ประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียของสบู่เหลวผสมสารสกัดจากเปลือกส้มโอที่ปลูกในจังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ทวิวรรณ สารีบท อาจารย์ประจำ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • วชิราภรณ์ ชูพันธ์ อาจารย์ประจำ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • เยาวลักษณ์ วงศ์พรหม อาจารย์ประจำ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

สบู่เหลว, สารสกัดจากเปลือกส้มโอ, การยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลผลิตและคุณลักษณะทางกายภาพของสารสกัดจากเปลือกส้มโอพันธุ์ทองดีและพันธุ์ขาวน้ำผึ้งที่ผ่านการกลั่นด้วยน้ำ จากนั้นนำสารสกัดที่ได้มาทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของ Escherichia coli และ Staphylococcus aureus ด้วยวิธี Agar disc diffusion ผลที่ได้จะนำไปสู่การพัฒนาเป็นสบู่เหลวผสมสารสกัดจากเปลือกส้มโอเพื่อลดการใช้สารเคมีที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย

ผลจากการศึกษาพบว่าเปลือกส้มโอพันธุ์ทองดีและพันธุ์ขาวน้ำผึ้งที่ผ่านการกลั่นด้วยน้ำให้สารสกัดที่มีลักษณะทางกายภาพเหมือนกัน แต่เปลือกส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้งให้ผลผลิตของสารสกัดมากกว่าพันธุ์ทองดีอยู่ที่ 1.167 และ 0.936 %W/W ตามลำดับ และไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อนำสารสกัดที่ได้มาทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรีย พบว่าสารสกัดจากเปลือกส้มโอทั้งสองสายพันธุ์ที่ความเข้มข้น 40 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียทั้งสองชนิดได้ไม่แตกต่างกัน เมื่อนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สบู่เหลวผสมสารสกัดจากเปลือกส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้งความเข้มข้น 40 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร พบว่ามีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้ดีกว่าสบู่เหลวที่ไม่ผสมสารสกัดเปลือกส้มโออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < 0.05 แสดงว่าผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้

References

กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2560). สถานการณ์การปลูกส้มโอ ปี 2559 เรียงตามเนื้อที่ปลูกจากมากไปน้อยรายจังหวัด. สืบค้นจาก http://www.agriinfo.doae.go.th/year60/plant/rortor/fruit2/pomelo.pdf

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดวัตถุกันเสียที่อาจใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง พ.ศ. 2561 (2561, 19 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนพิเศษ 363 ง, หน้า 18-22.

ปรียานุช กฤษณะประสิทธิ์ และ พรทิพย์ จึงถาวรรณ. (2552). ศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อของสารสกัดจากส้มต่อจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเน่าเสียและจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร.

พัชราภรณ์ ฐิติวงศ์เศวต, เสาวลักษณ์ วงษ์จันลา และวิจิตร จันดาวงศ์. (2559). สบู่ต้านเชื้อแบคทีเรียจากสารสกัดหยาบจากผลมะขามป้อม. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 8(15), 27-39.

วัชรินทร์ รังสีภาณุรัตน์, พัชรี กัมมารเจษฎากุล และ อิสยา จันทร์วิทยานุชิต. (2559). ฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรไทย 10 ชนิด ต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ATCC 25923, Bacillus cereus และ Escherichia coli ATCC 25922. วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติวิชาการ, 19(38), 35-48.

Abirami, A., Nagarani, G., & Siddhuraju, P. (2013). Antimicrobial activity of crude extract of Citrus hystrix and Citrus maxima. International Journal of Pharmaceutical Sciences and Research, 4(1), 296-300.

Bora, H., Kamle, M., Mahato, D. K., Tiwari, P., & Kumar, P. (2020). Citrus essential oils (CEOs) and their applications in food: An overview. Plants, 9(3), 357. doi: 10.3390/plants9030357.

Dosoky, N. S., & Setzer, W. N. (2018). Biological activities and safety of Citrus spp. essential oils. International Journal of Molecular Sciences, 19(7), 1966. doi: 10.3390/ijms19071966.

Hongpattarakere, T., Chanthachum, S., & Chanthaphon, S. (2008). Antimicrobial activities of essential oils and crude extracts from tropical Citrus spp. against food-related microorganisms. Songklanakarin Journal of Science and Technology, 30, 125-131.

McNamara, P. J., & Levy, S. B. (2016). Triclosan: An instructive tale. Antimicrobial Agents and Chemotherapy, 60(12), 7015-7016. doi: 10.1128/AAC.02105-16.

Obi, C. N. (2014). Antibacterial activities of some medicated soaps on selected human pathogens. American Journal of Microbiological Research, 2(6), 178-181. doi: 10.12691/ ajmr-2-6-3.

Phat, D. T., Tuyen, K. C., Huynh, X. P. & Truc, T. T. (2020). Extraction process optimization and characterization of the pomelo (Citrus grandis L.) peel essential oils grown in Tien Giang Province, Vietnam. Natural Volatiles and Essential Oils, 7(4), 26-33. doi: 10.37929/nveo.780505.

Shan, B., Cai, Y. Z., Brooks, J. D., & Corke, H. (2007). The in vitro antibacterial activity of dietary spice and medicinal herb extracts. International Journal of Food Microbiology, 117(1), 112–119.

Sir Elkhatim, K. A., Elagib, R. A., & Hassan, A. B. (2018). Content of phenolic compounds and vitamin C and antioxidant activity in wasted parts of Sudanese citrus fruits. Food Science & Nutrition, 6(5), 1214–1219. doi: 10.1002/fsn3.660.

Wang, C. F. & Tian, Y. (2015). Reproductive endocrine-disrupting effects of triclosan: Population exposure, present evidence and potential mechanisms. Environmental Pollution, 206, 195-201. doi: 10.1016/j.envpol.2015.07.001.

Weatherly, L. M. & Gosse, J. A. (2017). Triclosan exposure, transformation, and human health effects. Journal of Toxicology and Environmental Health, Part B, 20(8), 447-469. doi: 10.1080/10937404.2017.1399306.

Witorsch, R. J. (2014). Critical analysis of endocrine disruptive activity of triclosan and its relevance to human exposure through the use of personal care products. Critical Reviews in Toxicology, 44(6), 535–555. doi: 10.3109/10408444.2014.910754.

Yueh, M. F. & Tukey, R. H. (2016). Triclosan: A widespread environmental toxicant with many biological effects. Annual Review of Pharmacology and Toxicology, 56, 251-272. doi: 10.1146/annurev-pharmtox-010715-103417.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-23