พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • จิฑาภรณ์ ยกอิ่น อาจารย์ประจำ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • บุญประจักษ์ จันทร์วิน อาจารย์ประจำ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการป้องกันตนเอง, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง, ความเชื่อด้านสุขภาพ, โรคโควิด-19

บทคัดย่อ

         การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความเชื่อด้านสุขภาพ 2) พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 และ 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 419 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.835 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Multiple Logistic Regression โดยนำเสนอค่าสถิติ Adjusted OR, OR และ 95% Confidence interval

         ผลการวิจัย พบว่า ความเชื่อด้านสุขภาพส่วนใหญ่ที่อยู่ในระดับสูง ได้แก่ การรับรู้ประโยชน์ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล แรงจูงใจด้านสุขภาพ และการรับรู้ความรุนแรง (ร้อยละ 88.31, 81.62, 78.76 และ 69.93 ตามลำดับ) สำหรับการรับรู้อุปสรรคและการรับรู้โอกาสเสี่ยง ส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 77.57 และ 53.46) พฤติกรรมการป้องกันตนเองส่วนใหญ่อยู่ในระดับเหมาะสม (ร้อยละ 54.65) ซึ่งมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับระดับต้องปรับปรุง (ร้อยละ 45.35) เมื่อวิเคราะห์พหุตัวแปร พบว่า การรับรู้โอกาสเสี่ยงระดับสูง (AOR= 1.90; 95%CI= 1.19-3.02) การรับรู้ความรุนแรงระดับสูง (AOR= 1.96; 95%CI= 1.19-3.22) การรับรู้อุปสรรคระดับสูง (AOR= 1.80; 95%CI= 1.02-3.16) แรงจูงใจด้านสุขภาพระดับสูง (AOR= 1.80; 95%CI= 1.02-3.16) และสัมพันธภาพระหว่างบุคคลระดับสูง (AOR= 2.65; 95%CI= 1.44-4.88) มีโอกาสที่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจะมีพฤติกรรมที่เหมาะสมกว่า 1.90, 1.96, 1.80 และ 2.65 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่อยู่ในระดับต่ำ

         จากผลวิจัยควรนำความเชื่อด้านสุขภาพมาประยุกต์ใช้เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับรู้การปฏิบัติที่ถูกต้อง ทั้งนี้ แรงจูงใจก็มีส่วนสำคัญ ฉะนั้นจึงควรจะต้องกระตุ้นให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันตนเอง และควรสร้างความตระหนักให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองที่ถูกต้อง

References

กรมควบคุมโรค. (2563). แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด-19 สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง. สืบค้นจาก https://www.ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/int_protection/int_protection_030164.pdf

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุข เพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด-19. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับที่ 436. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กรวิกา พรหมจวง, เกียรติศักดิ์ แซ่อิว และสิตานันท์ จันทร์โต. (2564). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 32(2), 233-246.

ประภัสสร เรืองฤาหาร, วรินท์มาศ เกษทองมา และวุธิพงศ์ ภักดีกุล. (2565). พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ในจังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 15(2), 254-268.

รินธรรม จารุภาชน์, นงนุช สุรัตนวดี, วิภาพร ต้นภูเขียว, เนตรชนก พันธุ์สุระ, ณัฏฐดา สวนไผ่ และอรทัย ปรีดีย์. (2565). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้มารับบริการคลินิกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสกลนคร. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 29(1), 71-81.

ศศิกานต์ สิงห์พุ้ย, คณิศร์ณิชา นฤวัตไพศาล, ปริยฉัตร อุ่นสงคราม, ลมัยพร ประสารวงษ์ และศิริชัย จันพุ่ม. (2566). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้มารับบริการคลินิกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสกลนคร. วารสารสาธารณสุขและสังคมวิทยา, 1(2), 11-20.

สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดนครศรีธรรมราช. (2564). รายงานประจำปี 2564. นครศรีธรรมราช: สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดนครศรีธรรมราช.

อภิวดี อินทเจริญ, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ, กัลยา ตันสกุล และสุวรรณา ปัตตะพัฒน์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ จังหวัดสงขลา. วารสารสภาสาธารณสุขชุมชน, 3(2), 19-30.

British Broadcasting Corporation News, Robert Cuffe. (2020). Coronavirus death rate: What are the chances of dying?. England: London.

Becker, M. H. & Maiman, L. A. (1975). The health belief model: Origins and correlation in psychological theory. Health Education Monography, 2, 336-385.

Best, J. W. (1977). Research in education. (3nd ed). Englewod Cliffs: Prentice-Hall.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activites. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Lippi, G., Wong, J., & Henry, B. M. (2020). Hypertension in patients with coronavirus disease 2019 (COVID 19): A pooled analysis. Polish Archives of Internal Medicine, 130(4), 304-309.

Schiffrin, E, L., Flack, J. M., Lto, S., Muntner, P., & Webb, R. C. (2020). Hypertension and COVID-19. American Journal of Hypertension, 33(5), 373–374.

World Health Organization. (2020). Coronavirus. Geneva: World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-16