อิทธิพลเชิงสาเหตุที่มีต่อผลการดำเนินงานภายใต้ฐานวิถีชีวิตใหม่ของธุรกิจไมซ์ ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ศรวัสย์ สมสวัสดิ์ นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • นภาวรรณ เนตรประดิษฐ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • พิชาภพ พันธุ์แพ รองศาสตราจารย์ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่เชียงใหม่

คำสำคัญ:

อิทธิพลเชิงสาเหตุ, ผลการดำเนินงาน, ฐานวิถีชีวิตใหม่, ธุรกิจไมซ์

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของสถานประกอบการธุรกิจไมซ์ที่มีต่อสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ การมุ่งเน้นการตลาด ความสามารถทางนวัตกรรม และผลการดำเนินงานภายใต้ฐานวิถีชีวิตใหม่ของธุรกิจไมซ์ในประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลเชิงสาเหตุของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ การมุ่งเน้นการตลาดและความสามารถทางนวัตกรรมที่มีต่อผลการดำเนินงานภายใต้ฐานวิถีชีวิตใหม่ของธุรกิจไมซ์ในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานประกอบการของธุรกิจไมซ์ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานสถานที่จัดงานในประเทศไทย จำนวน 280 แห่ง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่าง 15 แห่ง ผลการวิจัยพบว่า สภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีอิทธิพลทางตรงต่อการมุ่งเน้นการตลาด สภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีอิทธิพลทางตรงต่อความสามารถทางนวัตกรรม และการมุ่งเน้นการตลาดมีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.001 ตามลำดับ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีอิทธิพลทางตรงต่อผลการดำเนินงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ความสามารถทางนวัตกรรมมีอิทธิพลทางตรงต่อผลการดำเนินงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ส่วนการมุ่งเน้นการตลาดไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อความสามารถทางนวัตกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนผลการวิจัยเชิงคุณภาพมีความสอดคล้องและสนับสนุนกับผลการวิจัยเชิงปริมาณทุกประเด็น

References

กรมควบคุมโรค. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/faq_more.php

ธาดาธิเบศร์ ภูทอง. (2562). ผลกระทบของการมุ่งเน้นการตลาด ความสามารถทางนวัตกรรมทางการตลาดและความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืนต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการโซเซียลคอมเมิร์ซ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 12(6), 1342-1377.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ: บิสเนส อาร์ แอนด์ ดี.

สำนักข่าวอิศรา. (2563). แนวโน้มนักท่องเที่ยวต่างชาติ. สืบค้นจาก https://www.isranews.org/article/isranews-news/87940-tourist_march_april_63.html

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน). (2561). การพัฒนามาตรฐานอุตสาหกรรมไมซ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน).

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน). (2562). รายงานประจำปี 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน).

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน). (2563). รายงานประจำปี 2563. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน).

Abdallah, L. & Person, M. (2014). The effect of environment uncertainty condition on organizational innovativeness and performance of SMEs. Retrieved form https://www.diva-portal.org/smash/get/diva2:830898/FULLTEXT01.pdf

Alizadeh, A., Alipour, H., & Hasanzadeh, M. (2013). Market orientation and business performance among SMEs Based in ardabil industrial city-Iran. Kuwait Chapter of the Arabian Journal of Business and Management Review, 2(7), 38-47.

Bodlaj, M. & Cater, B. (2019). The impact of environment turbulence on the perceived importance of innovation and innovativeness in SMEs. Journal of small Business Management, 57(S2), 417 - 435.

Daniel, I. (2016). The strategic fit between innovation strategies and business environment in delivering business performance. International Journal of Production Economics, 171(2), 241-249.

Davis, E. (2020). Our New Normal. Early Years Educator, 22(1), 14-16.

Elbanna, S., & Alhwari, M. (2012). The Influence of Environmental Uncertainty and Hostility on Organization Performance. Retrieved form https://www.researchgate.net/publication/281610721_The_influence_of_environmental_uncertainty_and_hostility_on_organization_performance.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., Anderson, R.E., & Tatham, R.L. (1998). Multivariate Data Analysis. (6th ed). New Jersey: Prentice Hall.

ICCA. (2011). ICCA 2011 statistics: international association sector is resilient and showing healthy growth. Retrieved form http://www.iccaworld.com/newsarchives/archivedetails.cfm?id=3541

Knowles, C., Hansen, E., & Dibrell, C. (2008). Measuring Firm Innovativeness: Development and Refinement of a New Scale. Journal of Forest Products Business Research, 5(5), 33-46.

Kotler, P & Keller, K. L. (2016). Marketing Management. (15th ed). Edinburgh: Pearson Education.

Maja, S.J. (2016). The role of management practice and business environment in promoting firm innovativeness. Industrija, 44(4), 119-140.

Nasution, H.N., Mavondo, F.T., Matanda, M.J., & Ndubisi, N.O. (2011). Entrepreneurship: Its relationship with market orientation and learning orientation and as antecedents to innovation and customer value. Industrial Marketing Management, 40(3), 336-345.

Onag, A. O., Tepeci, M. & Basalp, A. A. (2014). Organizational Learning Capability and its Impact on Firm Innovativeness. Procedia-Social and Behavioral Science, 150, 717-808.

Qureshi, M.S., Aziz, N., & Mian, S.A. (2017). How marketing capabilities shape entrepreneurial firm's performance? Evidence from new technology-based firms in turkey. Journal of Global Entrepreneurship Research, 7(15), 1 - 15.

Rajnoha, R., Stefko, R., Merkova. M., & Dobrovic, J. (2016). Business Intelligence as a key information and knowledge tool for strategic business performance management. Information Management, 1(19), 183-203.

Rangus, K., & Slavec, A. (2017). The interplay of decentralization, employee involvement and absorptive capacity of firm’ innovation and business performance. Technological Forecasting and Social Change, 120, 195-203.

Richard, Daihani, D.U., & Kristaung, R. (2018). The Effect of Strategic Orientation and Dynamic Capability in Turbulent Environment on Commercial Bank Performance in Indonesia with Corporate Social Responsibility as Moderating Variable. The International Journal of Business & Management, 6(10), 101-111.

Schumacher, R.E., and Lomax, R.G. (1996). A Beginner’s Guide to Structural Equation Modeling. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Sarkar, S., & Mishra, P. (2017). Market orientation customer-based corporate brand equity (CBCBE): a dyadic study of Indian B2B firms. Journal of strategic marketing, 25(5-6), 367-383.

Setyani, D.L. (2017). Environmental Uncertainty and Market Orientation on Business Performance with Innovation as an Intervening Variable: A Survey of Banking Industry in Indonesia. Journal of Management and Marketing Review, 2(2), 64-72.

Shin, H.S. (2012). Decomposed approach of market orientation and marketing mix capability: Research on their relationships with firm performance in the Korean context. International Business Research, 5(1), 22 - 33.

Suliyanto, U., & Rahab, R. (2012). The role of market orientation and learning orientation in improving innovativeness and performance of small and medium enterprises. Asian Social Science, 8(1), 134 - 145.

Tajeddini, K., & Trueman, M. (2016). Environment-Strategy and Alignment in a Restricted, Transitional Economy: Empirical Research on its Application to Iranian State-Owned Enterprises. Long Range Planning, 49, 570-583.

Tsai, K.H., & Yang, S.Y. (2013). Firm innovativeness and business performance: The joint moderating effects of market turbulence and competition. Industrial Marketing Management, 42, 1279-1294.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-19