บทบาทการตลาดสื่อสังคมออนไลน์ และประสบการณ์ตราสินค้า ที่ส่งผลต่อความภักดีในตราสินค้าผ่านความผูกพันของลูกค้าและคุณค่าตราสินค้า ของผลิตภัณฑ์บะหมี่/ก๋วยเตี๋ยวกึ่งสำเร็จรูป

ผู้แต่ง

  • ศิริลักษณ์ กิจโสภา นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ชวนชื่น อัคคะวณิชชา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การตลาดสื่อสังคมออนไลน์, ประสบการณ์ตราสินค้า, ความผูกพันของลูกค้า, คุณค่าตราสินค้า, ความภักดีในตราสินค้า

บทคัดย่อ

         การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) อิทธิพลของการตลาดสื่อสังคมออนไลน์ และประสบการณ์ตราสินค้าที่มีต่อความผูกพันของลูกค้าและคุณค่าตราสินค้า และ 2) อิทธิพลของความผูกพันของลูกค้า และคุณค่าตราสินค้าที่มีต่อความภักดีในตราสินค้า ในสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์บะหมี่/ก๋วยเตี๋ยวกึ่งสำเร็จรูป โดยใช้วิธีการวิจัยแบบเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งทำการศึกษากับผู้ที่มีการบริโภคและแลกเปลี่ยนข้อมูลผลิตภัณฑ์บะหมี่/ก๋วยเตี๋ยวกึ่งสำเร็จรูปผ่านการสื่อสารออนไลน์ จำนวน 400 คน โดยการเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นแบบก้อนหิมะหรือแบบลูกโซ่ (Snowball/Chain sampling) ใช้วิธีการแนะนำบอกต่อผ่านชุมชนออนไลน์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโมเดลสมการโครงสร้าง

         ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าการตลาดสื่อสังคมออนไลน์มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความผูกพันของลูกค้า นอกจากนี้ประสบการณ์ตราสินค้ามีอิทธิพลเชิงบวกต่อความผูกพันของลูกค้าและคุณค่าตราสินค้า โดยที่ความผูกพันของลูกค้าและคุณค่าตราสินค้ามีอิทธิพลเชิงบวกต่อความภักดีในตราสินค้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งจากผลการศึกษาที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรและผู้ประกอบการหน้าใหม่สามารถใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการพัฒนาการวางแผนการตลาด พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ตรงและทันต่อความต้องการตลาด สนับสนุนกลยุทธ์ในการรักษาหรือแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดของผลิตภัณฑ์กลุ่มบะหมี่/ก๋วยเตี๋ยวกึ่งสำเร็จรูป

References

เกียรติรัตน์ จินดามณี. (2560). ทิศทางการโฆษณา ทำการตลาดสำหรับ SME 4.0 จะเป็นอย่างไรในปี 2017. สืบค้นจาก https://taokaemai.com/

ณัฐฌา เสรีวัฒนา. (2563). ภาพลักษณ์ตราสินค้า คุณภาพการบริการ และคุณค่าตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อความภักดีและการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ร้านไทย-เดนมาร์ค มิลค์แลนด์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ภัควัฒน์ ทรงจิตสมบูรณ์. (2560). ความต้องการความเป็นเอกลักษณ์การรับรู้คุณค่าตราสินค้าการตระหนักถึงราคาคุณภาพการปฏิสัมพันธ์และการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมตามแนวรถไฟฟ้าของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. สืบค้นจาก http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2746

ภากร ชอบหาญ. (2564). หลักการพัฒนาคุณค่าตราสินค้าในมิติการตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าการมีส่วนร่วมสร้างและการจัดการประสบการณ์ลูกค้าเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันสายผลิตเดียวกัน.วารสาร มนุษยศาสตร์ และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เอเชีย อาคเนย์, 5(2),158-167.

ยลพัชร์ พรสินีถิรธนา. (2562). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ของแบรนด์กับความผูกพันของลูกค้าที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้ากรณีศึกษาโฮมโปร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นจาก https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3375.

วสันต์ เกียรติทนงศักดิ์. (2563). การรับรู้คุณค่าตราสินค้าและการตลาดสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมคอลลาเจน. สืบค้นจาก https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3804.

ศุภวัตร มีพร้อม และบุษกร ปังประเสริฐ. (2564). การรับรู้จากประสบการณ์การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและการสร้างความผูกพันในมุมมองทางด้านพฤติกรรมของผู้บริโภค. วารสารบริหารธุรกิจนิด้า 28, 6-25. สืบค้นจาก https://kkbsrs.kku.ac.th/jspui/handle/123456789/229

สุปรียา พัฒนพงศ์ธร, และศรัณย์ธร ศศิธนากรแก้ว. (2565). วิเคราะห์รูปแบบและเนื้อหาของการตลาดเชิง เนื้อหา ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อความภักดีต่อแบรนด์เครื่องสำอางไทย. วารสารมนุษยศาสตร์ วิชาการ, 29(1), 295-320.

