การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจการจัดการคุณภาพบริการรถบัสนำเที่ยว ของนักท่องเที่ยวชาวจีนในประเทศไทย
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์องค์ประกอบ, รถบัสนำเที่ยว, คุณภาพบริการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวแปรที่อธิบายลักษณะองค์ประกอบของการจัดการคุณภาพบริการรถบัสนำเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวจีนในประเทศไทย ในช่วงระหว่าง ปี พ.ศ. 2561-2562 ก่อนสถานการณ์โควิด-19 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยแบบกรุ๊ปทัวร์ และใช้บริการรถบัสนำเที่ยวในการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ โดยผ่านบริษัททัวร์ชั้นนำในกรุงเทพมหานคร ที่มีชื่อเสียงในการรับนักท่องเที่ยวชาวจีน จำนวน 415 คน เก็บข้อมูลด้วยวิธีแบบการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยประยุกต์จากแนวความคิดคุณภาพการบริการ และการจัดการรถบัสนำเที่ยว วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจโดยการสกัดองค์ประกอบหลัก หมุนแกนองค์ประกอบแบบมุมฉากด้วยวิธีแวริแมกซ์ ผลการวิจัยพบว่า การจัดการคุณภาพบริการรถบัสนำเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวจีนในประเทศไทย ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 3 ด้าน 28 ตัวแปร องค์ประกอบด้านการจัดการมี 11 ตัวแปร ด้านกายภาพมี 9 ตัวแปร และด้านบริการมี 8 ตัวแปร โดยแต่ละตัวแปรมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากกว่า 0.54 ขึ้นไป ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้นี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการรถบัสนำเที่ยว นำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการได้ รวมถึงการจัดการด้านความปลอดภัย ความพร้อมในการให้บริการ การพัฒนาพนักงานขับรถและพนักงานที่ให้บริการบนรถต่อไป
References
กรมการขนส่งทางบก. (2560). กรมการขนส่งทางบก แนะ!! กรณีเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวหรือการเดินทางเป็นหมู่คณะให้เลือกใช้รถเช่าเหมาที่มีคุณภาพ มาตรฐานและปลอดภัย ตรวจสอบสัญญาก่อนการว่าจ้าง และเลือกใช้ประเภทรถให้เหมาะสม. สืบค้นจาก https://www.dlt.go.th/th/public-news/view.php?did=1666
กรมการขนส่งทางบก. (2562). Q-Bus มาตรฐานรถโดยสารสาธารณะ เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน. สืบค้นจาก http://www.dlt.go.th/site/rayong/
กรมการขนส่งทางบก. (2560). กรมการขนส่งทางบก แนะ!! กรณีเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวหรือการเดินทางเป็นหมู่คณะให้เลือกใช้รถเช่าเหมาที่มีคุณภาพ มาตรฐานและปลอดภัย ตรวจสอบสัญญาก่อนการว่าจ้าง และเลือกใช้ประเภทรถให้เหมาะสม. สืบค้นจาก https://www.dlt.go.th/th/public-news/view.php?_did=1666
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว. สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=7533
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2561. สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=528
กรุงเทพธุรกิจ. (2560). บัสรับส่ง นทท. พลิกคว่ำขณะลงเขาป่าตอง เด็ก 10 ขวบดับ. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/763835
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2538). การวิเคราะห์สถิติเพื่อธุรกิจ : สถิติเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฐิติพงศ์ วรธรรมทองดี. (2558). คุณภาพการบริการบนเครื่องบินของการบินไทย มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มพฤติกรรมการใช้บริการของผู้โดยสาร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
ดวงสมร เนียมนัตน์ และสุภา ทองคง. (2556). พฤติกรรมและการเปรียบเทียบคุณภาพการบริการของสถานีขนส่งผู้โดยสาร กรุงเทพฯ (จตุจักร) และสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (ถนนบรมราชชนนี). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.
