ผลการศึกษาคุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพของผลิตภัณฑ์เปลือกส้มโอหยี

ผู้แต่ง

  • เชาวลิต อุปฐาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • สุธิดา กิจจาวรเสถียร อาจารย์ประจำ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • ปรัศนีย์ ทับใบแย้ม อาจารย์ประจำ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • เปรมระพี อุยมาวีรหิรัญ อาจารย์ประจำ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • สิรดนัย กลิ่นมาลัย นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ ฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • กฤตเมธ รองรัตน์ นักวิชาการศึกษา ฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • สุมภา เทิดขวัญชัย อาจารย์ประจำ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์เปลือกส้มโอขาว, ส้มโอหยี, เคมีผลิตภัณฑ์เปลือกส้มโอ

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสูตรพื้นฐานเปลือกส้มโอหยี 2) ศึกษาปริมาณที่เหมาะสมของเปลือกขาวส้มโอในผลิตภัณฑ์ 3) ศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพ และเคมีของผลิตภัณฑ์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ทดสอบชิมให้การยอมรับสูตรที่ 3 มากที่สุดในด้านลักษณะปรากฎ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม โดยมีค่าเฉลี่ย 8.19, 8.24, 8.02, 8.76, 8.72 และ 8.74 ตามลำดับ อยู่ในระดับความชอบมาก เมื่อนำมาวิเคราะห์ ความแปรปรวน และเปรียบเทียบความแตกต่างทางสถิติ พบว่าด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาปริมาณเปลือกขาวส้มโอที่แตกต่างกัน 4 ระดับ คือ ร้อยละ 0 ร้อยละ 40 ร้อยละ 60 และร้อยละ 80 ของปริมาณเนื้อมะขามทั้งหมด ผู้ทดสอบชิมให้การยอมรับที่ร้อยละ 60 มีความชอบมากที่สุดในด้านลักษณะปรากฎ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม โดยมีค่าเฉลี่ย 7.30, 7.35, 7.45,  7.50, 7.40 และ 7.43 ตามลำดับ อยู่ในระดับความชอบปานกลาง เมื่อนำมาวิเคราะห์ความแปรปรวน และเปรียบเทียบความแตกต่างทางสถิติ พบว่าด้าน สี รสชาติ เนื้อสัมผัส ของสูตรที่มีปริมาณเปลือกขาวส้มโอมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปริมาณเปลือกขาวส้มโอที่ต่างกัน ไม่มีผลต่อคะแนนความชอบ ด้านลักษณะปรากฏ กลิ่น และความชอบโดยรวมของหยีเสริมเปลือกขาวส้มโอ จากผลของคะแนนความชอบที่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบว่าผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของหยีเสริมเปลือกขาวส้มโอสูตรที่ 3 (60%) พลังงาน ร้อยละ 269 ไขมัน ร้อยละ 0.20 โปรตีน ร้อยละ 0.50 คาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 66.20 น้ำตาล ร้อยละ 52.30 โซเดียม ร้อยละ 84 ความชื้น ร้อยละ 32.42 และเถ้า ร้อยละ 0.73 คุณสมบัติทางกายภาพพบว่า มีค่าความสว่าง (L*) 26.65 ค่าสีเขียว (a*) 6.08 และค่าสีเหลือง (b*) 4.66 ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการช่วยเรื่องการนำวัสดุเหลือใช้ของเปลือกส้มโอมาสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่และสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการและเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีใยอาหารและสารอาหาร และมีสารต้านอนุมูลอิสระ ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกาย สามารถนำข้อมูลที่ได้รับไปเป็นแนวทางในการนำเปลือกส้มโอไปใช้ประโยชน์ในผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้ อาทิเช่น อาหารคาว หวาน และเครื่องดื่ม เป็นต้น

References

าวลิต อุปฐาก, วไลภรณ์ สุทธา และปานทิพย์ ผดุงศิลป์. (2556) การศึกษากรรมวิธีการทำเปลือกส้มโอแตงโมปรุงรส (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ฐานิตย์ แม่บ้านพอเพียง. (2564). วิธีทำมะขามแก้ว 4 รส. สืบค้นจาก https://pantip.com/topic/39674308

ธิดารัตน์ แสนพรม. (2565). ผลของปริมาณงาขี้ม้อนต่อคุณสมบัติทางกายภาพ ทางประสาทสัมผัส และคุณค่าทางโภชนาการของเค้กฟลาวมันสำปะหลัง ด้วยการใช้ไมโครเวฟในการอบ. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 28(4), 88-99.

มิชากา (สูตรอาหาร ทำมาหากิน). (2557). สูตรมะขามแก้ว. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/foodtummahakin

มธุรส รัตนวงศ์สนิท. (2562). การพัฒนาผลิตภัณฑ์การแปรรูปผลมะม่วงหาวมะนาวโห่ (Carissa carandas) ในระยะผลกึ่งสุกและระยะผลสุก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, ปทุมธานี.

ลำดวน. (2565). มะขามแก้ว. สืบค้นจาก https://www.sgethai.com/article/tamarind-candy/

วันเพ็ญ แสงทองพินิจ. (2553). การเสริมใยอาหารจากเปลือกส้มโอในผลิตภัณฑ์หมูยอ. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48: อุตสาหกรรมเกษตร. (น.269-276). กรุงเทพฯ, ประเทศไทย. สืบค้นจาก https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/index.php?/BKN/search_detail/result/12153

วันเพ็ญ แสงทองพินิจ, มนตรา ล่วงลือ, ปวีนา สมบูรณ์ผล และสละ บุตรโชติ. (2557). หมูแท่งเสริมใยอาหารจาก เปลือกส้มโอส่วนขาว. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 9(2), 8-18.

ศูนย์ราชการจังหวัดนครปฐม. (2560). ส้มโอ. สืบค้นจาก https://nakhonpathom.go.th/rspg/plant/detail/9

เสาวภา ไชยวงศ์, ธีรพงษ์ เทพกรณ์, สุจริต ส่วนไพโรจน์, โรมรัน ชูศรี และ อุไรวรรณ ขุนจันทร์. (2553). การประเมินสารออกฤทธิ์สำคัญในกลุ่ม Flavonoids และ Anthocyanins ของส้มโอพันธุ์ทองดี พันธุ์ขาวน้ำผึ้ง พันธุ์ขาวแตงกวา พันธุ์ขาวใหญ่ และพันธุ์ทับทิมสยามที่ปลูกในไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

อภิรักษ์ เพียรมงคล. (2549). การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตเส้นใยอาหารผงจากกากส้มเขียวหวาน กากส้มสายน้ำผึ้ง กากส้มสีทอง และเปลือกในส้มโอ. (รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.

อภิญญา มานะโรจน์, วไลภรณ์ สุทธา, เจตนิพัทธ์ บุณยสวัสดิ์, ปรัศนีย์ ทับใบแย้ม, เชาวลิต อุปฐาก, และจักราวุธ ภู่เสม. (2558). การศึกษากากมะขามเปียกเหลือใช้ในผลิตภัณฑ์มะขามแก้วของวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกร สวนเก้าแสน (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Monkeytan. (2562). วิธีทำมะขามคลุก กินเพลินจนเบรกแตก. สืบค้นจาก https://food.mthai.com/easy-menu/141891.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-16