ผลของสิ่งเร้าพหุประสาทสัมผัสต่อการผ่อนคลายและคุณภาพการนอนหลับ ของผู้ที่ทำงานเปลี่ยนกะ
คำสำคัญ:
สิ่งเร้าประสาทสัมผัส, การผ่อนคลาย, คุณภาพการนอนหลับ, พหุประสาทสัมผัสบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบวัดก่อนหลังการทดลองและมีกลุ่มควบคุม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสิ่งเร้าพหุประสาทสัมผัสต่อการผ่อนคลายและคุณภาพการนอนหลับในผู้ที่ทำงานเปลี่ยนกะ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่ทำงานเปลี่ยนกะในอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 60 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มที่ 1 ได้รับการกระตุ้นด้วยกลิ่นลาเวนเดอร์ กลุ่มที่ 2 ได้รับการกระตุ้นด้วยกลิ่นลาเวนเดอร์และเสียงน้ำ และกลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มควบคุม ดำเนินการในห้องทดลองการนอนหลับชั่วคราว ใช้เวลาการทดลองจำนวน 4 วันต่อคน โดยวันที่ 1-2 นอนในสภาวะปกติ วันที่ 3-4 นอนในสภาวะที่มีสิ่งกระตุ้น ข้อมูลที่ศึกษา ได้แก่ คะแนนมาตรวัดการผ่อนคลายชนิดเปรียบเทียบโดยสายตา ร้อยละของความเครียดวัดจากอัตราการผันแปรของการเต้นของหัวใจ ประสิทธิภาพการนอนหลับ และระยะเวลาการนอนหลับโดยรวม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการคัดกรอง ได้แก่ แบบวัดความเครียด กรมสุขภาพจิต แบบวัดการรับรู้กลิ่นและเสียง (ค่า KR-20 เท่ากับ 0.89) แบบวัดอาการแพ้น้ำมันหอมระเหย และแบบสอบถามคุณภาพการนอนหลับของ Pittsburgh ฉบับภาษาไทย (ค่า Test-retest reliability เท่ากับ 0.89) วิเคราะห์ความตรงเชิงเนื้อหา IOC เท่ากับ 1.00 2) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง 3) เครื่องมือที่ใช้ในการวัดการผ่อนคลายและคุณภาพการนอนหลับ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป มาตรวัดการผ่อนคลายชนิดเปรียบเทียบโดยสายตา (ค่า Cronbach’s alpha coefficient เท่ากับ 0.73) แบบบันทึกและอุปกรณ์สวมข้อมือ (ค่า Sensitivity เท่ากับร้อยละ 95.8 ค่า Specificity เท่ากับร้อยละ 73.4) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ Paired samples t-test, One-way ANOVA, Kruskal-wallis test
ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 76.7 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 36.7 มีอายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 80.0 มีสถานภาพสมรส/คู่ และทำงานวันละ 9 ชั่วโมง กลุ่มที่ได้รับการกระตุ้นด้านกลิ่นร่วมกับเสียง มีคะแนนมาตรวัดการผ่อนคลายชนิดเปรียบเทียบโดยสายตา ประสิทธิภาพการนอนหลับ และระยะเวลาการนอนหลับโดยรวมดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการกระตุ้นด้านกลิ่นอย่างเดียวและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นผู้ที่ทำงานเปลี่ยนกะสามารถนำสิ่งเร้าชนิดกลิ่นหรือเสียงไปใช้เพื่อเพิ่มการผ่อนคลายและคุณภาพการนอนหลับได้ในชีวิตประจำวัน
References
กนกวรรณ ลิ้มศรีเจริญ. (2559). การนอนไม่หลับ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์.
กุลวรรณ วิทยาวงศรุจิ. (2558). จิตวิทยาการศึกษา. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
จุไรรัตน์ ดือขุนทด, สิริลักษณ์ โสมานุสรณ์ และวารี กังใจ. (2559). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการผ่อนคลายโดยการฟังดนตรีธรรมะร่วมกับสุคนธบำบัดต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯ, 32(1), 17-30.
