศักยภาพการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร มรดกหมูย่างเมืองตรังเพื่อการเรียนรู้บนเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 14(1), 172-187.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ธีร์ ตีระจินดา และสมบัติ กาญจนกิจ. (2557). การส่งเสริมการท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นในตลาดท่องเที่ยวไทย. วารสารวิชาการ สถาบันการพลศึกษา, 6(1), 111-126.

นพรัตน์ ทรงสายชลชัย. (2563). ความคิดเห็นและความต้องการของนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดอุทัยธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.

นรินทร์ สังข์รักษา, สุภาภรณ์ พรหมฤาษี และธีรังกูร วรบำรุงกุล. (2559). รูปแบบและพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่ไร้ความเร่งรีบของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 36(2), 1–19.

บริษัท แบรนด์ เมททริกซ์ รีเสิร์ช จำกัด. (2561). โครงการศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีศักยภาพในการใช้จ่าย. สืบค้นจาก http://tourismlibrary.tat.or.th/medias/t26323.pdf

มนชยา โพธิยพ. (2553). ปัจจัยการสื่อสารการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำผลไม้พร้อมดื่ม 100%. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ. (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทย. สืบค้นจาก https://fopdev.or.th

เราเที่ยวด้วยกัน. (2564). โครงการเราเที่ยวด้วยกัน. สืบค้นจาก https://www.xn--12c1bik6bbd8ab6hd1b5jc6jta.com/information

ศูนย์วิจัยด้านการตลาดการท่องเที่ยว. (2563). การเติบโตทางการท่องเที่ยวของไทย. สืบค้นจาก https://intelligencecenter.tat.or.th/

สำนักงานจังหวัดอุทัยธานี. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดอุทัยธานี. อุทัยธานี: แผนพัฒนาจังหวัดอุทัยธานี.

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). คู่มือการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

อุทัยวรรณ ภู่เทศ. (2562). แนวทางการยกระดับการพัฒนาศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

วัดหนองโพ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 6(2), 96-104.

Mok, C., & Lam, T. (2000). Travel-related behavior of Japanese leisure tourists. Oxford: The Haworth Hospitality Press.

Schiffman, L. G. & Kanuk, L. L. (2000). Consumer behavior. (7th ed.). Upper Saddle River, N.J: Prentice Hall.

World Tourism Organization. (2011). Annual report 2011. Retrieved from https://www.e-unwto.org/doi/pdf/10.18111/9789284415366.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-04