ผลกระทบของการตรวจสอบภายในตามแนวคิดสมัยใหม่และนโยบายผู้บริหารที่มีต่อ ความสำเร็จในการตรวจสอบภายในของสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • รัตนาภรณ์ สีเนียม นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • พรรณนภา เชื้อบาง อาจารย์ประจำหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • วรพรรณ รัตนทรงธรรม อาจารย์ประจำหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

การตรวจสอบภายในตามแนวคิดสมัยใหม่, นโยบายผู้บริหาร, ประสิทธิภาพการตรวจสอบภายใน, ประสิทธิผลการตรวจสอบภายใน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการตรวจสอบภายในตามแนวคิดสมัยใหม่และนโยบายผู้บริหารที่มีต่อความสำเร็จในการตรวจสอบภายในของสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐในประเทศไทย เก็บข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบภายในสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐในประเทศไทย จำนวน 403 คน โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามกลับคืนมาเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 221 คน คิดเป็นอัตราตอบกลับร้อยละ 54.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และ
การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า การตรวจสอบภายในตามแนวคิดสมัยใหม่ ด้านการตรวจสอบเชิงรุกแบบก้าวหน้า (b3=0.134, p<0.10) การบูรณาการความรู้ตรวจสอบภายใน (b5=0.229, p<0.05) การพัฒนางานให้ทันสมัย (b6=0.197, p<0.05) การดำเนินงานตรวจสอบภายในที่ดี (b7=0.262, p<0.01) นโยบายผู้บริหาร (b8=0.139, p<0.05) และการตรวจสอบเชิงรุกแบบก้าวหน้าร่วมกับนโยบายผู้บริหาร (b11=0.132, p<0.10) มีผลกระทบเชิงบวกต่อความสำเร็จในการตรวจสอบภายในของสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐในประเทศไทย ด้านประสิทธิภาพการตรวจสอบภายใน นอกจากนี้การตรวจสอบภายในตามแนวคิดสมัยใหม่ ด้านการบูรณาการความรู้ตรวจสอบภายใน (b20=0.185, p<0.05) การพัฒนางานให้ทันสมัย (b21=0.223, p<0.01) การดำเนินงานตรวจสอบภายในที่ดี (b22=0.302, p<0.01) และนโยบายผู้บริหาร (b23=0.143, p<0.05) มีผลกระทบเชิงบวกต่อความสำเร็จในการตรวจสอบภายในของสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐในประเทศไทย ด้านประสิทธิผลการตรวจสอบภายใน จากข้อค้นพบในงานวิจัยครั้งนี้สามารถเป็นแนวทางให้สถาบันอุดมศึกษาภาครัฐในการพัฒนากระบวนการตรวจสอบภายในให้ทันสมัยจนเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยเพิ่มคุณค่าและปรับปรุงการปฏิบัติงานของสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐให้ดีขึ้น จนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้

References

กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง. (2561). หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: กระทรวงการคลัง.

ฐิติรัตน์ มีมาก. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในของสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 4(1), 24-39.

นิคม ถนอมเลี้ยง. (2550). การตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถาม. ขอนแก่น: ภาควิชาสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประไพพรรณ โสภา, ขจิต ณ กาฬสินธุ์ และอุระวี คำพิชิต. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้ทางการตรวจสอบภายในกับประสิทธิผลการตรวจสอบภายในของผู้ตรวจสอบภายในสถาบัน อุดมศึกษาในประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 13(1), 65-84.

ประภาพร มาชัยภูมิ และพิเชษฐ์ โสภาพงษ์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในของกองทัพบก, ใน ดวงสมร รุ่งสวรรค์โพธิ์ (บ.ก.), การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2019 (น. 702-709). กรุงเทพฯ, ประเทศไทย.

พรชัย วีระนันทาเวทย์ และสุรีย์ โบษกรนัฏ. (2563). การตรวจสอบภายในสมัยใหม่. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 7(1), 165-178.

ภัชราภรณ์ จันทร์สว่าง และวิษณุ สุมิตสวรรค์. (2564). ความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 6(8), 291-306.

มาลีรัตน์ พัฒนตั้งสกุล และกนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 103-114.

รัชนิดา โสมะ และจีราภรณ์ พงศ์พันธุ์พัฒนะ. (2563). กลยุทธ์การตรวจสอบภายในที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 11(2), 162-173.

วาสนา โหงตา. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการตรวจสอบภายในแบบบูรณาการกับการบรรลุเป้าหมายองค์กรของธุรกิจ ชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

วันวิสาข์ เศรษฐมาน. (2560). ผลกระทบของกลยุทธ์การตรวจสอบภายในที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของผู้ตรวจสอบภายใน สังกัดกระทรวงยุติธรรม. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพ.

เสาวณีย์ วิมุกตายน, จีราภรณ์ พงศ์พันธุ์พัฒนะ และไพฑูรย์ อินต๊ะขัน. (2562). ผลกระทบของสมรรถนะในการสอบทานงานตรวจสอบภายในที่มีต่อการบรรลุเป้าหมายการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบภายใน บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 13(2), 383-396.

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2565). ข้อมูลบุคลากรอุดมศึกษา. สืบค้นจาก https://info.mhesi.go.th/stat_stf.php?search_year=2564

สุมิตร รัตนะบัวงาม และฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์. (2565). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิผลของงานตรวจสอบภายในของกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(2), 58-72.

สุมินตรา ภูเนตร, อิงอร นาชัยฤทธิ์ และอุทิศ พงศ์จิรวัฒนา. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกการป้องกันทุจริตกับผลการดำเนินงาน. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(1), 125-137.

สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตวรรณา และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2552). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์เทคนิคโปรแกรม Lisrel. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

อนงค์รักษ์ ชนะภัย. (2555). ผลกระทบของการตรวจสอบภายในสมัยใหม่ที่มีต่อความสำเร็จขององค์กร ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

อุษณา ภัทรมนตรี. (2552). การตรวจสอบภายในสมัยใหม่ แนวคิดและกรณีศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตึกวิทยบริการ.

เอกพล ก้อนคํา, ปานฉัตร อาการักษ์ และจิรภา ศักดิ์กิตติมาลัย. (2565). ผลกระทบของมาตรฐานการตรวจสอบภายในต่อประสิทธิภาพการตรวจสอบภายในขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ, 6(1), 138-153.

Aaker, D. A., Kumar, V., & Day, G. S. (2001). Marketing research. New York: John Wiley and Sons.

Nunnally, J. C., & Bernstein, I. R. (1994). Psychometric in theory. (3th ed). New York: McGraw-Hill.

Yamane, Taro. (1967). Statistics, an introductory analysis. (2nd ed). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-23