ดุษฎี อุดมอิทธิพงศ์, กฤตนัย แก้วยศ, และเกยูรมาศ อยู่ถิ่น. (2561). น้ำมันหอมระเหยกับการทำงานของระบบประสาทและความรู้สึกทางอารมณ์: บทความฟื้นฟูวิชาการ. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, 12(2), 48-62.
ตุลยา สีตสุวรรณ, สนทรรศ บุษราทิจ, พิมล รัตนาอัมพวัลย์, และวัฒนชัย โชตินัยวัตรกุล. (2557). การทดสอบความเที่ยงและความตรงของแบบประเมินคุณภาพการอนนหลับพิตส์เบิร์กฉบับภาษาไทยในผู้ป่วยที่มีปัญหาการนอนหลับ. วารสารจดหมายเหตุทางแพทย์ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, 97(ฉบับเสริม), 57-67.
ธวัชชัย ศรีสุวรรณ, จุฬารัตน์ สมคุณ, ธัญชนก ชูเสือหึง, อภิญญา วัฒนภิญโญ และสนั่น ศุภธีรสกุล. (2561). ผลต่อความผ่อนคลายของน้ำมันหอมระเหยจากใบสมุลแว้งในอาสาสมัครสุขภาพดี. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 21(2), 1-10.
ธิติมา ณรงค์ศักดิ์, ฐิติมา สงวนวิชัยกุล, และวรพงศ์ ตรีสิทธิวนิช. (2563). การนอนหลับและสุขอนามัยการนอนหลับ: บทความฟื้นฟูวิชาการ. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, 14(2), 69-85.
วิชัย เอกพลากร. (2557). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
วินัย สยอวรรณ, ธัญวดี จิรสินธิปก และสุวภัทร บุญเรือน. (2554). ผลของน้ำมันดอกลาเวนเดอร์ต่อระบบประสาทอัตโนมัติและอารมณ์ความรู้สึก. ก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์, 11(1), 139-147.
สราวลี สุนทรวิจิตร. (2560). ดนตรีบำบัด: การบำบัดทางเลือกสำหรับบุคคลที่มีภาวะซึมเศร้า. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 12(3), 1-12.
สายันต์ บุญใบ. (2560). ดนตรีบำบัด. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 4(1), 19-34.
สุรีรัตน์ ณ วิเชียร, โรจนี จินตนาวัฒน์, จักรกริช กล้าผจญ, และภารดี นานาศิลป์. (2561). ผลของดนตรีบำบัดต่อคุณภาพการนอนหลับในผู้สูงอายุ. วารสารสภาการพยาบาล, 33(3), 36-50.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). การสำรวจสภาวะทางสังคมและวัฒนธรรม พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษาฯ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
อุทัย โสธนะพันธุ์. (2559). กลไกการออกฤทธิ์ของสุคนธบำบัดต่อระบบประสาทส่วนกลาง. นครปฐม: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Burgett, S., Blair, R., Lightfoot, D., Siengsukon, C., Reetz, A., & Stevens, S. (2019). Commercially available wearable provides valid estimate of sleep stages. Southampton: Garmin (Europe) Ltd.
Fleiss, JL. (1981). Statistical method for rate and proportions. (2nd ed.). NY. John Willey & Sons.
Lee-Chiong, T., Aloia, M., & White, D. (2019). The global pursuit of better sleep health. Massachusetts: Philips Global Sleep Survey.
Onishi, K., Tsujikaiwa, M., Inoue, K., Yoshida, K., & Goto, S. (2016). The effect of complementary therapy for hospital nurses with high stress. Asia-Pacific Journal of Oncology Nursing, 3(3), 272-280.
Sangwin, MKJ. (2016). A study on stress and aromatherapy intervention efficacy. Scholar Works at University of Montana, 73, 1-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.