กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดของกลุ่มกาแฟบ้านควนขี้แรด อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • ศันสนีย์ จันทร์อานุภาพ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ภัทรกันย์ พรหมเกตุ เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป องค์การบริหารส่วนตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาด, กลยุทธ์ดึง, กลยุทธ์ผลัก, กาแฟ, ร้านกาแฟ

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดของกลุ่มกาแฟบ้านควนขี้แรด ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา วิธีการศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสังเกต การสัมภาษณ์เจาะลึก และการประชุมระดมความคิด ระยะเวลาเก็บข้อมูล 15 เดือน (พฤษภาคม พ.ศ. 2564 – ตุลาคม พ.ศ. 2565) ผู้ให้ข้อมูลหลักใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง มีจำนวนรวม 40 คน การตรวจสอบข้อมูลใช้วิธีการตรวจสอบแบบสามเส้า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิม ผลการศึกษาพบว่า กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดของกลุ่มกาแฟบ้านควนขี้แรดมีสองรูปแบบ คือ กลยุทธ์ดึงกับกลยุทธ์ผลัก แต่เน้นกลยุทธ์ผลักเนื่องจากให้ผลประกอบการที่ดีกว่า กลยุทธ์ผลักเป็นการผลักสินค้าของผู้ผลิตไปสู่คนกลาง คือ ร้านกาแฟ ก่อนไปสู่ผู้บริโภคคนสุดท้าย การพัฒนากลยุทธ์ผลักของกลุ่มกาแฟบ้านควนขี้แรดประกอบด้วยกิจกรรมสำคัญดังนี้ 1) การพัฒนาเรื่องเล่าผลิตภัณฑ์ 2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับความต้องการของร้านกาแฟ 3) การส่งเสริมการขายผ่านนักสื่อสารการตลาด และ 4) การพัฒนาทักษะผู้ประกอบการให้กับชาวบ้านในตำบลพะตงที่สนใจประกอบกิจการร้านกาแฟ ประโยชน์เชิงสังคมที่ได้รับจากการวิจัยมีดังนี้ 1) การสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโดยบูรณาการความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ เน้นความร่วมมือที่มีความต่อเนื่องระยะยาว 2) การสร้างความยั่งยืนให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยเน้นการสร้างเครือข่ายและกลไกสนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ส่งเสริมการเกื้อกูลกันภายในท้องถิ่น 3) การส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน การเพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ที่ได้จากวิถีเกษตรกรรมยั่งยืน

References

ธนาคารกรุงเทพ. (2562). แนวทางแก้ ‘กับดัก’ Local Brand ไทยให้สำเร็จ. สืบค้นจาก https://www.bangkokbanksme.com/en/local-brand-otop

นาคพล เกินชัย. (2559). วิธีวิทยาการวิจัยแบบผสม : วิธีวิทยาการวิจัยแบบที่สาม. วารสารธรรมทรรศน์, 16(2), 297-314.

ไปรมา อิศรเสนา ณ อยุธยา. (2560). กลยุทธ์การวางแผนผลิตภัณฑ์ ‘นวัตกรรมแห่งคุณค่า’. สืบค้นจาก http://www.tip.grad.chula.ac.th/wp_cutip/wp-content/uploads/Aj-Praima-2.pdf

พัชรี หล้าแหล่ง. (2555). แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มสหกรณ์ผู้ปลูกกาแฟจังหวัดชุมพรจำกัด. Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 5(1), 586-601.

วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2561). กลยุทธ์ราคามีมากกว่าส่วนลด. สืบค้นจาก https://www.sbdc.co.th/knowledge/article/167/กลยุทธ์ราคามีมากกว่าส่วนลด/

วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2563). หลักการตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิทวัส รุ่งเรืองผล, กฤษฎารัตน์ วัฒนสุวรรณ และสุรัตน์ ทีรฆาภิบาล. (2562). การพัฒนาหลักสูตรและแนวทางการสอนเพื่อสร้างนักการตลาดสู่ประเทศไทย 4.0. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา, 1(1), 1-27.

ศิระ ศรีโยธิน. (2560). การสื่อสารองค์กร: เครื่องมือสำคัญของนักการตลาดยุค Thailand 4.0. Veridian E-Journal Silpakorn University, 10(3), 1267-1276.

สมาคมกาแฟไทย. (2563). Thai Fine Coffee ยกระดับกาแฟไทยอย่างยั่งยืน. สมุทรปราการ: พงษ์วรินการพิมพ์.

องค์การบริหารส่วนตำบลพะตง. (2562). แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2561-2565. สืบค้นจาก http://www.patong-sao.go.th/develop_plan

อรรถจักร สัตยานุรักษ์. (2559). ลืมตาอ้าปาก จากชาวนาสู่ผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ: มติชน.

อายุน้อยร้อยล้าน. (2020). เทคนิคสร้าง Story Branding เป็น Content เล่าเรื่องแบรนด์และสินค้าเพื่อยอดขายพุ่ง. สืบค้นจาก https://www.ryounoi100lan.com/ysmc-story-branding-for-content/

Berger, P.L. (1966). Invitation to sociology: A humanistic perspective. New York: Anchor Books.

Hsieh, H.F., & Shannon, S.E. (2005). Three approaches to qualitative content analysis. Qualitative Health Research, 15(9), 1277-1288.

Kotler, P. (2003). Marketing management. New Jersey: Prentice Hall.

Kotler, P., & Keller, K.L. (2009). Marketing management. (13th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Lamb, C.W., Hair, J. F., & McDaniel, C. (2000). Marketing. (5th ed.). Cincinnati: South-Western College Publishing.

Wheelen, T. L., & Hunger, J.D. (2012). Strategic management and business policy: Toward global sustainability. (13th ed.). New York: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-26