ทิพวรรณ บัวอินทร์. (2561). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการรถโดยสารไม่ประจําทางเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในจังหวัดภูเก็ต. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ธิตินันธุ์ ชาญโกศล. (2559). การวิเคราะห์ปัจจัยและพัฒนาองค์ประกอบการบริการขนส่งทางอากาศ ด้านความเสี่ยงของการบริการในธุรกิจสายการบิน. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 8(3), 78-88. สืบค้นจาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/73222
ผู้จัดการออนไลน์. (2562). อุบัติเหตุรถบัสนักท่องเที่ยวจีนคว่ำกลางดอยเชียงใหม่ เจ็บ 10 ราย พบไหปลาร้าหัก 2-หัวกระแทกต้องตรวจละเอียด 3. สืบค้นจาก https://mgronline.com/local/detail/9620000061916
มาริสา เจริญไพศาลสัตย์. (2553). ความพึงพอใจของผู้โดยสารรถไฟที่มีต่อการให้บริการของขบวนรถด่วนพิเศษนครพิงค์ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2557). การวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปรสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วีระพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. (2542). คุณภาพในงานบริการ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2543). การประเมินการสอนระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานมาตรฐานอุดมศึกษา.
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). รายงานสถิติการท่องเที่ยวประเทศไทย ประจําปี พ.ศ. 2560. สืบค้นจาก https://mots.go.th/download/article/article_20190516131031.pdf
สิริวงษ์ เอียสกุล. (2557). ความพึงพอใจในการใช้บริการรถตู้และรถโดยสาร กรณีศึกษาจุดผ่านแดนสะพานมิตรภาพไทย - ลาว จังหวัดหนองคาย. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 7(1), 553-560. สืบค้นจาก https://www.tci-thaijo.org/index. php/Veridian-E-Journal/article/view/27373
องค์อร สงวนญาติ, พัทธนันท์ ศรีม่วง และวิจิตรา ศรีสอน. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความปลอดภัยในการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. วารสารวิจัย มสด, 14(3), 101-122. สืบค้นจาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/186634
เอกสิทธิ์ สันติภาพ และจงกลบดินทร์ แสงอาสภวิริยะ. (2558). การวัดคุณภาพการบริการโลจิสติกส์โดยวิธี P-TRANSQUAL กรณีศึกษา: รถโดยสารระหว่างประเทศไทย–หลวงพระบาง. วารสารราชมงคลล้านนา, 3(2), 72-83. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/balajhss/article/view/75250
Bitner, M. J., & Hubbert, A. R. (1994). Encounter satisfaction versus overall satisfaction versus quality: the customer's voice. In Service quality: New directions in theory and practice (pp. 72-94). California: SAGE Publications, Inc.
Cronin Jr., J. J., & Taylor, S. A. (1992). Measuring service quality: A reexamination and extension. Journal of Marketing, 56(3), 55-68 doi:10.2307/1252296.
Oliver, R. L. (1993). Cognitive, Affective, and attribute bases of the satisfaction response. Journal of Consumer Research, 20(3), 418–430. doi:10.1086/209358.
Parasuraman, A. P., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: a multiple-item scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of Retailing, 64(1), 12-40.
Rohani, M. M., Wijeyesekera, D. C., & Karim, A. T. A. (2013). Bus operation, Quality service and the role of bus provider and driver. Procedia Engineering, 53, 167-178. doi: 10.1016/j.proeng.2013.02.022.
Sajjakaj, J., & Vatanavongs, R. (2016). Measurement modelling of the perceived service quality of a sightseeing bus service: An application of hierarchical confirmatory factor analysis. Transport Policy, 45, 240-252. doi:10.1016/j.tranpol.2015.04.001.
Tabachnick, B. G., & Fidell, L. S. (2014). Using multivariate statistics. (6th ed.). Boston, MA, United States: Pearson Education, Inc. /Allyn and Bacon.
Vuchic, V. R. (1981). Urban public transportation system and technology. Englewood Cliffs: NJ: Prentice-Hall.
Weng, J., Di, X., Wang, C., Wang, J., & Mao, L. (2018). A bus service evaluation method from passenger's perspective based on satisfaction surveys: A case study of beijing, China. Sustainability, 10(8), 1-15. doi:10.3390/su10082723.
Zeithaml, V. A., Parasuraman, A. P., & Berry, L. L. (1990). Delivering quality service: Balancing customer perceptions and expectations. New York: The Free Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.