หนึ่งฤทัย ใจขาน และรวิดา วิริยกิจจา. (2561). การรับรู้คุณค่าตราสินค้าส่งผลต่อความภักดีต่อตราสินค้าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคอลลาเจนผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. Rangsit Graduate Research Conference: RGRC, 13, 1129-1136.

อมรรัตน์ แย้มรส และรุจิภาส โพธิ์ทองแสงอรุณ. (2562). ความสัมพันธ์ของคุณภาพบริการคุณค่าตราสินค้าต่อความจงรักภักดีเชิงทัศนคติและเชิงพฤติกรรมของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่ได้มุ่งแสวงหากำไรในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 5(1), 50-62.

อรินทร์ อินทร์แจ้ง. (2561). อิทธิพลของคุณค่ารับรู้ด้านราคาคุณค่าที่ รับรู้ด้านอารมณ์และคุณภาพการ ให้บริการต่อความพึงพอใจความผูกพันและความจงรักภักดีของลูกค้าร้าน Amity coffee ในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. สืบค้นจาก http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3379

อุมาวรรณ วาทกิจ และรุ่งนภา กิตติลาภ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการตลาดเชิงเนื้อหากับความผูกพันของลูกค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของเจนเนอเรชั่น Z ในจังหวัดขอนแก่น. Journal of Buddhist Education and Research, 7(1), 143-156.

อุษนันท์ สามา. (2563). ความผูกพันของผู้ใช้บริการบริษัทขนส่งเอกชน Kerry Express ในเขตกรุงเทพมหานคร (Customer Engagement of Kerry Express in Bangkok). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นจาก https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3799

Aaker, D. A., & Equity, M. B. (1991). The free press. New York: NY.

Brakus, J.J., Schmitt, H.B. & Zarantonello, L. (2009). Brand experience: What is it? How is measured? Does it affect loyalty?. Journal of Marketing, 73, 52-68.

Bryce, D., Curran, R., O'Gorman, K., & Taheri, B. (2015). Visitors' engagement and authenticity: Japanese heritage consumption. Tourism Management, 46, 571-581.

Byrne, B. M., & Van de Vijver, F. J. (2010). Testing for measurement and structural equivalence in large-scale cross-cultural studies: Addressing the issue of nonequivalence. International Journal of Testing, 10(2), 107-132.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.

Cuong, P. H., Nguyen, O. D. Y., Ngo, L. V., and Nguyen, N. P. (2020). Not all experiential consumers are created equals: The interplay of customer equity drivers on brand loyalty. European Journal of Marketing, 54(9), 2257-2286. Retrieved from https://doi.org/10.1108/EJM-04-2018-0228. doi:10.1108/EJM-04-2018-0228

Ebrahim, R. S. (2020). The role of trust in understanding the impact of social media marketing on brand equity and brand loyalty. Journal of Relationship Marketing, 19(4), 287-308.

Fornell, C., & Larcker, D. F. (1981). Evaluating structural equation models with unobservable variables and measurement error. Journal of Marketing Research, 18(1), 39-50.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis. (7th ed). New Jersey: Pearson Prentice.

Hollebeek, L. D., & Chen, T. (2014) Exploring positively-versus negatively-valenced brand engagement: A conceptual model. Journal of Product & Brand Management, 23(1), 62-74.

Lin, H. C., Swarna, H., & Bruning, P. F. (2017). Taking a global view on brand post popularity: Six social media brand post practices for global markets. Business Horizons, 60(5), 621-633.

Lee, H. J., Lee, K. H., & Choi, J. (2018). A structural model for unity of experience: Connecting user experience, customer experience, and brand experience. Journal of Usability Studies, 11(1), 8-34.

OYTIP, M. N., & Panichpathom, S. (2020). The role of customer’s experience from augmented reality on purchase intention in shopping center. (Doctoral dissertation). Thammasat University, Bangkok.

Satvati, R. S., Rabie, M., & Rasoli, K. (2016). Studying the relationship between brand equity and consumer behavior. International Review, 1-2, 153-163.

Seo, E. J., & Park, J. W. (2018). A study on the effects of social media marketing activities on brand equity and customer response in the airline industry. Journal of Air Transport Management, 66, 36-41.

Touni, R., Kim, W. G., Choi, H. M., & Ali, M. A. (2020). Antecedents and an outcome of customer engagement with hotel brand community on Facebook. Journal of Hospitality & Tourism Research, 44(2), 278-299.

World Instant Noodles Association. (2021). Demand rankings. Retrieved from https://instant noodles.org/en/noodles/demand/table/

Yu, X., & Yuan, C. (2019). How consumers’ brand experience in social media can improve brand perception and customer equity. Asia Pacific Journal of Marketing and Logistics, 31(5), 1233-1251.

Zollo, L., Filieri, R., Rialti, R., & Yoon, S. (2020). Unpacking the relationship between social media marketing and brand equity: The mediating role of consumers’ benefits and experience. Journal of Business Research, 117, 256-267. Retrieved from https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0148296320302885. doi:https://doi.org/10.1016/j.jbusres.2020.05.001.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-16