การพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวสูงวัย ในเมืองมรดกโลกสำหรับนักท่องเที่ยวสูงวัย (อำเภอพระนครศรีอยุธยา)

ผู้แต่ง

  • กำธร แจ่มจำรัส อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • ญาณิศา เผื่อนเพาะ อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การพัฒนาและยกระดับ, การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, นักท่องเที่ยวสูงวัย

บทคัดย่อ

         บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบและผลิตภัณฑ์ของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเมืองมรดกโลกสำหรับนักท่องเที่ยวสูงวัย 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเมืองมรดกโลกสำหรับนักท่องเที่ยวสูงวัย 3) พัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวสูงวัยในเมืองมรดกโลกสำหรับนักท่องเที่ยวสูงวัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods research) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ เลือกเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 410 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Independent และ ANOVA ใช้ค่าสถิติ T-test และ F-test การวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มย่อย การสนทนากลุ่ม และใช้การตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูล (Data triangulate) เป็นการพิสูจน์ความถูกต้องของของข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า

         1) รูปแบบและผลิตภัณฑ์ของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเมืองมรดกโลกสำหรับนักท่องเที่ยวสูงวัย ที่ค้นพบสามารถแยกออกเป็น 3 ประเภทหลัก (1) ผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารและขนมไทย (2) ผลิตภัณฑ์ประเภทกลุ่มสมุนไพร (3) ผลิตภัณฑ์ประเภทของใช้ของตกแต่ง 

         2) การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเมืองมรดกโลกสำหรับนักท่องเที่ยวสูงวัย พบว่ารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ต้องการคือ การใช้บริการทานอาหารหรือเครื่องดื่มในร้านอาหารชีวจิต รองลงมาคือ ด้านการใช้บริการยาดมสมุนไพรจากธรรมชาติ

         3) ผู้วิจัยได้โมเดลกระบวนการพัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และจากกระบวนการพัฒนาได้ผลลัพธ์จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ช่วยตอบโจทย์กลุ่มการท่องเที่ยวสูงวัย คือ ผลิตภัณฑ์ยาหม่องใบหูเสือ ยาหม่องน้ำใบหูเสือ และชาใบหม่อน

         ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ส่งผลให้เกิดการพัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพช่วยเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน และกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนสามารถนำผลการวิจัยไปพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นได้เพิ่มขึ้น

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทย ให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (MEDICAL HUB) (พ.ศ.2560 - 2569). สืบค้นจาก https://hss.moph.go.th/fileupload/2560-102.pdf

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและความงาม แผนย่อยที่ 3. สืบค้นจาก https://ppi.psu.ac.th/upload/forum/20_2561-2580.pdf

กำธร แจ่มจำรัส, นันทนิธิ์ เอิบอิ่ม, ญาณิศา เผื่อนเพาะ และฤดี เสริมชยุต. (2565). การยกระดับและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ของฝากของที่ระลึกของแหล่งท่องเที่ยวสัมผัสเสน่ห์วิถีชีวิตเมืองกรุงเก่าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารศิลปการจัดการ, 6(3), 1586-1603. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jam/article/view/257035/173460

กันตนา ภัทรโพธิวงศ์, ภูริวัจน์ ปุณยวุฒิปรีดา และประพจน์ สุปภาโต. (2564). การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงรักษาสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ของชุมชนยายชาอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 6(2), 145-155.

จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นจาก http://www.mis.ms.su.ac.th/MISMS01/PDF03/132_20190626_.pdf

ชัยนันต์ ไชยเสน. (2562). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและนวัตกรรมการพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพ สำหรับโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต. วารสาร Veridian E-Journal, 12(5), 262-282.

โชติมา ดีพลพันธ์ และแสงแข บุญศิริ. (2565). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านไผ่หูช้าง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 28(3), 130-145.

ธนรัตน์ รัตนพงศ์ธระ, เสรี วงษ์มณฑา, ชุษณะ เตชคณา และณัฐพล ประดิษฐผลเลิศ. (2559). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ์, 4(2), 34-45.

นฤมล รัตนไพจิตร, ราตรี เขียวรอด และตรีวนันท์ เนื่องอุทัย. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 9(3), 692-704.

นรินทร์สิรี เชียงพันธ์ และรักษ์พงศ์ วงศาโรจน์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเพศหญิง ชาวต่างชาติในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 13(2), 105-123.

วารีพร ชูศรี และวรลักษณ์ ลลิตศศิวิมล. (2563). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ: ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 7(2), 205-207.

อนงค์ ศรีโสภา และกาญจนา วงศ์กระจ่าง. (2562). การพัฒนาสูตรชาสมุนไพรใบหม่อนผสมสมุนไพรให้กลิ่นหอม ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านเอนไซม์กลูโคซิเดส. Thai Journal of Science and Technology (TJST), 9(2), 218-299.

อุษณีย์ ศรีภูมิ. (2544). ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวทัศนศึกษาในเขตฐานทัพเรือสัตหีบ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Lee, J. and Kim, H. B. (2015). Success factors of health tourism: Cases of Asian Tourism Cities. International Journal of Tourism Cities, 1(3), 216-233.

Wiltshier, P. (2019). Managing tourism across boundaries through communities University of Derby. (Doctoral Dissertation, University of Derby). Retrieved from https://ethos.bl.uk/OrderDetails.do?uin=uk.bl.ethos.783356

Zhong, L., Sun, S., Law, R., Li, X. and Deng, B. (2023). Health tourism in China: A 40-year bibliometric analysis. Tourism Review, 78(1), 203-217.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-16