ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันตนเอง จากโรคโควิด-19 ของวัยรุ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
ความเชื่อด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันตนเอง, โรคโควิด-19, วัยรุ่นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความเชื่อด้านสุขภาพ 2) ศึกษาระดับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 ของวัยรุ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ วัยรุ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 276 คน เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2564 เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาได้ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 มีความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์ Spearman rank correlation coefficient
ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรค การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรค แรงจูงใจด้านสุขภาพ และปัจจัยอื่น ๆ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ส่วนการรับรู้ต่ออุปสรรค มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง พฤติกรรมการป้องกันตนเองของวัยรุ่น มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 พบว่า การรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรค และการรับรู้ต่ออุปสรรค มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) อยู่ในระดับปานกลาง (r= 0.432, 0.424, 0.441 และ 0.419) ส่วนแรงจูงใจด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับต่ำ (r= 0.280) และปัจจัยอื่น ๆ มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับต่ำมาก (r= 0.182)
ข้อเสนอแนะ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรนำโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพไปประยุกต์ใช้ในการทำงานเชิงรุกเพื่อส่งเสริมให้วัยรุ่นมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองที่ถูกต้องและเหมาะสม
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับที่436. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/situation.php
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2564). วัยรุ่นใช้ชีวิตอย่างไรให้มีความสุข. สืบค้นจาก https://covid19.anamai.moph.go.th/webupload/2xdccaaf3d7f6ae30ba6ae1459eaf3dd66/m_document/6734/34106/file_download/2a430965f9d7a70d0850ec9df495da08.pdf
ณัฏฐณิชา วรรณมณี, ดารารัตน์ บางพระ, ศุภมาส อยู่อริยะ และจิรพจน์ สังข์ทอง. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการรับรู้กับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่เพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาวิทยาลัยชุมชนสงขลา. ใน รจนา จันทราสา (บ.ก). การประชุมสวนสุนันทา วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 9 เรื่อง “การยกระดับงานวิจัยสู่นวัตกรรม” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (Online Conference). (น.780-793), กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย.
นภชา สิงห์วีรธรรม, วัชรพล วิวรรศน์ เถาว์พันธ์, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, เฉลิมชัย เพาะบุญ และสุทธิศักดิ์ สุริรักษ์. (2563). การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของทันตาภิบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 14(2), 104-115.
บงกช โมระสกุล และพรศิริ พันธศรี. (2564). ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา และวิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 15(37), 179-195.
ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. (2556). การกำหนดขนาดตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงพรรณนาในงานสาธารณสุข. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 16(2), 9-18.
รังสรรค์ โฉมยา และกรรณิกา พันธ์ศรี. (2563). ความตระหนักเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันการติดต่อโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19): การเปรียบเทียบระหว่างวัย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 39(6), 71-82.
วิชัย เทียนถาวร และณรงค์ ใจเที่ยง. (2564). ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ในกลุ่มวัยเรียนมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 4(2), 126-137.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2565). รายงานสถานการณ์โรคไวรัสโคโรนา 2019 ประจำวันที่ 5 มีนาคม 2565. สืบค้นจาก https://www.nakhonsihealth.org/new/
เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์, มิ่งขวัญ ศิริโชติ,ปัณณวิชญ์ ปิยะอร่ามวงศ์ และศุภอัฑฒ์ สัตยเทวา. (2564). การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กรุงเทพมหานคร. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 9(1), 36-49.
อวาทิพย์ แว. (2550). ปัจจัยด้านครอบครัวและสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนระดับ อาชีวศึกษาในเขตเทศบาลนครยะลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
ฮูดา แวะหะยี. (2563). การรับรู้ความรุนแรงและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ของวัยรุ่นในเขตตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 6(4), 158-168.
Bartz AE. (1999). Basic statistical concepts. (4th Edition). New Jersey: Preentice–Hall.
BBC NEWS, Robert Cuffe. (2020). Coronavirus death rate: What are the chances of dying?. London: Imperial College.
Becker, M.H., & Maiman, L.A. (1975). The health Belief Model: Origins and Correlation in Psychological Theory. Health Education Monography, 2(winter), 336-385.
Best, J.W. (1977). Research in Education. (3nded). Englewod Cliffs: Prentice-Hall.
Steinberg, L. (1996). Adolescence. (4thed). New York: McGraw-Hill.
World Health Organization. (2020). Coronavirus. Geneva: World Health Organization.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.