ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวาน ของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2
คำสำคัญ:
สมรรถนะแห่งตน, พฤติกรรมการควบคุมโรค, ผู้สูงอายุ, โรคเบาหวานชนิดที่ 2บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวานของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 คัดเลือกอาสาสมัครจากผู้ป่วยที่เข้ารับบริการ ณ ห้องตรวจต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสมโรงพยาบาลวชิรพยาบาล จำนวน 54 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 27 คน ดำเนินการวิจัยในกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับการพยาบาลตามปกติจนครบ แล้วจึงเก็บข้อมูลในกลุ่มทดลองซึ่งได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนตามแนวคิดการรับรู้ความสามารถของตนของแบนดูรา (Bandura, 1997) ที่ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) ส่งเสริมด้วยการใช้คำพูดชักจูง 2) ส่งเสริมด้วยการได้เห็นตัวแบบหรือประสบการณ์ของบุคคลอื่น 3) ส่งเสริมด้วยการให้ประสบการณ์ที่กระทำสำเร็จด้วยตนเอง 4) ส่งเสริมสภาวะทางร่างกายและอารมณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนที่มีค่าความตรง 0.92 ความเที่ยง 0.87 3) แบบสอบถามพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวานที่มีค่าความตรง 0.96 ความเที่ยง 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติที และสถิติไคสแควร์
ผลการวิจัยพบว่า หลังได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวานสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-24.07, p=<.001), (t=17.96, p= .002) ตามลำดับ ผลการวิจัยนี้พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์สามารถนำไปใช้ส่งเสริมพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวาน โดยให้ความรู้ควบคู่ไปกับฝึกทักษะ การกำกับติดตามส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวานได้
References
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2557). คู่มือการคัดกรอง/ประเมินผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการ โรงพิมพ์สงเคราะห์องค์การทหารผ่านศึก.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สืบค้น 25 กันยายน 2564, จาก https://cdn.who.int/media/docs/default-source/searo/thailand/2021_09_16_tha-sitrep-201-covid19.pdf
กรองแก้ว พรหมชัยศรี, สงวน ลือเกียรติ บัณฑิต และวรนุช แสงเจริญ. (2562). ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อความสามารถในการใช้ยาฉีดอินซูลินชนิดปากกาในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2: การทดลองเชิงสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม. วารสารเภสัชกรรมไทย, 11(3), 648-658.
กลุ่มฟื้นฟูสมรรถภาพสมอง. (2537). แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุไทย. สารศิริราช, 46(1), 1-9.
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). สถานการณ์การดำเนินงานด้านการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ (NCDs). สืบค้น 20 มิถุนายน 2563, จาก http://www.thaincd.com/document/fifile/download/paper-manual/NCDUNIATF61.pdf
คณะกรรมการจัดทำแบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย พ.ศ. 2542 สถาบันเวชสาสตร์ผู้สูงอายุ. (2543). แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย MMSE-Thai 2002/คณะกรรมการจัดทำแบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับบภาษาไทย พ.ศ. 2542 สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. นนทบุรี: สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
ณภัสวรรณ ธนาพงษ์อนันท์, ประสานศิลป์ คำโฮง และวรพล แวงนอก. (2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองที่มีต่อพฤติกรรมการส่งเสริมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 14(1), 106-118.
ธีรพล ผังดี, ณัฐกฤตา ศิริโสภณ, ประเสริฐศักดิ์ กายนาคา, อลิสา นิติธรรม และสายสมร เฉลยกิตติ. (2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(ฉบับพิเศษ), 291-298.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2563). ขนาดอิทธิพล การวิเคราะห์อำนาจ การคำนวณขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมโดยใช้โปรแกรม G*Power. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปริยากร วังศรี. (2559). ผลของโปรแกรมการส่งสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมในการควบคุมภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยคริสเตียน, นครปฐม.
รติกร พลรักษ์. (2557). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อความสามารถในการฉีดอินซูลินแบบปากกาและระดับน้ำตาลในเลือดของสูงอายุที่เป็นเบาหวาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. (2543). การสำรวจภาวะสมองเสื่อมผู้สูงอายุไทย 2543/คณะกรรมการจัดทำแบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้น [ฉบับภาษาไทย] พ.ศ. 2542. นนทบุรี: สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2560. ปทุมธานี: ร่มเย็นมีเดีย.
สุภาพร คำสม และแสงทอง ธีระทองคำ. (2560). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบแกว่งแขนต่อระดับน้ำตาลสะสมในเลือดและภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชน. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย, 4(2), 46-60.
หนูรัก พิมพ์ศรี และ วิลาวัณย์ ชมนิรัตน์. (2559). ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือด. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 34(3), 25-31.
อรพินท์ สีขาว. (2558). การจัดการโรคเบาหวาน : มิติของโรคและบทบาทพยาบาล. สมุทรปราการ: โครงการสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
American Diabetes Association. (2018). Lifestyle management: Standards of medical care in diabetes-2018. Diabetes Care, 41(Supplement 1), S38-S50.
Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman and Company.
Esposito, K., Maiorino, M. I., Ceriello, A., & Giugliano, D. (2010). Prevention and control of type 2 diabetes by Mediterranean diet: A systematic review. Diabetes Research and Clinical Practice, 89(2), 97-102.
Huang, X. L., Pan, J. H., Chen, D., Chen, J., Chen, F., & Hu, T. T. (2016). Efficacy of lifestyle interventions in patients with type 2 diabetes: A systematic review and meta-analysis. European Journal of Internal Medicine, 27, 37-47.
International Diabetes Federation. (2019). IDF Diabetes atlas ninth edition 2019. Retrieved 14 June 2021, from https://www.diabetesatlas.org/en/
Oliveira, C., Simões, M., Carvalho, J., & Ribeiro, J. (2012). Combined exercise for people with type 2 diabetes mellitus: A systematic review. Diabetes Research and Clinical Practice, 98(2), 187-198.
World Health Organization. (2021). Noncommunicable diseases. Retrieved 18 June 2021, from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/noncommunicable-diseases
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.