การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยการผ่าตัดมะเร็งตับโดยการส่องกล้อง และต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผ่าตัด สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
คำสำคัญ:
ต้นทุนต่อหน่วยการผ่าตัดมะเร็ง, มะเร็งตับ, การส่องกล้อง, ต้นทุนกิจกรรม, การพยาบาลผ่าตัดบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา (Descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนต่อหน่วยการผ่าตัดมะเร็งตับโดยการส่องกล้องและศึกษาต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผ่าตัด สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ทำการศึกษาย้อนหลังในการเก็บรวบรวมข้อมูลค่าแรง ค่าวัสดุ และค่าลงทุน ย้อนหลังในปีงบประมาณ 2564 และศึกษาต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผ่าตัดด้วยการสังเกตการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลผ่าตัด ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) ข้อมูลต้นทุนค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าลงทุน และสถิติผู้ป่วยที่มารับบริการผ่าตัด ของปีงบประมาณ 2564 2) พยาบาลห้องผ่าตัดที่ขึ้นปฏิบัติงานระหว่างเก็บข้อมูล จำนวนทั้งสิ้น 25 คน และ 3) ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผ่าตัด โดยการสังเกตการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลที่พยาบาลปฏิบัติแก่ผู้ป่วยทั้งสิ้น 295 ราย ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน-31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชุด ประกอบด้วย ชุดที่ 1 แบบบันทึกข้อมูลต้นทุนต่อหน่วยบริการงานการพยาบาลผ่าตัด ชุดที่ 2 พจนานุกรมกิจกรรมการพยาบาลผ่าตัดห้องผ่าตัด สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ชุดที่ 3 แบบบันทึกข้อมูลต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผ่าตัด โดยผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงของเนื้อหาได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.96 และเครื่องมือชุดที่ 3 ในส่วนแบบบันทึกปริมาณเวลาที่ใช้ในการสังเกตการปฏิบัติกิจกรรม มีความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.90 ผลการวิจัยพบว่า ต้นทุนต่อหน่วยของงานการพยาบาลผ่าตัด สถาบันมะเร็งแห่งชาติ มีมูลค่าต้นทุนเฉลี่ยเท่ากับ 41,988.97 บาท โดยต้นทุนรวมทางตรงมีอัตราส่วนของต้นทุนค่าแรง: ค่าลงทุน: ค่าวัสดุ คิดเป็นร้อยละ 10.07: 83.32: 6.61 ต้นทุนต่อหน่วยการผ่าตัดสาขามะเร็งตับมีต้นทุนต่อหน่วยสูงสุดเท่ากับ 247,634.24 บาท ด้านต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผ่าตัดจำแนกตามระยะการผ่าตัด สถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า กิจกรรมการพยาบาลระยะผ่าตัด มีค่าสูงสุดเท่ากับ 6,316.85 บาท รองลงมาคือ ระยะหลังผ่าตัดมีค่าเท่ากับ 25.53 บาท และกิจกรรมการพยาบาลก่อนผ่าตัดมีต้นทุนต่ำสุดมีค่าเท่ากับ 14.30 บาท โดยทุกสาขาการผ่าตัดมีต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลระยะผ่าตัดสูงสุด การผ่าตัดสาขามะเร็งปอด มีต้นทุนสูงสุดในทุกระยะของการผ่าตัด และการผ่าตัดสาขามะเร็งทางเดินอาหาร มีต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลระยะก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัดต่ำที่สุด
ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ ที่ผู้บริหารควรให้ความสำคัญในการบริหารอัตรากำลังให้เพียงพอ เหมาะสมกับภาระงาน มีการกำหนดหน้าที่ในการปฏิบัติงานที่ชัดเจน พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการผ่าตัด และมีการพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานด้วยระบบพี่เลี้ยง (มืออาชีพ) โดยเฉพาะในส่วนของการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลระยะผ่าตัด เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ใช้ต้นทุนมาก เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานของพยาบาลผ่าตัดให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นต่อไป
References
การะเกด คีรีรักษ์. (2562). การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลการจัดการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยคริสเตียน, นครปฐม.
จักรกฤษณ์ หงส์ทอง และนุศราพร เกษสมบูรณ์. (2564). การวิเคราะห์ต้นทุนแบบอิงกิจกรรมของการตัดสินใจแบบมีส่วนร่วมจากผู้ป่วยจิตเภทที่มีความยุ่งยากซับซ้อนในการบริบาลทางเภสัชกรรมเฉพาะสาขาจิตเวช. วารสารเภสัชกรรมไทย, 13(1), 66-73.
ธัญเดช นิมมานวุฒิพงษ์, ทวี รัตนชูเอก, กิตติวัฒน์ มะโนจันทร์ และวิบูลย์ ภัณฑบดีกรณ์. (2564). ข้อเสนอแนะด้านการพัฒนาระบบบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ (One day surgery: ODS) และการผ่าตัดแผลเล็ก (Minimal invasive surgery: MIS) ปี 2565. กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. (2546, 9 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอนที่ 100 ก. หน้า 6.
เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. (2558). เศรษฐศาสตร์สุขภาพสำหรับการจัดบริการสุขภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). สงขลา: ชาญเมืองการพิมพ์.
ไพรสุดา บัวลอย, จริยา แซ่โง้ว, สิริพงศ์ ชีวธนากรณ์กุล, ศุภวัฒน์ เลาหวิริยะกมล และนันท์อัคร วิบูลย์ขวัญ. (2560). การพยาบาลศัลยศาสตร์และห้องผ่าตัดทันยุค 3. กรุงเทพฯ: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์ (1992) จำกัด.
ระวิศักดิ์ จันทร์วาสน์, หนึ่งฤทัย โอฬารนภาลัย, ชัยรัตน์ บุญเฉลียว และรพีพัฒน์ ถนอมเพ็ชรสง่า. (2562). Atlas of Laparoscopic Liver Resection. กรุงเทพ: สายธุรกิจการพิมพ์ บริษัทอัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง จำกัด.
วันชัย ริจิรวนิช. (2550). การศึกษาเวลาทำงานหลักการและกรณีศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริรัตน์ จึงสมาน. (2558). การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยและต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผ่าตัด ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลสุรินทร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2564). ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานดิจิทัลการแพทย์, สถาบันมะเร็งแห่งชาติ.
สุปรีชา อัศวกาญจน์. (2565). เทคโนโลยีผ่าตัดตับแบบแผลเล็ก ด้วยโปรแกรม ERAS ช่วยฟื้นตัวไว. สืบค้น10 มีนาคม 2565, จาก http://www.khaosod.co.th/pr-newa/news_7186652
อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. (2539). คู่มือวิเคราะห์ต้นทุนโรงพยาบาลทั่วไป. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.
Cleland, Virginia S. & McKibbin, Richard C. (1990). The economic of nursing. Norwalk, Conn: Appleton & Lange.
Folland. S., Goodman, A. C. & Stano, M. (2001). The economics of health and health care. New Jersey: Pearson Education, Inc.
J. Rojanamatin, W. Urranum, P. Supaattagorn, I. Chiawiriyabunya, M. Wongsena, A. Chaiwerawattana, P. Laowahutanont, … R. Buasom. (2021). Cancer in Thailand (Vol.X 2016-2018). Bangkok: National Cancer Institute.
Kaplan, R. S. & Cooper, R. (1998). Cost and effect: Using integrated cost system to drive profitability and performance. Boston: Harvard Business school press.
Zweifel, P., Breyer, F., & Kifmann, M. (2009). Health economics. Berlin Heidelberg: Springer.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.