ผลของโปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการป้องกัน ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในสตรีกลุ่มเสี่ยง
คำสำคัญ:
โปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจ, ครรภ์, การคลอดก่อนกำหนดบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดของสตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม เพื่อติดตามอุบัติการณ์การคลอดก่อนกำหนดของสตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดและเพื่อประเมินความพึงพอใจของสตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดหลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 20 คน จากสตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดอย่างน้อย 1 ข้อ ที่มารับบริการในคลินิกฝากครรภ์โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิแอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha Coefficient) เท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติที ผลการวิจัยพบว่า 1) สตรีตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดหลังเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจ (M=83.55, S.D.= 3.66) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (M =70.45, S.D.=6.47) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 2) กลุ่มตัวอย่างมีอุบัติการณ์การคลอดก่อนกำหนดเท่ากับร้อยละ 5 และ 3) สตรีตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงมีความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรมในระดับดี
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในสตรีกลุ่มเสี่ยง สามารถช่วยให้สตรีตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยง มีพฤติกรรมป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดดีขึ้น จากการสื่อสาร ให้ข้อมูล ที่เน้นให้เกิดความกลัวต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดจนเกิดความเชื่อ ทัศนคติ ว่าการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดเป็นอันตรายต่อตนเองและทารก การสื่อสารผ่านทางแอปพลิเคชันไลน์ที่ประกอบด้วยการส่งข้อความ ข้อความเสียง รูปภาพ สติ๊กเกอร์ และวิดีทัศน์ เป็นการกระตุ้นให้กลุ่มตัวอย่างเกิดการเรียนรู้ได้โดยสะดวก ไม่จำกัดเวลา ดังนั้นพยาบาลจึงควรนำโปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจไปใช้เพื่อส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เพื่อช่วยให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ช่วยป้องกันและลดความรุนแรงได้
References
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2560). สถิติกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและแผน.
กรรณิกา ฉายยิ่งเชี่ยว, สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล และสุพรรณี อึ้งปัญสัตวงศ์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในมารดาอายุมาก. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 26(3), 196–207.
กรรณิกา เพ็ชรักษ์, อุตม์ชญาน์ อินเรือง และฝนทอง จิตจำนง. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การคลอดก่อนกำหนดและพฤติกรรมการป้องการคลอดก่อนกำหนดในมารดาหลังคลอด. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 34(1), 87-100.
โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ : HITAP. (2562). Policy Brief ฉบับที่ 55: มาตรฐานการป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. สืบค้นจาก https://www.hitap.net/documents/173868
โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ : HITAP. (2562). ลดเสี่ยงคลอดลูก ด้วย QS ป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. สืบค้นจาก https://www.hitap.net/174613
ชเนนทร์ วนาภิรักษ์ และธีระ ทองสง. (2555). การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. ใน ธีระ ทองสง (บ.ก.), สูติศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ลักษมีรุ่ง.
ชลธิชา รักษาธรรม, ทวีศักดิ์ กสิผล และกมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม. (2561). แนวปฏิบัติการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดอย่างต่อเนื่อง. วารสารพยาบาลกองทัพบก, 19(ฉบับพิเศษ), 348-356.
ฐิรวรรณ บัวแย้ม, เพียงบุหลัน ยาปาน และสุจิตตรา พงศ์ประสบชัย. (2562). การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มี ภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 25(3), 243-254.
ประชุมพร สุวรรณรัตน์, ทิพย์วรรณ บุณยาภรณ์ และศศิธร คำพันธ์ (2565). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมศักยภาพสตรีตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ต่ออัตราการเกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดและการคลอดก่อนกำหนด. วารสารการพยาบาลสุขภาพและการศึกษา, 5(3), 81-91.
พิมพ์ลดา อนันต์สิริเกษม, พลอยประกาย ฉลาดล้น, รุจา แก้วเมืองฝาง, สถิรกานต์ ทั่วจบ และนวลอนงค์ ศรีสุกไสย. (2563). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมแรงจูงใจในการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(10), 248-265.
ระบบฐานข้อมูลโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์. (2564). สถิติการคลอดก่อนกำหนด. 2561-2563. ประจวบคีรีขันธ์: โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์.
ราชวิทยาสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. (2558). การดูแลรักษาภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและถุงน้ำคร่ำรั่วก่อนกำหนด. สืบค้นจาก https://pct.yahahospital.com/pct/cpg/Preterm.pdf
ศิริลักษณ์ สุมาดน และญาณัชฌาน์ แก้วตา. (2565). การส่งเสริมแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคโควิด 19 ในเด็กป่วยเรื้อรัง : บทบาทพยาบาล. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 49(3), 389- 399.
สามารถ อัยกร. (2558). โปรแกรมไลน์กับการติดต่อสื่อสารในองค์กร. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 9(1), 102-108. สืบค้นจาก http://journal.nmc.ac.th/th/admin/Journal/2558Vol9No1_17.pdf
สายพิณ พงษธา. (2561). ความรู้จากแพทย์ศรีพัฒน์ “คำแนะนำหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด”. สืบค้นจาก https://sriphat.med.cmu.ac.th/th/knowledge-259
หทัยรัตน์ เรืองเดชณรงค์ และธีระ ทองสง. (2560). Update in preterm labor. สืบค้นจาก https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/update-in-preterm-labor&catid=45&Itemid=561
อังสุมาลิน ศรีจรูญ, จิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ และวราภรณ์ บุญเชียง. (2560). ผลของการสร้างแรงจูงใจในการป้องกันต่อการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อและอุบัติการณ์การติดเชื้อของผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง. พยาบาลสาร, 44(2), 104-114.
อัสมะ จารู, วรางคณา ชัชเวช และสุรีย์พร กฤษเจริญ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่ประสบความสำเร็จในการยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 39 (1), 79-92.
Mackay, B.C. (1992). AID and protection motivation theory (PMT): Effects of imagined scenarios on intent to use condom. Michigan: A Bell and Howell.
Roger, R.W. (1983). Cognitive and physiological process in fear appeals and attitude change: A revised theory of promotion motivation. In J. T. Cacioppo & R.E. Petty (Eds), Social psychophysiology: A sourcebook. (pp. 153-176). New York: Guilford.
World Health Organization. (2012). Born too soon: The global action report on preterm birth. Geneva: World Health Organization.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.