การศึกษาแนวทางการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ในจังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • จรรยาพร บุญเหลือ อาจารย์ประจำ สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • ณัฐประภา นุ่มเมือง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • จันทรา ธนีเพียร คผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

แนวทางการป้องกัน, การแพร่ระบาด, ไวรัสโคโรน่า 2019, โรคติดเชื้ออุบัติใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรู้ ระดับการปฏิบัติ และความคาดหวังต่อมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดฯ และ 2) ศึกษาแนวทางการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ในจังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเพชรบุรีไม่น้อยกว่า 6 เดือน จำนวน 400 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถามระดับความรู้ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดฯ ค่าความเชื่อมั่น 0.85 และระดับการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดฯ ค่าความเชื่อมั่น 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 40 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ต่อมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคเป็นประจำ สิ่งที่คาดหวังต่อมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดฯ คือ รัฐควรซื้อวัคซีนที่มีประสิทธิภาพฉีดให้ประชาชนทุกปี รองลงมา จัดหาหน้ากากอนามัย เจล ชุดตรวจโควิดด้วยตนเอง ให้ประชาชนเข้าถึงได้ในราคาถูก และการแจกหน้ากากอนามัย เจล และชุดตรวจโควิดด้วยตนเอง ทุกครัวเรือนในพื้นที่ล็อคดาวน์ แนวทางการป้องกันการแพร่ระบาดประกอบด้วย 8 แนวทาง 1) ถอดบทเรียน 2) จัดทำแผนปฏิบัติแบบบูรณาการทุกภาคส่วน 3) ประชาสัมพันธ์แบบครบวงจร 4) สร้างเครือข่ายความร่วมมือ 5) จัดตั้งคณะทำงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย ในพื้นที่เสี่ยง 6) จัดทำโครงการปลูกจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม 7) จัดตั้งทีมจิตอาสา และ 8) สร้างระบบเชื่อมโยงฐานข้อมูลที่ถูกต้องและตอบสนองทันทีทันใด ซึ่งแนวทางที่เสนอนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหา ยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และโรคติดเชื้ออุบัติใหม่อย่างได้ผล โดยผู้บริหารจังหวัดเพชรบุรีควรนำข้อมูลจากการถอดบทเรียนมากำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ มาตรการและกฎเกณฑ์ป้องกันการแพร่ระบาดในอนาคต  ประสานความร่วมมือ สร้างเครือข่าย และสร้างกลไกจูงใจทุกภาคส่วนให้เห็นถึงผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกัน

References

กรมอนามัย. (2565). ผลสำรวจอนามัยโพล เรื่องความกังวลของประชาชนต่อเชื้อโควิดสายพันธ์ใหม่. สืบค้นจาก https://healthserv.net/

กลุ่มโรคติดต่อระหว่างประเทศ กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. (2564). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง (รายงานผลการวิจัย). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

จำเนียร ชุณหโสภาค. (2553). รูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพชุมชน โดยการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

บงกช โมระสกุล และพรศิริ พันธสี. (2564). ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา และวิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 15(37), 179-195.

บีบีซี นิวส์ไทย. (2564). โควิด-19 เปิดแผนรัฐบาลสิงคโปร์ เรียนรู้อยู่กับไวรัสให้ชีวิตปกติสุขในระยะยาว. สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/international-57612128

พลวัฒน์ ติ่งเพ็ชร. (2563). ปัจจัยส่งเสริมการเกิดโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และโรคโควิด-19. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 27(2), 140-156.

สีตีปาตีฮะร์ อีลา, อิควาณี วานิ, อาฟีดะห์ ดอเลาะ, วัชระ ขาวสังข์ และ ปิยะดา มณีนิล. (2564). การแก้ปัญหาการรับมือและการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงเตี้ย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี. สืบค้นจาก https://www.hu.ac.th/conference/conference2021/Proceeding/doc/02%20HU/070-HU%20(P.466%20-%20478).pdf

เสาวลักษม์ กิตติประภัสร์. (2563). ผลกระทบทางสังคมจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid 19) และวิกฤตเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี. (2564). รายงานสถานการณ์วันที่ 29 กรกฎาคม 2564 สถานการณ์โรค Covid-19 วันที่ 1 เมษายน-29 กรกฎาคม 2564. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/phetburihealth/

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2563). คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 76/2563 เรื่อง จัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19). สืบค้นจาก https://media.thaigov.go.th/uploads/document/66/2020/03/pdf/

สำนักบริหารการทะเบียน. (2564). ประกาศสถิติจำนวนประชากร ปี 2564. สืบค้นจาก https://www.bora.dopa.go.th/

อรุณ สถิตพงศ์สถาพร และ วุฒิพงษ์ ตุ้นยุทธ์. (2565). สรุปภาพรวมการระบาดและนโยบายของไต้หวัน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). สืบค้นจาก https://www.covidpolicywatch.com/taiwan/

เอราวัณ ฤกษ์ชัย. (2563). การนำนโยบายป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ไปปฏิบัติ กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลบางไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

Brodeur, A., Gray, D. M., Islam, A., & Bhuiyan, S. (2020). A literature review of the economics of covid-19. UK: Global Labor Organization (GLO).

OECD. (2020). Government support and the covid-19 pandemic. Retrieved from https:// www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019

He, G., Pan, Y., & Tanaka, T. (2020). Covid-19, City lockdowns, and air pollution: Evidence from China. MedRxiv, 2020.03.29.20046649. Retrieved from https://doi.org/10.1101/2020.03.29.20046649

Maroof, Z., Ahmed, S., & Hadi, Noor. (2021). Knowledge attitude and practice towards covid-19 among Pakistan university students. International Journal of Innovation, Creativity and Change, 15(6), 433. Retrieved from https://www.ijicc.net

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.

Unite Against COVID-19. (2022). History of the covid-19 alert system. Retrieved from http://covid19.govt.nz/about-our-covid-19-response/history-of-the-covid-19-alert-system/

World Health Organization. (2020). Thailand how a strong health system fights a pandemic: Covid-19: WHO’s action in countries. Retrieved from https://www. thailand-c19-case-study-20-september%20(1).pdf

Worldometer. (2020). Thailand coronavirus cases. Retrieved from https://www.worldometers.info/coronavirus/country/thailand/#graph-cases-daily

Zhong, B. L., Luo, W., Li, H. M., Zhang, Q. Q., Liu, X. G., Li, W. T., & Li, Y. (2020). Knowledge, attitudes, and practices towards covid-19 among Chinese residents during the rapid rise period of the covid-19 outbreak: A quick online cross-sectional survey. International Journal of Biological Sciences, 16(10), 1745–1752. doi: 10.7150/ijbs.45221.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-23