ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันองค์การภายใต้องค์การแห่งความเปลี่ยนแปลงของ สถาบันพระบรมราชชนกในบริบทวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • เบญญาภา ประกอบแสง คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ปิยะณัฐฏ์ จันทวารีย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วัชรพล ทองควัน คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • มณฑิรา จันทวารีย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ศุภณัฐ ปัญญาพ่อรณชัย กองด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและกักกันโรค ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
  • เจษฎากร หีบแก้ว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

องค์การ, ความผูกพัน, ความเปลี่ยนแปลง

บทคัดย่อ

         การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytic studies) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้การเปลี่ยนแปลงองค์การ ความผูกพันองค์การ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันองค์การของบุคลากร สังกัดวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง เป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในวิทยาลัยฯ ทั้งด้านวิชาการและด้านสนับสนุนการศึกษา จำนวน 75 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบสอบถามการรับรู้การเปลี่ยนแปลง 3) แบบสอบถามความผูกพันองค์การ เครื่องมือดังกล่าวผ่านการตรวจสอบความตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ได้ค่า IOC ของเครื่องมือมีค่าอยู่ระหว่าง 0.67 ถึง 1.00 ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.83, 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย (Simple logistic regression)

         ผลการศึกษา พบว่า บุคลากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 64 อายุเฉลี่ย 35 ปี สถานภาพโสดร้อยละ 53.34 การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 64 การรับรู้การเปลี่ยนแปลงองค์การในระดับมาก ร้อยละ 53.33 และความผูกพันองค์การในระดับมาก ร้อยละ 52.00 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับความผูกพันองค์การ คือ สถานภาพ (OR = 2.87; 95%CI 1.12 - 7.37) และการรับรู้การเปลี่ยนแปลงองค์การ (OR = 3.14; 95%CI 1.22 - 8.08) ผลการศึกษาจะเป็นประโยชน์ต่อคณะผู้บริหารสถาบันพระบรมราชชนก ด้วยการนำองค์ความรู้ไปขยายผลเป็นนโยบายการบริหารราชการในหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้สังกัดสถาบันฯ โดยกำหนดเป็นประเด็นยุทธศาสตร์รองรับการเปลี่ยนแปลงองค์การของสถาบันฯ เพื่อให้บุคลากรปรับตัวได้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง คงไว้ซึ่งความผูกพัน ความภาคภูมิใจ และความจงรักภักดีต่อองค์การ

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางการดำเนินการในการเบิกจ่ายเงินเพิ่มพิเศษสำหรับแพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกร. สืบค้น 7 เมษายน 2564, จาก https://person.anamai.moph.go.th/th/

จิระพงค์ เรืองกุน. (2556). การเปลี่ยนแปลงองค์การ: แนวคิด กระบวนการ และบทบาทของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(1), 194-202.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการสร้างเครื่องมือวิจัย: แนวทางการนำไปใช้ประโยชน์อย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณิชาพร ฤทธิบูรณ์ และสุธนา บุญเหลือ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์การของบุคลากรภาครัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 5(1), 151-166.

ดิเรก ลิ้มมธุรสกุล. (2554). การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม STATA 10. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เทียนศรี บางม่วงงาม. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรที่ผ่านโครงการอบรมวิศวกรใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก, กรุงเทพฯ.

ธิดารัตน์ สวนเศรษฐ์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัยบูรพา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ธีรพันธ์ ลมูลศิลป์ และวัชระ ยี่สุ่นเทศ. (2562). แรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 5(1), 76-84.

นิตยา ปาปะเถ. (2560). คุณลักษณะของงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรคณะทันตแพทย์ศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพฯ.

ปณิธี อำพนพนารัตน์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรสายวิชาการในกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

ปรียนุช ชัยกองเกียรติ, สาธิมาน มากชูชิต และอนุชิต คลังมั่น. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างสมดุลชีวิตกับการทำงาน ดัชนีความสุขคนทํางานกับความผูกพันในองคกร ของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดยะลา. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 20(2), 48-59.

เพ็ญนภา วงศ์นิติกร และอมร ถุงสุวรรณ. (2559). ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยสวนดุสิต. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 12(3), 97-112.

รุ่งอรุณ กระมุทกาญจน์ และ ปิยะณัฐฏ์ จันทวารีย์. (2563). ความสุขของบุคลากรภายใต้บริบทองค์การแห่งความเปลี่ยนแปลงของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 21(3), 93-102.

วริยา อาหลี. (2557). การศึกษาความผูกพันองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, กรุงเทพฯ.

วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี. (2563). รายงานผลการดำเนินงานฝ่ายพัฒนาบุคลากร ปีงบประมาณ 2563. อุบลราชธานี: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี.

ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2561). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต, กาญจนา ตั้งชลทิพย์, สุภรต์ จรัสสิทธิ์, เฉลิมพล สายประเสริฐ, พอตา บุนยตีรณะ, และวรรณภา อารีย์. (2555). คู่มือการวัดความสุขด้วยตนเอง. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

สถาบันพระบรมราชชนก. (2564). ยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันพระบรมราชชนก. สืบค้น 7 เมษายน 2564, จาก http:// http://www.pi.ac.th/workgroup/pdf

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2563). กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2561. สืบค้น 7 เมษายน 2564, จาก https://www.ocsc.go.th

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2563). ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ และประกาศ ก.พ. เรื่อง กำหนดตำแหน่งและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐. สืบค้น 17 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.ocsc.go.th/หนังสือเวียน/ว13-2560

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2562). พระราชบัญญัติ สถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. ๒๕๖๒. สืบค้น 16 พฤษภาคม 2564, จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF

โสมย์สิรี มูลทองทิพย์. (2556). ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอท่ามะกา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

อนุดิษฐ์ ฐานไชยกร. (2562). ความผูกพันในองค์การ. Journal of Roi Kaensarn Academi, 4(1), 32-46.

Allen, N.J. & Meyer, J.P. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance, and normative commitment to the organization. Journal of Occupational Psychology, 63, 1-18.

Branson, C. M. (2008). Achieving organizational change through value alignment. Journal of Educational Administration, 46(3), 376-395.

Lewin, K. (1947). Frontiers in group dynamics: Concepts, method and reality in social science: social equilibria and social change. Human Relations, 1, 5-41.

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 140, 1–55.

Steers Richard M. (1977). Antecedents and outcome of organizational commitment. Administrative Science Quarterly, 22(1), 46-56.

Zieky, M. J. (1989). Methods of setting standards of performance on criterion referenced tests. Studies in Educational Evaluation, 15, 335-338.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-02