อิทธิพลของสภาพแวดล้อมการทำงาน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อ ความผูกพันในองค์กรของมัคคุเทศก์

ผู้แต่ง

  • สัญญา ฉิมพิมล อาจารย์ประจำ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต
  • วรพงศ์ ภูมิบ่อพลับ อาจารย์ประจำ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, สภาพแวดล้อมการทำงาน, ความผูกพันองค์กร, มัคคุเทศก์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับและความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมการทำงาน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และความผูกพันในองค์กรของมัคคุเทศก์ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อความผูกพันในองค์กรของมัคคุเทศก์ 4) เพื่อศึกษาอิทธิพลของสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีต่อและความผูกพันในองค์กรของมัคคุเทศก์ผ่านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็นมัคคุเทศก์อาชีพทำงานอยู่ในจังหวัดภูเก็ต พังงาและกระบี่ จำนวน 420 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวและมัคคุเทศก์ จำนวน 8 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนและเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า สมมติฐานที่ 1 สภาพแวดล้อมการทำงาน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และความผูกพันในองค์กรของมัคคุเทศก์มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สมมติฐานที่ 2 สภาพแวดล้อมการทำงานมีอิทธิพลทางตรงต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สมมติฐานที่ 3 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลทางตรงต่อความผูกพันในองค์กรของมัคคุเทศก์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สมมติฐานที่ 4 สภาพแวดล้อมการทำงานมีอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมผ่านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงต่อความผูกพันในองค์กรของมัคคุเทศก์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีค่าดัชนีความเหมาะสม CMIN/DF เท่ากับ 1.198 ค่า GFI เท่ากับ 0.983 ค่า AGFI เท่ากับ 0.964 ค่า CFI เท่ากับ 0.998 ค่า IFI เท่ากับ  0.988 ค่า NFI เท่ากับ 0.988 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.022 และ ค่า RMR เท่ากับ 0.012 ส่วนผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า สภาพแวดล้อมการทำงานและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ดีส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของมัคคุเทศก์ งานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สำหรับมัคคุเทศก์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

References

จรินทร์ ฟักประไพ และ ปรีดา ไชยา. (2560). ศึกษาความสัมพันธ์ของรูปแบบผู้นำ ลักษณะของมัคคุเทศก์ และสมรรถนะในการทำงานของมัคคุเทศก์อาชีพในประเทศไทย. Veridian E-Journal Silpakorn University, 10(1), 219-232.

ฉันทัช วรรณถนอม. (2557). หลักการมัคคุเทศก์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ชลิตพันธ์ บุญมีสุวรรณ. (2563). ความผูกพันของพนักงานต่อองค์การ: แนวทางสู่ความสำเร็จ. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 12(1), 197-207.

ดรุณี ชมศรี, พรชัย จูลเมตต์ และนรินทร์ กระจายกลาง. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ ของบุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(1), 268-280.

บุญชนะ เมฆโต. (2560). อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อความผูกพันองค์กรและการตั้งใจลาออกของพนักงานระดับปฎิบัติการ กรณีศึกษา: บริษัทผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์แห่ง. HROD Journal, 9(1), 36-59.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : จามจุรีโปรดักท์.

ประไพศรี ธรรมวิริยะวงศ์. (2562). แนวทางการพัฒนาความผูกพันของพนักงานในองค์กร.วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(2), 493-504.

ประสพชัย พสุนนท์. (2557). ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ในการวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารปาริชาต, 27(1), 145-163.

ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(18), 375-396.

ปุณณวิช แก้วล้อม. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง แรงจูงใจในการทำงาน ที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร: กรณีศึกษาพนักงานสถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่ง. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

พรสุดา ชูพันธ์, วิโรฒน์ ชมภู และประยูร อิ่มสวาสดิ์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา, 17(78), 148-158.

พลกฤต รักจุล, ประภัสสร วรรณสถิต, กัญญ์พัสวี กล่อมธงเจริญ และชัยวัฒน์ ใบไม้. (2563). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความผูกพัน และความตั้งใจ ที่จะคงอยู่ของพนักงาน: ทบทวนวรรณกรรม. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(12), 15-29.

พิศสุภา ปัจฉิมสวัสดิ์. (2558). การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะผู้นำ สภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของงานมัคคุเทศก์เฉพาะ (ต่างประเทศ-เฉพาะพื้นที่). กระแสวัฒนธรรม, 16(30), 28-40.

ภาวินี องคานุภาพ. (2564). ภาวะผู้นำ สภาพแวดล้อม ความปลอดภัย ส่งผล ต่อความผูกพันในองค์กร กรณีศึกษาพนักงาน บริษัท สหชาติเศรษฐกิจ จำกัด.(การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

วัชรพงษ์ แพร่หลาย. (2556). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์, 41(2), 60-76.

ศิวะนันท์ ศิวพิทักษ์. (2559). ผลกระทบของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการในสถานประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว. BU Academic Review, 15(2), 29-41.

Bass, B.M. and Avolio, B.J., (1994). Improving organization effectiveness through transformational leadership. Thousand Oak: Sage.

Bushra, F., Usman, A. and Naveed, A. (2011). Effect of transformational leadership on employees’ job satisfaction and organizational commitment in banking sector of Lahore (Pakistan). International Journal of Business and Social Science, 2(18), 261-267.

Gilmer, VH. (1966). Industrial psychology. USA: McGraw Hill Book Company Inc.

Mowday, R., Steer, R. M., and Porter, L. (1979). The measurement of organizational commitment. Journal of Vocational Behavior, 14, 244-246.

Porter, L. W. (2015). The relationship between transformational leadership and organizational commitment in nonprofit long term care organizations: The direct care worker perspective. Creighton. Journal of Interdisciplinary Leadership, 1(2), 68 – 85.

Porter, L. W., Steers, R. M., Mowday, R. T., and Boulian, P. V. (1974). Organizational commitment, job satisfaction, and turnover among psychiatric technicians. Journal of Applied Psychology, 59(5), 603–609.

Shabroz., Thomas, M., and Hamid, S. (2019). Impact of transformational leadership style on organizational commitment: A quantitative study at higher education level in Karachi, Pakistan. Journal of Education & Social Science, 7(1), 1-16.

Sinambela, S. (2018). Effect of leadership style, job satisfaction and work environment to employee commitment in PT Scomi oiltools in Jakarta, Indonesia. International Journal of Economics, Commerce and Management, 6(8), 540-564.

Stevens, J. (1996). Applied multivariate statistics for the social science. Mahwah, New Jersey: Lawrence Erlbaum Associate, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-24