การจัดการกิจกรรมนันทนาการท่องเที่ยวภายหลังวิกฤตโควิด-19
คำสำคัญ:
การตัดสินใจซื้อ, นันทนาการท่องเที่ยว, โควิด-19บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์การจัดการกิจกรรมนันทนาการท่องเที่ยวภายหลังวิกฤตโควิด-19 โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปด้วยวิธีการสุ่มโดยบังเอิญ (Accidental sampling) นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติโดยการสกัดองค์ประกอบด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (Principal component analysis: PCA) และหมุนแกนองค์ประกอบโดยวิธีแวริแมกซ์ (Varimax rotation) และการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ หรือทำงานเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวหรือกิจกรรมนันทนาการท่องเที่ยวในประเทศไทยอย่างน้อย 5 ปี จำนวน 6 ท่าน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ผลการวิจัยพบว่า
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อกิจกรรมนันทนาการท่องเที่ยวภายหลังวิกฤตโควิด-19 มี 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ที่ถูกสุขอนามัย (Beta = 0.280) และปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดที่จริงใจ (Beta = -.0269) การจัดการกิจกรรมนันทนาการท่องเที่ยวภายหลังวิกฤตโควิด-19 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ความต้องการซื้อกิจกรรมนันทนาการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวไทยภายหลังวิกฤตโควิด-19 (Demand side) การปรับตัวของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมนันทนาการท่องเที่ยว (Supply side) และการสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง (Support side) โดยทั้ง 3 องค์ประกอบหลักมีความสัมพันธ์ระหว่างกันในแง่ของการสนับสนุน การตอบสนองซึ่งกันและกัน สำหรับข้อเสนอแนะการนำไปใช้ประโยชน์นั้น ภาครัฐควรกำหนดนโยบายเพื่อกระตุ้นการซื้อกิจกรรมนันทนาการท่องเที่ยวไทยภายหลังวิกฤติโควิด-19 และภาคเอกชนควรปรับเปลี่ยนการตลาดกิจกรรมนันทนาการท่องเที่ยวให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมนักท่องเที่ยว
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศ Q1-Q4 ปี 2562 (ประเทศ). สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=521
กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม. (2564). COVID-19 ต่อภาคการท่องเที่ยวไทย ผลกระทบและแนวทางการแก้ปัญหา. UWV Policy Brief Tourism, 1(1). 2-7.
ฉันทัช วรรณถนอม. (2552). การวางแผนและการจัดนำเที่ยว. กรุงเทพ: บริษัท วิรัตน์เอ็ดดูเคชั่น จำกัด.
ทวีศักดิ์ สว่างเมฆ. (2558). บทบาทของนันทนาการการท่องเที่ยวในการพัฒนาประเทศ. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 21(1), 39-53.
พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2563). การปรับตัวของแรงงานในภาคการท่องเที่ยวในยุคโควิด-19. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/JY5Hu
เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. (2546). หลักการและการใช้สถิติการวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวสำหรับการวิจัยทางการพยาบาล. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.
โพสต์ทูเดย์. (2563). เร่งมาตรการฟื้นอุตฯท่องเที่ยวอาเซียน หลังวิกฤตโควิด-19. สืบค้นจาก https://www.posttoday.com/economy/news/622153
ราชกิจจานุเบกษา. (2563). ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 5). สืบค้นจาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/102/T_0001.PDF
ศุภลักษณ์ ศรีวิไชย และรุ่งเรือง ทองศรี. (2564). การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลต่อการท่องเที่ยวของประเทศไทย. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(8), 405-416.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
Havenga, P. (2001). The law of insurance intermediaries. Lansdowne: Juta Law.
Kotler, P.L. (2009). Marketing management. (5th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Lerner, M. and Haber, S. (2000). Performance factors of small tourism ventures: The interface of tourism, entrepreneurship and the environment. Journal of Business Venturing, 16, 77–100.
Mill, C. & Morrison, A. M. (2012). The tourism system. (7th ed). Dubuque: Kendall HuntPublishing Company.
Nunnally, J. C. & Bernstein, I. H. (1994). Psychometric theory. (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.
Rovinelli, R. J. and Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.
Ulschak, F. L. (1983). Human resource development: The theory and practice of need assessment. Reston, Virginia: Reston Publishing Company, Inc.
Yamane, T. (1967). Statistics, an introductory analysis (2nd Ed), New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.